สาขาวิชาประวัติศาสตร์

  • “หญิงชั่ว” ในประวัติศาสตร์ไทย: การสร้างความเป็นหญิงโดยชนชั้นนำสยามช่วงต้นรัตนโกสินทร์ - พ.ศ. 2477

    วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษากระบวนการสร้างและการนำเสนอ “หญิงชั่ว” ในประวัติศาสตร์ ไทย โดยศึกษาประวัติและภาพลักษณ์ของผู้หญิงที่ถูกตีตราและเข้าข่ายชั่วในหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ บริบททางสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละยุคสมัยเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมความชั่วและ เป็นตัวกำกับการสร้างความดีความชั่วให้แก่ผู้หญิง ผ่านการถ่ายทอดความรู้ สำนึก ค่านิยมและจารีต ทางสังคม ผลการศึกษาพบว่าภาพลักษณ์ของ “หญิงชั่ว”ในประวัติศาสตร์ไทยช่วงต้นรัตนโกสินทร์ - พ.ศ. 2477 เกิดจากมโนทัศน์และค่านิยมของผู้ชาย ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ “หญิงชั่ว”ถูกเสนอใน ภาพของผู้หญิงที่ละเมิดศีลธรรมทางพุทธศาสนา และในยุคถัดมาคือ สมัยรัชกาลที่ 4 – พ.ศ. 2477 “หญิงชั่ว”ถูกเสนอในภาพของผู้หญิงที่ละเมิดจารีตเดิมและต่อต้านอำนาจชายเป็นใหญ่ในสังคมสยาม การเขียนประวัติศาสตร์ของผู้ชายยังสะท้อนถึงค่านิยมบางประการที่ผู้ชายคาดหวังต่อผู้หญิงและความคาดหวังเหล่านี้ถูกแสดงออกมาในรูปแบบของการสร้างภาพลักษณ์ผู้หญิงที่ไม่เป็นที่พึงประสงค์ของผู้ชายในรูปแบบของหญิงชั่วที่หญิงดีไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง
Browse all / ดูทั้งหมด