ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย

  • คำเรียกขานที่ใช้ในความสัมพันธ์แบบคู่รัก

    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและการสร้างคำเรียกขานที่ใช้ใน ความสัมพันธ์แบบคู่รัก การใช้คำเรียกขานกับคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับผู้พูดและผู้ฟัง และสถานการณ์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 300 คน ได้ข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์จำนวน 1,244 คำ ผลการศึกษาพบว่าคำเรียกขานที่ใช้ในความสัมพันธ์แบบคู่รักมี 35 รูปแบบ เป็นรูปเดี่ยว 7 รูปแบบ และรูปแบบประสม 28 รูปแบบ รูปแบบที่มีความถี่ในการใช้มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ชื่อ คำสรรพนามและฉายา การสร้างคำเรียกขาน สามารถแบ่งได้เป็น 6 วิธีการ ดังนี้ 1) วิธีทางความหมาย 2) การดัดแปลงคำ3) การเติมหน่วยคำหน้าหรือท้ายคำเดิม 4) การเปลี่ยนภาษา 5) การสร้างคำใหม่ 6) การใช้หลายวิธีร่วมกัน คำเรียกขานหนึ่งคำสามารถเกิดจากวิธีการสร้างคำตั้งแต่ 1 วิธี ถึง 5 วิธี จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้คำเรียกขานกับคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับผู้พูด และผู้ฟัง พบว่าอายุมีความเกี่ยวข้องกับการใช้คำเรียกขานเมื่อผู้พูดอายุน้อยกว่าผู้ฟัง ส่วนเพศของผู้ พูดและรูปแบบความสัมพันธ์เกี่ยวข้องค่อนข้างน้อย การใช้คำเรียกขานในสถานการณ์ที่มีบุคคลที่ 3 จะปรากฏรูปแบบที่ค่อนข้างจำกัด. ตรง ข้ามกลับปรากฏรูปแบบที่หลากหลายมากที่สุดเมื่ออยู่ตามลำพังกับคนรัก นอกจากนี้เมื่ออยู่ต่อหน้า บุคคลที่ 3 หรือเมื่อผู้พูดอารมณ์ไม่ดีจะใช้คำเรียกขานในกลุ่มที่แสดงความรัก ความสัมพันธ์หรืออารมณ์ค่อนข้างน้อย แต่จะใช้มากกว่าเมื่ออยู่กับคนรักตามลำพัง หรือเมื่อผู้พูดอารมณ์ดี จากผลจากการวิจัยอาจกล่าวได้ว่าคำเรียกขานในความสัมพันธ์แบบคู่รักมีความ เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การมีบุคคลที่สามและอารมณ์ของผู้พูด.ด้วยความสัมพันธ์แบบคู่รักเป็นความสัมพันธ์แบบสนิทสนมและเป็นส่วนตัว และพบว่าคู่รักแสดงอารมณ์และความรู้สึกผ่านการสร้าง คำเรียกขานขึ้นใช้ด้วยวิธีที่หลากหลาย
  • การตั้งชื่อเรือยาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อเรือยาวใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ส่วนประกอบของชื่อ ความหมาย และโครงสร้างทางความหมายของ ชื่อเรือยาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงศึกษาค่านิยมและความเชื่อที่สะท้อนจากชื่อเรือยาว ดังกล่าว ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์มาจากชื่อเรือยาวในพื้นที่ 10 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ ได้จากการสัมภาษณ์ จ านวน 305 ชื่อ ผลการศึกษาลักษณะทางภาษาพบว่าชื่อเรือยาวมีส่วนประกอบ 3 รูปแบบ ได้แก่ ชื่อเรือ ที่มีส่วนประกอบจากคำ ชื่อเรือที่มีส่วนประกอบจากคำและตัวเลข และชื่อเรือที่มีส่วนประกอบจาก อักษรย่อและคำตามลำดับ ด้านความหมายของชื่อเรือยาวพบว่าแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ชื่อที่มี ความหมายตรงกับความหมายประจำรูป และชื่อที่มีความหมายไม่ตรงกับความหมายประจำรูป ชื่อเรือยาวที่มีความหมายตรงกับความหมายประจำรูปแบ่งได้ 16 กลุ่มความหมาย ได้แก่ กลุ่มความหมายเกี่ยวกับเทวดา กลุ่มความหมายเกี่ยวกับความดีงาม กลุ่มความหมายเกี่ยวกับสิ่งมีค่า กลุ่มความหมายเกี่ยวกับตำแหน่ง กลุ่มความหมายเกี่ยวกับลำดับหรือจำนวนนับ กลุ่มความหมาย เกี่ยวกับธรรมชาติ กลุ่มความหมายเกี่ยวกับน้ำหรือเรือ กลุ่มความหมายเกี่ยวกับสิ่งของ กลุ่มความหมายเกี่ยวกับสัตว์ กลุ่มความหมายเกี่ยวกับพันธุ์พืช กลุ่มความหมายเกี่ยวกับรูปลักษณะ กลุ่มความหมายเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ กลุ่มความหมายเกี่ยวกับกลุ่มคน กลุ่มความหมายเกี่ยวกับการ กระทำ กลุ่มความหมายเกี่ยวกับเมือง และกลุ่มความหมายเกี่ยวกับทิศ ตามล าดับ ส่วนชื่อเรือยาวที่มี ความหมายไม่ตรงกับความหมายประจ ารูปแบ่งได้ 7 กลุ่มความหมาย ได้แก่ กลุ่มความหมายเกี่ยวกับ ความเชื่อและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ กลุ่มความหมายเกี่ยวกับสถานที่ กลุ่มความหมายเกี่ยวบุคคลและวงศ์ตระกูล กลุ่มความหมายที่สัมพันธ์กับชื่อเรือยาวลำอื่น กลุ่มความหมายเกี่ยวกับเหตุการณ์ตอนเรือยาว กลุ่มความหมายเกี่ยวกับประติมากรรมโขนเรือยาว และกลุ่มความหมายเกี่ยวกับพละกำลัง และความเจริญ ตามลำดับ ส่วนโครงสร้างทางความหมายของชื่อเรือยาวมี 4 รูปแบบ ได้แก่ โครงสร้าง ทางความหมายแบบ 2 กลุ่มความหมาย แบบ 1 กลุ่มความหมาย แบบ 3 กลุ่มความหมาย และแบบ 4 กลุ่มความหมาย ตามลำดับ กลุ่มความหมายของชื่อเรือยาวดังกล่าวสะท้อนให้เห็นค่านิยมของคนในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ 5 ประการ ได้แก่ ค่านิยมเกี่ยวกับสิ่งที่พึงปรารถนา ค่านิยมเกี่ยวกับความ ภาคภูมิใจในถิ่นฐานของตนเอง ค่านิยมเกี่ยวกับความสำคัญของครอบครัวและเครือญาติ ค่านิยม เกี่ยวกับธรรมชาติ และค่านิยมเกี่ยวกับความกตัญญู ตามลำดับ นอกจากนี้ความหมายของชื่อเรือยาว ยังสะท้อนให้เห็นความเชื่อของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 ประการ ได้แก่ ความเชื่อเกี่ยวกับ ผีสางเทวดา ความเชื่อเกี่ยวกับศาสนา และความเชื่อเกี่ยวกับความเป็นสิริมงคล ตามลำดับ
  • “เมือง” ในกวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพเมืองที่ปรากฏในกวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย ช่วงพ.ศ.2530 จนถึงพ.ศ.2557 โดยพิจารณาถึงความสัมพันธ์อันเกี่ยวข้องกับบริบททางสังคมที่มีการ เคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งศึกษาวิเคราะห์กลวิธีทางวรรณศิลป์กับการน าเสนอภาพเมืองใน กวีนิพนธ์ ผลการศึกษาพบว่า เมืองในกวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัยได้น าเสนอภาพเมืองที่สัมพันธ์กับ บริบททางสังคมในแต่ละช่วงเวลาแตกต่างกันไป ดังนั้นเมื่อใช้บริบททางสังคมเป็นจุดแบ่งกวีนิพนธ์ไทย จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง ดังนี้ ช่วงแรก เมืองในกวีนิพนธ์ไทยพ.ศ.2530 – พ.ศ.2539 บริบท แห่งการเปลี่ยนแปลงที่ว่าด้วยสังคมในช่วงเวลาที่ก าลังก้าวเข้าสู่ประเทศอุตสาหกรรมอย่างเต็มรูปแบบ ปรากฏภาพเมืองในสามลักษณะ ได้แก่ เมืองในฐานะผู้ร้ายของสังคมชนบท เมืองกับภาพมายาของ ความหวัง และเมืองดินแดนของผู้ลุ่มหลงตามวิถีแห่งการพัฒนา ช่วงที่สองเมืองในกวีนิพนธ์ไทยพ.ศ. 2540 – พ.ศ.2549 บริบทแห่งวิกฤตการณ์ภายในเมืองที่ว่าด้วยสังคมที่ก าลังเผชิญหน้ากับวิกฤต เศรษฐกิจที่รุนแรงปรากฏภาพเมืองในสามลักษณะ ได้แก่ เมืองพื้นที่แห่งการบริโภค เมืองกับวิถีชีวิต แบบเมือง และเมืองกับมิติคนชายขอบ ในช่วงสุดท้ายเมืองในกวีนิพนธ์ไทยพ.ศ.2550 จนถึงพ.ศ.2557 บริบทมิติทางสังคมที่หลากหลายว่าด้วยสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงลบและบวกปรากฏภาพ เมืองในสามลักษณะ ได้แก่ เมืองกับสังคมที่ถดถอย เมืองกับสังคมเทคโนโลยีและวิถีสมัยใหม่ และ เมืองกับพลวัตเชิงบวก ทั้งนี้อิทธิพลของบริบทางสังคมนับว่ามีส่วนส าคัญในการนำเสนอภาพเมืองใน กวีนิพนธ์ที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไป ทางด้านกลวิธีทางวรรณศิลป์ที่กวีใช้นำเสนอภาพเมืองในกวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัยปรากฏ 6 กลวิธีที่สำคัญ ได้แก่ การใช้ฉันทลักษณ์ การใช้คำและเครื่องหมายวรรคตอน การใช้จินตภาพสัญลักษณ์ การใช้เรื่องเล่า และการเสียดสี ซึ่งกลวิธีทางวรรณศิลป์เหล่านี้นับเป็นเครื่องมือส าคัญที่เอื้อ ให้กวีสามารถน าเสนอประเด็นเรื่องเมืองได้อย่างลึกซึ้งและหลากหลายมิติ ด้วยอาศัยพลังวรรณศิลป์ที่ สร้างขึ้นอย่างประสานกันระหว่างกลวิธีกับเนื้อหา
  • “เฉลิมไตรภพ”: การศึกษาแนวคิดและกลวิธีสร้างสรรค์

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ “เฉลิมไตรภพ” ฉบับลายลักษณ์สํานวน ภาคกลางของไทย ในด้านผู้แต่ง เนื้อเรื่อง พัฒนาการการแต่ง ที่มาของตํานาน แนวคิด ตลอดจนกลวิธี สร้างสรรค์ ผลการศึกษาพบว่า “เฉลิมไตรภพ” ฉบับลายลักษณ์ภาคกลางทั้งหมดปรากฏ 20 เล่ม สรุปได้ 3 สํานวน ในด้านผู้แต่งกับพัฒนาการการแต่ง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ไม่ทราบผู้แต่ง เป็นสํานวนเก่าสุดซึ่งตกทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา กลุ่มที่สันนิษฐานผู้แต่งได้ สันนิษฐานว่าพระยาราช ภักดี (ช้าง) เป็นผู้แต่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่วนกลุ่มที่ทราบผู้แต่งชัดเจนแต่งหลัง พ.ศ. 2500 อยู่ในรูป ของตําราโหราศาสตร์ ด้านเนื้อเรื่องประกอบด้วยตํานาน 7 เรื่อง คือ ตํานานการเกิดอุปราคา ตํานาน การสร้างโลกและกําเนิดมนุษย์ ตํานานนพเคราะห์ ตํานานที่มาของรูปลักษณ์ราหู ตํานานการเกิดฝน ฟูา ตํานานการเกิดอุกกาบาตและม้าสี่ตระกูล และตํานานการเซ่นสังเวยเจ้ากรุงพาลี โดยตํานานการ เกิดอุปราคา ตํานานการสร้างโลกและกําเนิดมนุษย์ ตํานานนพเคราะห์ และตํานานที่มาของรูปลักษณ์ ราหูเป็นลักษณะร่วมที่ปรากฏในทุกกลุ่มสํานวน โดยจะเล่าถึงกําเนิดโลกและความเป็นไปของโลก ด้านที่มาของตํานานพบว่าตํานานแต่ละเรื่องมีที่มาหรือได้รับอิทธิพลมาจากคัมภีร์ศาสนาพราหมณ์ คัมภีร์พุทธศาสนา และวรรณกรรมไทย ด้านแนวคิดเสนอแนวคิดเรื่องเทพเจ้า เรื่องโลก-จักรวาล และ เรื่องชีวิต ด้านกลวิธีสร้างสรรค์พบกลวิธีสําคัญ 3 ประการ คือ คือกลวิธีการนําเสนอคติพุทธ-พราหมณ์ กลวิธีการเล่าเรื่อง และกลวิธีการใช้เรื่องเล่าเชิงสัญลักษณ์: การเข้าสู่สภาวะป๎ญญาของพุทธศาสนา กล่าวได้ว่า “เฉลิมไตรภพ” รวบรวมสรรพตํานานที่ผสมผสานคติศาสนาพราหมณ์ พุทธศาสนา และ คติชาวบ้าน เผยให้เห็นวิธีคิดในการมองโลกของโบราณชน ขณะเดียวกันได้แสดงอัจฉริยลักษณ์ของผู้แต่งในการสอดร้อยตํานานต่างเรื่อง ต่างศาสนา มาปรับปรนให้สอดคล้องเข้ากับ จุดมุ่งหมายและสังคมไทย อันเนื่องมาจากมีการนับถือและสํานึกใน “ศาสนา” เป็นมโนคติร่วมกัน
  • "น้ำ" ในวรรณกรรมนิทานสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-3)

    วิทยานิพนธ์เรื่อง "น้ำ" ในวรรณกรรมนิทานสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-3) มีจุดประสงค์มุ่งศึกษาบทบาทของน้ำต่อการสร้างสรรค์วรรณกรรมนิทานของไทย และความเปรียบ และสัญลักษณ์เกี่ยวกับน้ำในวรรณกรรมนิทานของไทย ผลการศึกษาพบว่าน ้ามีบทบาทต่อการ สร้างสรรค์วรรณกรรมนิทานของไทย ทั งการเป็นฉากของเรื่อง การสร้างอารมณ์สะเทือนใจ การ ประกอบพิธีกรรม การแสดงทัศนคติของกวี การเสริมสร้างลักษณะของตัวละครเอก และการ เชื่อมโยงเหตุการณ์ กวีใช้ลักษณะของน ้าทั งความกว้างใหญ่ ความเชี่ยวกราก ความเย็น ตลอดจนใช้ ความผูกพันระหว่างมนุษย์กับสายน ้ามาเชื่อมโยงความสัมพันธ์เพื่อสร้างความส้าคัญให้เหตุการณ์ต่างๆ ในวรรณกรรมนิทานของไทย ในส่วนความเปรียบและสัญลักษณ์เกี่ยวกับน ้าพบว่าน ้ามีความส้าคัญต่อ การสร้างความเปรียบทังการท้าให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพและการขยายแนวคิดของกวีให้ผู้อ่านได้เข้าใจ โดยความเปรียบเกี่ยวกับน ้าปรากฏทั งการสร้างจินตภาพทางประสาทสัมผัส ความเปรียบเกี่ยวกับ อารมณ์พื นฐานของมนุษย์ ความเปรียบเกี่ยวกับความยิ่งใหญ่ของกองทัพ และความเปรียบอื่นๆ นอกจากนี กวียังใช้น ้าเป็นสัญลักษณ์เพื่อแสดงให้เห็นพฤติกรรมทางเพศในบทอัศจรรย์ในวรรณกรรม นิทานของไทย
Browse all / ดูทั้งหมด