Items
Degree Name is exactly
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
Item set
Thesis
-
จาก “โรสซาวด์ มิวสิค” สู่ “บริษัท อาร์เอส จํากัด (มหาชน)” พ.ศ. 2525-2552 : การศึกษาประวัติศาสตร์ธุรกิจ
งานวิจัยเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาอยู่ 2 ประการ ได้แก่ ประการแรก ศึกษาการ เปลี่ยนแปลงการประกอบธุรกิจทางด้านเพลงไทยสากลของอาร์เอส และประการต่อมาคือ ศึกษาและ วิเคราะห์แนวทางการประกอบธุรกิจของอาร์เอสโดยการขยายไปยังธุรกิจสื่อและธุรกิจอื่นๆ ในฐานะที่ เป็นผู้ให้บริการเนื้อหา (content provider) โดยกําหนดระยะเวลาการศึกษาไว้ ระหว่าง พ.ศ. 2525-2552 ซึ่งเป็นช่วงที่อาร์เอสยังคงมีสถานะทางธุรกิจในฐานะผู้ให้บริการเนื้อหาอยู่ และงานวิจัยชิ้นนี้จะ ใช้แนวทางการศึกษาตามรูปแบบของประวัติศาสตร์ธุรกิจ (business history) งานวิจัยชิ้นนี้ต้องการแสดงข้อเสนอหลักอยู่ 2 ประการเพื่ออธิบายลักษณะการ เปลี่ยนแปลงการประกอบธุรกิจของอาร์เอสในช่วงเวลาดังกล่าวคือ ประการแรก การเปลี่ยนแปลงทาง เทคโนโลยีของสื่อเป็นปัจจัยสําคัญในการปรับตัวและกําหนดทิศทางธุรกิจของอาร์เอส และประการ ต่อมาคือ ลักษณะความเป็นธุรกิจครอบครัวของอาร์เอสถือเป็นข้อดีที่ช่วยส่งเสริมการบริหารจัดการ และการปรับตัวของบริษัทให้เป็นไปอย่างรวดเร็วซึ่งสอดรับกับธรรมชาติของธุรกิจบันเทิงที่ต้องอิงอาศัยกระแสความนิยมในตลาดอยู่ตลอดเวลา จากการศึกษาพบว่า พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงการประกอบธุรกิจของอาร์เอส สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงแรก พ.ศ. 2525-2534 เป็นช่วงที่อาร์เอสปรับตัวทางธุรกิจ จากการเป็นผู้รับจ้างอัดแผ่นเสียงและเทปคาสเสทขาย มาเป็นค่ายเพลงอย่างเต็มตัว โดยเพิ่มส่วนงาน การผลิตศิลปินและบทเพลงเข้าไป ทําให้อาร์เอสมีรูปแบบธุรกิจที่ครบวงจรในการดําเนินธุรกิจนี้ ได้แก่ กระบวนการผลิต กระบวนการทําการตลาด และกระบวนการจัดจําหน่าย ส่วนลักษณะทางธุรกิจ ในช่วงนี้ของอาร์เอสจะมีความเป็นธุรกิจครอบครัวโดยสมบูรณ์ ซึ่งจะเห็นได้จากการถือหุ้นที่กระจุกตัว อยู่กับบุคคลในตระกูลเชษฐโชติศักดิ์เป็นส่วนใหญ่ และอํานาจการบริหารจัดการจะรวมศูนย์ อยู่ที่ เกรียงไกร เชษฐโชติศักดิ์ ช่วงที่สอง พ.ศ. 2525-2545 ถือเป็นช่วงที่อาร์เอสปรับเปลี่ยนแนวทางการทําการตลาด โดยการเจาะกลุ่มผู้ฟังที่เป็นนักเรียน-นักศึกษาเป็นหลักจนประสบความสําเร็จเป็นอย่างสูง พร้อมกันนี้ อาร์เอสยังขยายธุรกิจออกไปในแขนงอื่นๆ เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนการตลาดเพลงอย่างหนึ่ง ประกอบด้วย ธุรกิจสื่อ ธุรกิจภาพยนตร์ ธุรกิจแฟนคลับ และธุรกิจร้านค่าปลีก ส่วนลักษณะธุรกิจ ยังคงเป็นแบบธุรกิจครอบครัวอยู่ ดังจะเห็นได้จากการถือหุ้นที่ล้วนกระจุกตัวอยู่กับบุคคลในตระกูล เชษฐโชติศักดิ์ทั้งสิ้น และอํานาจการบริหารจัดการจะรวมศูนย์ อยู่ที่สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ช่วงสุดท้าย พ.ศ. 2545-2552 เป็นช่วงที่อาร์เอสแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน พร้อมกับเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสื่อ นั่นคือ การเข้ามาของระบบดิจิทัลและ เทคโนโลยีสารสนเทศจนทําให้พฤติกรรมในการบริโภคเพลงของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป เป็นเหตุ ให้อาร์เอสลดความสําคัญของธุรกิจเพลงลง และหันไปขยายธุรกิจอื่นๆ ได้แก่ ธุรกิจสื่อ ธุรกิจ ภาพยนตร์และละคร ธุรกิจกีฬา และธุรกิจโชว์บิซ (showbiz) ส่วนลักษณะทางธุรกิจนั้น แม้ว่าอาร์- เอสจะมีสถานะเป็นบริษัทมหาชนแล้วก็ตาม แต่สัดส่วนการถือหุ้นยังคงกระจุกตัวอยู่กับบุคคลใน ตระกูลเชษฐโชติศักดิ์เป็นส่วนใหญ่เพื่อรักษาอํานาจความเป็นเจ้าของและสิทธิในการบริหารนั่นเอง -
คำเรียกขานที่ใช้ในความสัมพันธ์แบบคู่รัก
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและการสร้างคำเรียกขานที่ใช้ใน ความสัมพันธ์แบบคู่รัก การใช้คำเรียกขานกับคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับผู้พูดและผู้ฟัง และสถานการณ์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 300 คน ได้ข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์จำนวน 1,244 คำ ผลการศึกษาพบว่าคำเรียกขานที่ใช้ในความสัมพันธ์แบบคู่รักมี 35 รูปแบบ เป็นรูปเดี่ยว 7 รูปแบบ และรูปแบบประสม 28 รูปแบบ รูปแบบที่มีความถี่ในการใช้มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ชื่อ คำสรรพนามและฉายา การสร้างคำเรียกขาน สามารถแบ่งได้เป็น 6 วิธีการ ดังนี้ 1) วิธีทางความหมาย 2) การดัดแปลงคำ3) การเติมหน่วยคำหน้าหรือท้ายคำเดิม 4) การเปลี่ยนภาษา 5) การสร้างคำใหม่ 6) การใช้หลายวิธีร่วมกัน คำเรียกขานหนึ่งคำสามารถเกิดจากวิธีการสร้างคำตั้งแต่ 1 วิธี ถึง 5 วิธี จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้คำเรียกขานกับคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับผู้พูด และผู้ฟัง พบว่าอายุมีความเกี่ยวข้องกับการใช้คำเรียกขานเมื่อผู้พูดอายุน้อยกว่าผู้ฟัง ส่วนเพศของผู้ พูดและรูปแบบความสัมพันธ์เกี่ยวข้องค่อนข้างน้อย การใช้คำเรียกขานในสถานการณ์ที่มีบุคคลที่ 3 จะปรากฏรูปแบบที่ค่อนข้างจำกัด. ตรง ข้ามกลับปรากฏรูปแบบที่หลากหลายมากที่สุดเมื่ออยู่ตามลำพังกับคนรัก นอกจากนี้เมื่ออยู่ต่อหน้า บุคคลที่ 3 หรือเมื่อผู้พูดอารมณ์ไม่ดีจะใช้คำเรียกขานในกลุ่มที่แสดงความรัก ความสัมพันธ์หรืออารมณ์ค่อนข้างน้อย แต่จะใช้มากกว่าเมื่ออยู่กับคนรักตามลำพัง หรือเมื่อผู้พูดอารมณ์ดี จากผลจากการวิจัยอาจกล่าวได้ว่าคำเรียกขานในความสัมพันธ์แบบคู่รักมีความ เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การมีบุคคลที่สามและอารมณ์ของผู้พูด.ด้วยความสัมพันธ์แบบคู่รักเป็นความสัมพันธ์แบบสนิทสนมและเป็นส่วนตัว และพบว่าคู่รักแสดงอารมณ์และความรู้สึกผ่านการสร้าง คำเรียกขานขึ้นใช้ด้วยวิธีที่หลากหลาย -
ความหมายเปรียบเทียบของสัตว์ในภาษาไทยและภาษาอินโดนีเซีย
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความหมายเปรียบเทียบตลอดจน กระบวนการทางการเปรียบเทียบสัตว์ในภาษาไทยและภาษาอินโดนีเซีย รวมถึงเพื่อศึกษาและอธิบาย โลกทัศน์ ค่านิยม และทัศนคติของชาวไทยและชาวอินโดนีเซียจากความหมายเปรียบเทียบของสัตว์ใน ภาษาไทยและภาษาอินโดนีเซีย ผู้วิจัยได้นำแนวคิดด้านการวิเคราะห์อรรถลักษณ์และแนวคิดด้าน วัฒนธรรมศึกษามาใช้ในการวิเคราะห์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลความหมายเปรียบเทียบของสัตว์ใน ภาษาไทยจากคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ (Thai National Corpus) หนังสือสำนวน สุภาษิตและคำพังเพยไทย ตลอดจนเก็บรวบรวมข้อมูลความหมายเปรียบเทียบของสัตว์ในภาษาอินโดนีเซียจาก คลังข้อมูลภาษาอินโดนีเซีย ห้องสมุดภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEALang Library Indonesian Corpus) หนังสือสำนวน สุภาษิตและคำพังเพยอินโดนีเซีย ผู้วิจัยได้จำแนกสัตว์ออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ สัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก และสัตว์ในเทพนิยาย/ตำนาน ผลการศึกษาพบว่า ความหมายเปรียบเทียบของสัตว์ที่ปรากฏในภาษาไทยมีจ านวน 12 ความหมาย ได้แก่ 1. คน 2. คุณลักษณะ 3. นิสัย 4. กิริยาอาการ 5. การกระท า 6. ปริมาณ 7. ระยะห่าง 8. สิ่งของ 9. สถานที่ 10. เวลา 11. เหตุการณ์ 12. ภัยอันตราย ส่วนความหมายเปรียบเทียบของสัตว์ที่ปรากฏในภาษา อินโดนีเซียมีจ านวน 9 ความหมาย ได้แก่ 1. คน 2. คุณลักษณะ 3. นิสัย 4. การกระท า 5. ขนาด 6. สิ่งของ 7. สถานที่ 8. เหตุการณ์ 9. ภัยอันตราย เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลความหมายเปรียบเทียบของสัตว์ในภาษาไทยและภาษาอินโดนีเซีย ผู้วิจัยพบว่า ความหมายเปรียบเทียบของสัตว์ในภาษาไทยและภาษา อินโดนีเซียมีทั้งที่มีความหมายเหมือนกันและความหมายแตกต่างกัน ตลอดจนชนิดของสัตว์ที่ใช้ในการเปรียบเทียบก็มีทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับด้านโลกทัศน์ ค่านิยม และทัศนคติของชาวไทยและชาวอินโดนีเซียที่ปรากฏใน ความหมายเปรียบเทียบของสัตว์ในภาษาไทยและภาษาอินโดนีเซีย พบว่า ชาวไทยมีโลกทัศน์เกี่ยวกับ บุคคล โลกทัศน์เกี่ยวกับธรรมชาติ และโลกทัศน์เกี่ยวกับการดำรงชีวิต ส่วนความหมายเปรียบเทียบของ สัตว์ในภาษาอินโดนีเซียพบว่า ชาวอินโดนีเซียมีโลกทัศน์เกี่ยวกับบุคคล โลกทัศน์เกี่ยวกับธรรมชาติ โลกทัศน์เกี่ยวกับการดำรงชีวิต และโลกทัศน์เกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติ โดยโลกทัศน์ที่พบในภาษาไทย และภาษาอินโดนีเซียเป็นผลของวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลอยู่ในประเทศไทยและอินโดนีเซีย -
ความสำเร็จในอาชีพ เชาวน์อารมณ์และความพึงพอใจในชีวิต โดยมีความภาคภูมิใจในตนเองเป็นตัวแปรสื่อของพนักงานระดับปฏิบัติการ กรณีศึกษา : บริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
การวิจัยเรื่องความสําเร็จในอาชีพ เชาวน์อารมณ์ และความพึงพอใจในชีวิต โดยมีความ ภาคภูมิใจในตนเองเป็นตัวแปรสื่อของพนักงานระดับปฏิบัติการ กรณีศึกษา : บริษัทโทรคมนาคมแห่ง หนึ่งในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ คือ พนักงานระดับปฏิบัติการ ในช่วงวัย 21-40 ปี จํานวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถาม ความสําเร็จในอาชีพ แบบสอบถามเชาวน์อารมณ์ แบบสอบถามความพึงพอใจในชีวิต และ แบบสอบถามความภาคภูมิใจในตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุ และสถิติ ทดสอบ Z ตามวิธีของ โซเบล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความสําเร็จในอาชีพโดยรวมอยู่ในระดับสูง ( ̅ = 3.74) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอยู่ในระดับสูง ( ̅ = 4.12) รองลงมาได้แก่ ด้านบทบาทการทํางานอยู่ ในระดับสูง ( ̅ = 3.92) ด้านความก้าวหน้าในการเลื่อนตําแหน่งอยู่ในระดับปานกลาง คือ ( ̅ = 3.41) และด้านการเงินอยู่ในระดับปานกลาง ( ̅ = 3.28) เชาวน์อารมณ์โดยรวมอยู่ในระดับสูง ( ̅ = 3.90) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง และด้านการร่วมรับรู้ความรสู้ึกของผู้อื่น มีค่าเฉลี่ยสูงสุดและอยู่ในระดับสูง ( ̅ = 4.01) รองลงมาได้แก่ ด้านทักษะทางสังคมอยู่ในระดับสูง ( ̅ = 3.91) ด้านการตระหนักรู้ในตนเองอยู่ในระดับสูง ( ̅ = 3.85) และด้านการจัดระเบียบอารมณ์ของตนเองอยู่ในระดับสูง ( ̅ = 3.77) ตามลําดับ ความภาคภูมิใจในตนเองโดยรวมอยู่ในระดับสูง ( ̅ = 4.14) และความพึงพอใจในชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( ̅ = 3.62) 2. การรับรู้ความสําเร็จในอาชีพโดยรวมมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในชีวิตของ พนักงานระดับปฏิบัติการ (r = .647; p < .01) โดยการรับรู้ความสําเร็จในอาชีพด้านความก้าวหน้าใน การเลื่อนตําแหน่ง ด้านบทบาทการทํางาน และด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีความสัมพันธ์กับ ความพึงพอใจในชีวิตอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง (r = .613, r = .531 และ r = .514 เมื่อ p < .01 ตามลําดับ) ยกเว้นด้านการเงินที่อยู่ในระดับปานกลาง (r = .411; p < .01) 3. เชาวน์อารมณ์โดยรวมมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในชีวิตของพนักงานระดับปฏิบัติการ (r = .679; p < .01) โดยเชาวน์อารมณ์ด้านการตระหนักรู้ในตนเอง ด้านทักษะทางสังคม ด้านการสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง และด้านการจัดระเบียบอารมณ์ของตนเอง มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในชีวิตอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งนับว่าเป็นความสัมพันธ์ที่อยู่ในระดับที่ ค่อนข้างสูง (r = .611, r = .554, r = .532 และ r =.524 เมื่อ p < .01 ตามลําดับ) ยกเว้นด้านการ ร่วมรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นที่อยู่ในระดับปานกลาง (r = .492; p < .01) 4. ความภาคภูมิใจในตนเองโดยรวมมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในชีวิตของพนักงาน ระดับปฏิบัติการ (r = .642; p < .01) 5. ความภาคภูมิใจในตนเองโดยรวมเป็นตัวแปรสื่อบางส่วนระหว่างความสําเร็จในอาชีพ ไปสู่ความพึงพอใจในชีวิตของพนักงานระดับปฏิบัติการ (Z = 7.687; p < .01) 6. ความภาคภูมิใจในตนเองโดยรวมเป็นตัวแปรสื่อบางส่วนระหว่างเชาวน์อารมณ์ไปสู่ความพึงพอใจในชีวิตของพนักงานระดับปฏิบัติการ (Z = 6.029; p < .01) -
ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงาน การรับรู้รูปแบบภาวะผู้นำของพนักงาน ความผูกพันในงานกับความพึงพอใจในงาน
ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงาน การรับรู้รูปแบบภาวะผู้นำของ พนักงาน ความผูกพันในงานกับความพึงพอใจในงาน เป็งการศึกษาเชิงสำรวจ การวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงาน การรับรู้รูปแบบภาวะ ผู้นำของพนักงานความผูกพันในงานกับความพึงพอใจในงานและศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อ ความพึงพอใจในงาน โดยมีสมมติฐานว่า (1) สภาพแวดล้อมในการทำงานมีความสัมพนัธ์กับความพึง พอใจในงาน โดยมีสมมติฐานย่อยดังนี้ (1.1) สภาพแวดล้อมทางกายภาพมีความสัมพนัธ์กับความพึงพอใจในงาน (1.2) สภาพแวดล้อมด้านสังคมมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงานและ (1.3) สภาพแวดล้อมด้านจิตใจมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงาน (2) การรับรู้รูปแบบภาวะผู้น าของ พนักงานมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงาน โดยมีสมมติฐานย่อยดังนี้ (2.1) การรับรู้รูปแบบภาวะ ผู้นำที่มุ่งเน้นงานมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงาน (2.2) การรับรู้รูปแบบภาวะผู้นำที่มุ่งเน้น ความสัมพันธ์มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงาน และ(2.3) การรับรู้รูปแบบภาวะผู้นำที่เน้นการ เปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงาน (3) ความผูกพันในงานมีความสัมพันธ์กับความ พึงพอใจในงาน โดยมีสมมติฐานย่อยดังนี้ (3.1) ความขยันขันแข็งในงานมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงาน (3.2) ความทุ่มเทในงานมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงาน และ (3.3) ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับงานมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงาน (4) สภาพแวดล้อมในการทำงาน การรับรู้รูปแบบภาวะผู้นำของพนักงาน และความผูกพันในงานสามารถทำนายความพึงพอใจในงานได้ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานในโรงงานผลิตรองเท้าแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 143 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูล ส่วนบุคคล แบบสอบถามความพึงพอใจในงาน 22 ข้อ แบบสอบถามสภาพแวดล้อมในการทำงาน 32 ข้อ แบบสอบถามการรับรู้ภาวะผู้นำของพนักงาน 21 ข้อ และแบบสอบถามความผูกพันในงาน 20 ข้อ โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.93, 0.89, 0.92 และ 0.91 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่า สัมประสิทธิ์การถดถอย ผลการวิจัยพบว่า สภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีความเหมาะสมทั้งทางด้านกายภาพ ด้านสังคม และด้านจิตใจ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตทิี่ ระดับ .01 (r = 0.50, 0.72, 0.75, p < .01) ทางด้านการรับรู้รูปแบบภาวะผู้นำของพนักงาน ทั้งผู้นำ ที่มุ่งเน้นงาน ผู้นำที่มุ่งเน้นความสัมพันธ์ และผู้นำที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลง มีความสัมพันธ์ทางบวก กับความพึงพอใจในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = 0.55, 0.60, 0.71, p < .01) และ ความผูกพันในงาน ทั้งด้านความขยันขันแข็งในงาน ด้านความทุ่มเทในงาน และด้านความรู้สึกเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันกับงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 (r = 0.63, 0.64, 0.60, p < .01) นอกจากนี้ ผลการวิจัยพบว่า สภาพแวดล้อมด้านจิตใจ และสภาพแวดล้อมด้านสังคม รูปแบบผู้นำที่เน้นการเปลี่ยนแปลง และความผูกพันในงานด้านความ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับงาน สามารถทำนายความพึงพอใจในงานได้ 73 เปอร์เซ็นต์ -
ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะบุคลิกภาพ การรับรู้บรรยากาศองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ โดยมีความสุขในการทำงานเป็นตัวแปรสื่อ ในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง
การศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะบุคลิกภาพ การรับรู้บรรยากาศองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ โดยมีความสุขในการทำงานเป็นตัวแปรสื่อ ของข้าราชการในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของลักษณะบุคลิกภาพ การรับรู้บรรยากาศองค์การ ความสุขในการทำงาน และพฤติกรรม การเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะบุคลิกภาพ การรับรู้ บรรยากาศองค์การ ความสุขในการทำงาน และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ 3) ศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะบุคลิกภาพ การรับรู้บรรยากาศองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิก ที่ดีขององค์การ โดยมีความสุขในการทำงานเป็นตัวแปรสื่อ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นข้าราชการในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง จ านวน 312 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามลักษณะบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ 3) แบบสอบถามการรับรู้บรรยากาศองค์การ 4) แบบสอบถามความสุขในการทำงาน 5) แบบสอบถาม พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์เส้นทางส่งผล ผลการศึกษาสรุป ได้ดังนี้ 1. ข้าราชการในหน่วยงานราชการแห่งนี้มีลักษณะบุคลิกภาพแบบหวั่นไหว แบบแสดงตัว แบบเปิดรับประสบการณ์อยู่ในระดับปานกลาง และมีลักษณะบุคลิกภาพ แบบประนีประนอม และแบบมีจิตสำนึกอยู่ในระดับสูง 2. ข้าราชการในหน่วยงานราชการแห่งนี้มีการรับรู้บรรยากาศองค์การโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการรับรู้บรรยากาศองค์การด้านการมีส่วนร่วม ด้านโครงสร้าง ด้านการให้รางวัล ด้านความก้าวหน้าและการพัฒนา ด้านการควบคุมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้าน ความอบอุ่นและการสนับสนุนอยู่ในระดับสูง 3. ข้าราชการในหน่วยงานราชการแห่งนี้มีความสุขในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยมีความสุขในการทำงานด้านการติดต่อสัมพันธ์ ด้านความสำเร็จในงาน ด้านการเป็นที่ยอมรับ อยู่ในระดับสูง ส่วนด้านความรักในงานอยู่ในระดับปานกลาง 4. ข้าราชการในหน่วยงานราชการแห่งนี้มีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การอยู่ในระดับสูง 5. ลักษณะบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบทุกแบบมีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงาน โดยลักษณะบุคลิกภาพแบบแสดงตัว แบบเปิดรับประสบการณ์ แบบประนีประนอม แบบมีจิตสำนึก มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .540, .225, .334, .500, p<.01) ตามลำดับและแบบหวั่นไหว มีความสัมพันธ์ทางลบกับความสุขในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.327, p<.01) 6. ลักษณะบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบทุกแบบมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็น สมาชิกที่ดีขององค์การ โดยลักษณะบุคลิกภาพแบบแสดงตัว แบบเปิดรับประสบการณ์ แบบประนีประนอม แบบมีจิตสำนึก มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .511, .324, .474, .565, p<.01) ตามลำดับ และแบบหวั่นไหว มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.399, p<.01) 7. การรับรู้บรรยากาศองค์การโดยรวมมีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .622, p<.01) โดยการรับรู้บรรยากาศองค์การด้านการมีส่วนร่วม ด้านโครงสร้าง ด้านการให้รางวัล ด้านความอบอุ่นและการสนับสนุน ด้านความก้าวหน้าและพัฒนา และด้านการควบคุม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .467, .537, .393, .656, .524, .458, p<.01) ตามลำดับ 8. การรับรู้บรรยากาศองค์การโดยรวมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี ขององค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .526, p<.01) โดยการรับรู้บรรยากาศองค์การ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านโครงสร้าง ด้านการให้รางวัล ด้านความอบอุ่นและการสนับสนุน ด้านความก้าวหน้าและพัฒนา และด้านการควบคุม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเป็น สมาชิกที่ดีขององค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .422, .457, .301, .550, .399, .444, p<.01) ตามลำดับ 9. ความสุขในการทำงานโดยรวมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี ขององค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .673, p<.01) โดยความสุขในการทำงานด้านการติดต่อ สัมพันธ์ ด้านความรักในงาน ด้านความสำเร็จในงาน และด้านการเป็นที่ยอมรับ มีความสัมพันธ์ ทางบวกกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .516, .493, .609, .582, p<.01) ตามลำดับ 10. ลักษณะบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบแบบแสดงตัว แบบเปิดรับประสบการณ์ แบบประนีประนอม แบบมีจิตสำนึก และการรับรู้บรรยากาศองค์การมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็น สมาชิกที่ดีขององค์การทั้งโดยตรงและผ่านความสุขในการทำงาน และลักษณะบุคลิกภาพ ห้าองค์ประกอบแบบหวั่นไหวมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การโดยตรงเพียง อย่างเดียว ผลการวิจัยครั้งนี้ ทำให้ทราบตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของ องค์การ และตัวแปรสื่อจากสาเหตุไปสู่พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ซึ่งองค์การสามารถ นำไปใช้เป็นแนวทางในการทำความเข้าใจพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ เพื่อส่งเสริมให้ บุคลากรมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ -
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความพึงพอใจในงานกับ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ โดยมีทุนทางจิตวิทยาด้านบวก เป็นตัวแปรกำกับ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความพึงพอใจในงานกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ โดยมีทุนทางจิตวิทยาด้านบวกเป็นตัว แปรกำกับ ผู้เข้าร่วมในการศึกษาครั้งนี้เป็นพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในเขตสมุทรสาคร จ านวน 290 คน ข้อมูลที่รวบรวมด้วยแบบสอบถามประกอบด้วย 5 ส่วน คือ 1) ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล 2) ภาวะ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง 3) ความพึงพอใจในงาน 4) พฤติกรรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ 5) ทุนทาง จิตวิทยาด้านบวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงพรรณนา ค่าสหสัมพันธ์และวิเคราะห์ถอดถอย พหุคูณเชิงชั้น ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเท่ากับ 3.83 ความพึงพอใจใน งานเท่ากับ 3.80 พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การเท่ากับ 3.88 และทุนทางจิตวิทยาด้านบวก เท่ากับ 3.75 2) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและความพึงพอใจในงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ 3) ทุนทางจิตวิทยาด้านบวกไม่เป็นตัวแปรกำกับความสัมพันธ์ ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความพึงพอใจในงานกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ -
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ การกำหนดเป้าหมาย และ พฤติกรรมการให้บริการของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลรัฐบาลแห่งหนึ่ง โดยมีความผูกพันต่อเป้าหมายเป็นตัวแปรกำกับความสัมพันธ์ระหว่าง การกำหนดเป้าหมายกับพฤติกรรมการให้บริการ
การวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ การกำหนด เป้าหมาย และพฤติกรรมการให้บริการของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลรัฐบาลแห่งหนึ่ง โดยมีความผูกพันต่อเป้าหมายเป็นตัวแปรกำกับความสัมพันธ์ระหว่างการกำหนดเป้าหมาย กับพฤติกรรมการให้บริการ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ การกำหนดเป้าหมาย ความผูกพันต่อเป้าหมาย และพฤติกรรมการให้บริการ 2) ความสัมพันธ์ระหว่าง บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ การกำหนดเป้าหมาย ความผูกพันต่อเป้าหมาย และพฤติกรรมการ ให้บริการ 3) การเป็นตัวแปรกำกับของความผูกพันต่อเป้าหมาย ที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่าง การกำหนดเป้าหมายและพฤติกรรมการให้บริการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นพยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลรัฐบาลแห่งหนึ่ง จำนวน 249 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ 1) ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล 2) บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ 3) การกำหนดเป้าหมาย 4) ความผูกพัน ต่อเป้าหมาย 5) พฤติกรรมการให้บริการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุเชิงขั้น ผลการวิจัย พบว่า 1) บุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์อยู่ในระดับปานกลาง บุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึก บุคลิกภาพแบบแสดงตัว บุคลิกภาพแบบประนีประนอมอยู่ในระดับสูง และบุคลิกภาพ แบบหวั่นไหวอยู่ในระดับต่ำ การกำหนดเป้าหมาย ความผูกพันต่อเป้าหมาย และพฤติกรรม การให้บริการอยู่ในระดับสูง 2) บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบทุกด้านมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการให้บริการ โดยบุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการให้บริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .157, p < .05) บุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึก บุคลิกภาพแบบแสดงตัว บุคลิกภาพแบบประนีประนอม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการให้บริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .416, r = .302, r = .272 ตามลำดับ; p < .01) และบุคลิกภาพแบบหวั่นไหว มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการให้บริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.226, p < .01) 3) บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบทุกด้านมีความสัมพันธ์กับการกำหนดเป้าหมาย โดยบุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการกำหนดเป้าหมายอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (r = .144, p < .05) บุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึก บุคลิกภาพแบบแสดงตัว บุคลิกภาพแบบประนีประนอม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการกำหนดเป้าหมายอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (r = .486, r = .291, r = .302 ตามลำดับ; p < .01) และบุคลิกภาพแบบหวั่นไหว มีความสัมพันธ์ทางลบกับการกำหนดเป้าหมายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.308, p < .01) 4) การกำหนดเป้าหมายมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการให้บริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .561, p < .01) 5) ความผูกพันต่อเป้าหมายไม่เป็นตัวแปรกำกับความสัมพันธ์ระหว่างการกำหนด เป้าหมายและพฤติกรรมการให้บริการ ผลการวิจัยในครั้งนี้ ทำให้ทราบปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการให้บริการ ซึ่งโรงพยาบาลสามารถนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปเป็นแนวทางในการพัฒนาพฤติกรรมการให้บริการของพยาบาลวิชาชีพ -
ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การ บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบและการรับรู้การคุกคามทางเพศในที่ทำงานของข้าราชการครูสตรี ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแห่งหนึ่ง
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะ ความสัมพันธ์ และสร้างสมการทำนาย ระหว่างบรรยากาศองค์การ บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ และการรับรู้การคุกคามทางเพศในที่ทำงาน กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการครูสตรีในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแห่งหนึ่ง จำนวน 334 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมประยุกต์ สถิติ ที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่าบรรยากาศองค์การเป็นรูปแบบ ฉันท์พ่อลูก มีบุคลิกภาพองค์ประกอบทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง และมีการรับรู้การคุกคามทางเพศ ในระดับต่ำ ข้าราชการครูที่มีปัจจัยส่วนบุคคล คือ อายุ อายุงาน ต่ำแหน่งงาน วิทยฐานะ และ สถานภาพสมรสแตกต่างกัน ไม่ทำให้มีการรับรู้การคุกคามทางเพศที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ บุคลิกภาพแบบ หวั่นไหว บุคลิกภาพแบบประนีประนอม และบุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึกมีความสัมพันธ์กับการรับรู้ การคุกคามทางเพศในการทำงาน และมีตัวแปรที่สามารถทำนายการรับรู้การคุกคามทางเพศในที่ ทำงานโดยรวม คือ บุคลิกภาพแบบประนีประนอม บรรยากาศองค์การ และบุคลิกภาพแบบหวั่นไหว โดยพยากรณ์ได้ร้อยละ 11.5 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 -
ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก การรับรู้การสนับสนุนจาก องค์การและความตั้งใจในการลาออก โดยมีความพึงพอใจในงาน เป็นตัวแปรสื่อในพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์คัดสรร แห่งหนึ่งในภาคตะวันออก
การศึกษาเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก การรับรู้การสนับสนุน จากองค์การและความตั้งใจในการลาออกโดยมีความพึงพอใจในงานเป็นตัวแปรสื่อในพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์คัดสรรแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก” เป็นการศึกษาเชิงส ารวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษา 1) ระดับของ ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความพึงพอใจในงาน และความตั้งใจในการลาออกของพยาบาล 2) ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก การรับรู้ การสนับสนุนจากองค์การ ความพึงพอใจในงาน และความตั้งใจในการลาออกของพยาบาล 3) อิทธิพลของทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ที่มีต่อความตั้งใจในการ ลาออกของพยาบาลโดยมีความพึงพอใจในงานเป็นตัวแปรสื่อ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลศูนย์คัดสรรแห่ง หนึ่งในภาคตะวันออก จำนวน 580 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ 1) ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล 2) ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก 3) การรับรู้ การสนับสนุนจากองค์การ 4) ความพึงพอใจในงาน 5) ความตั้งใจในการลาออก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์เส้นทางส่งผล ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. พยาบาลวิชาชีพมีระดับทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยมีระดับ การรับรู้ความสามารถของตนเองอยู่ในระดับปานกลาง ด้านความหวัง การมองโลกในแง่ดี และ ความหยุ่นตัวอยู่ในระดับสูง 2. พยาบาลวิชาชีพมีระดับการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การโดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง โดยมีระดับการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การด้านผลตอบแทนและสวัสดิการ ด้านความรู้ ในงานและโอกาสก้าวหน้า ด้านจิตอารมณ์ในงาน และด้านการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านความมั่นคงในงานอยู่ในระดับสูง 3. พยาบาลวิชาชีพมีระดับความพึงพอใจในงานอยู่ในระดับปานกลาง 4. พยาบาลวิชาชีพมีระดับความตั้งใจในการลาออกอยู่ในระดับปานกลาง 5. ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกทุกด้านมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการลาออกอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (r= -.337, p<.01) โดยการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความหวัง การมองโลกใน แง่ดี และความหยุ่นตัว มีความสัมพันธ์ทางลบกับความตั้งใจในการลาออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ -.228, -.314, -.356 และ -.180 ตามลำดับ ทั้งหมด มีค่า p<.01 6. การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การทุกด้านมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการ ลาออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= -.538, p<.01) ด้านผลตอบแทนและสวัสดิการ ด้านความรู้ ในงานและโอกาสก้าวหน้า ด้านความมั่นคงในงาน ด้านจิตอารมณ์ในงาน และด้านการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ทางลบกับความตั้งใจในการลาออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ เท่ากับ -.409, -.311, -.365, -.479 และ -.428 ตามลำดับ ทั้งหมดมีค่า p<.01 7. ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกโดยรวมมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= .394, p<.01) โดยทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกด้านการรับรู้ความสามารถของ ตนเอง ความหวัง การมองโลกในแง่ดี ความหยุ่นตัว มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .245, .361, .448, และ .212 ตามลำดับ ทั้งหมดมีค่า p<.01 8. การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ ความพึงพอใจในงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.746, p<.01) โดยด้านผลตอบแทนและสวัสดิการ ด้านความรู้ในงานและโอกาสก้าวหน้า ด้านความมั่นคงในงาน ด้านจิตอารมณ์ในงาน และด้าน การปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมี ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .631, .552, .280, .679 และ .654 ตามลำดับ ทั้งหมดมีค่า p<.01 9. ความพึงพอใจในงานมีความสัมพันธ์ทางลบกับความตั้งใจในการลาออก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= -.546, p<.01) 10. การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การมีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการลาออกทั้งโดยตรง และผ่านความพึงพอใจในงาน ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกมีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการลาออกโดยตรง ผลการวิจัยครั้งนี้ ท าให้ทราบถึงตัวแปรที่เป็นสาเหตุของความตั้งใจในการลาออก และ ตัวแปรสื่อจากสาเหตุไปสู่ความตั้งใจในการลาออก ซึ่งองค์การสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการควบคุมปัจจัยที่เป็นสาเหตุในการลาออกได้ -
ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงาน การรับรู้บรรยากาศองค์การกับความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงาน โดยมีความผูกพันต่อองค์การเป็นตัวแปรสื่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิต ในการทำงาน การรับรู้บรรยากาศองค์การ และความผูกพันต่อองค์การ กับความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงาน และ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงาน การรับรู้บรรยากาศองค์การ กับความตั้งใจที่จะลาออกจากองค์การ โดยมีความผูกพันต่อองค์การเป็นตัวแปรสื่อ กลุ่มตัวอย่างเป็น พนักงานประจำของบริษัทเอกชนตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องมือด้านเทคโนโลยีแห่งหนึ่ง ใน กรุงเทพมหานคร จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูล ลักษณะส่วนบุคคล แบบสอบถามวัดคุณภาพชีวิตในการทำงาน แบบสอบถามวัดการรับรู้บรรยากาศ องค์การ แบบสอบถามวัดความผูกพันต่อองค์การ และแบบสอบถามวัดความตั้งใจที่จะลาออก โดย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอย และสถิติทดสอบ Z โดยทำการทดสอบบทบาทการเป็นตัวแปรสื่อ ตามแนวคิดของ บารอน และ เคนนี (Baron & Kenny, 1986) และโซเบล (Sobel, 1982) ซึ่งสามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. คุณภาพชีวิตในการทำงาน การรับรู้บรรยากาศองค์การ และความผูกพันต่อองค์การ มีความสัมพันธ์ทางลบกับความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงาน โดยมีค่าสหสัมพันธ์ r = -.385, r = -.258 และ r = -.168 ตามลำดับ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 2. คุณภาพชีวิตในการทำงานส่งผลทางลบโดยตรงต่อความตั้งใจที่จะลาออก โดยไม่ผ่าน ความผูกพันต่อองค์การในฐานะตัวแปรสื่อ 3. การรับรู้บรรยากศองค์การส่งผลทางลบโดยอ้อมทั้งหมด ผ่านความผูกพันต่อองค์การ ไปสู่ความตั้งใจที่จะลาออก โดยผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในองค์การ เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพและลดแนวโน้มในการลาออกของพนักงาน ซึ่งจะช่วยให้องค์การลดต้นทุนที่อาจเกิดขึ้นเมื่อพนักงานตัดสินใจลาออกจากองค์การได้ -
ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการทํางานภาระงาน อารมณ์ ในขณะทํางาน การเปรียบเทียบทางสังคม กับความเหนื่อยหน่ายในการทํางานของครูระดับมัธยมศึกษา
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่าง ความเครียดในการทํางาน ภาระงาน อารมณ์ ในขณะทํางาน การเปรียบเทียบทางสังคม กับความเหนื่อยหน่ายในการทํางานของครู ระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ ครูระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ จํานวน 160 คนรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบวัดความเครียดในการทํางาน แบบวัดภาระงาน แบบวัดอารมณ์ในขณะทํางาน แบบวัดการเปรียบเทียบทางสังคม และแบบวัดความเหนื่อยหน่ายในการทํางาน วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าที และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียรสัน และการสร้างสมการทํานายโดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเครียดในการทํางานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเหนื่อยหน่ายในการ ทํางานโดยรวม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r= .410, p <.01) 2) ภาระงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเหนื่อยหน่ายในการทํางานโดยรวม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r= .425, p <.01) 3) อารมณ์ ในขณะทํางานด้านการควบคุมอารมณ์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเหนื่อยหน่ายในการทํางานโดยรวม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r= .376, p <.01) 4) อารมณ์ ในขณะทํางานด้านการแสดงอารมณ์ทางลบมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ ความเหนื่อยหน่ายในการทํางานโดยรวม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r= .384, p <.01) 5) อารมณ์ในขณะทํางานด้านการตอบสนองความต้องการทางอารมณ์มีความสัมพันธ์ ทางบวกกับความเหนื่อยหน่ายในการทํางานโดยรวม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r= .408, p <.01) 6) อารมณ์ ในขณะทํางานด้านความไม่สอดคล้องทางอารมณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ ความเหนื่อยหน่ายในการทํางานโดยรวม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r= .521, p <.01) 7) อารมณ์ ในขณะทํางานด้านการควบคุมการมีปฏิสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ ความเหนื่อยหน่ายในการทํางานโดยรวม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r= .436, p <.01) 8) การเปรียบเทียบทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเหนื่อยหน่ายในการ ทํางานโดยรวม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r= .389, p <.01) 9) ความเครียดในการทํางาน ภาระงาน อารมณ์ในขณะทํางานด้านการควบคุมอารมณ์อารมณ์ ในขณะทํางานด้านการตอบสนองความต้องการทางอารมณ์ อารมณ์ ในขณะทํางานด้านความไม่สอดคล้องทางอารมณ์อารมณ์ ในขณะทํางานด้านการควบคุมการมีปฏิสัมพันธ์และการเปรียบเทียบทางสังคม สามารถทํานายความเหนื่อยหน่ายในการทํางาน ได้ร้อยละ 46.90 (R2 = 46.90) -
ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการทำงาน คุณภาพชีวิตในการทำงาน การรับรู้คุณค่าของงานและความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของบุคลากร สายวิชาการ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับ ความสัมพันธ์ และสมการทำนาย ของความเครียดในการทำงาน คุณภาพชีวิตในการทำงาน การรับรู้คุณค่าของงานและความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน ของบุคลากรสายวิชาการ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยในกำกับของ รัฐแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 262 คน เครื่องมือที่ใช้ศึกษาคือ ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความเครียดในการทำงาน คุณภาพชีวิตในการทำงาน การรับรู้คุณค่าของงาน ความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้น ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ความเครียดในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกต่อความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน โดยรวม (r=.169, p<.01) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ความเครียดในการทำงานมีความสัมพันธ์ ทางบวกต่อความเหนื่อยหน่ายในการทำงานด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ (r=.248, p<.01) ส่วนความเครียดในการทำงานไม่มีความสัมพันธ์ต่อความเหนื่อยหน่ายในการทำงานด้านการลดค่า ความเป็นบุคคลของผู้อื่น และด้านความรู้สึกไม่ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติงาน 2. คุณภาพชีวิตในการทำงานไม่มีความสัมพันธ์ต่อความเหนื่อยหน่ายในการทำงานโดยรวม เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า คุณภาพชีวิตในการทำงานไม่มีความสัมพันธ์ต่อความเหนื่อยหน่าย ในการทำงานด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ ด้านการลดค่าความเป็นบุคคลของผู้อื่นและด้านความรู้สึก ไม่ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติงาน 3. การรับรู้คุณค่าของงานโดยรวมมีความสัมพันธ์ต่อความเหนื่อยหน่ายในการทำงานโดยรวม (r=-.248, p<.01) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การรับรู้คุณค่าของงานมีความสัมพันธ์ต่อความเหนื่อยหน่ายในการทำงานด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ (r=-.156, p<.05) การรับรู้คุณค่าของงาน มีความสัมพันธ์ต่อความเหนื่อยหน่ายในการทำงานด้านการลดค่าความเป็นบุคคลของผู้อื่น (r=-.251, p<.01) การรับรู้คุณค่าของงานมีความสัมพันธ์ต่อความเหนื่อยหน่ายในการทำงานด้านความรู้สึก ไม่ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติงาน (r=-.332, p<.01) 4. ผลการศึกษาสมการทำนายความเครียดในการทำงาน คุณภาพชีวิตในการทำงาน การรับรู้คุณค่าของงาน สามารถร่วมกันทำนาย ความเหนื่อยหน่ายในการทำงานได้ร้อยละ 10.9 -
ความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องจากงานกับความเครียดในการทำงาน โดยมีการมองโลกในแง่ดี และความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวเป็นตัวแปรกำกับ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องจากงานกับ ความเครียดในการทำงาน โดยมีการมองโลกในแง่ดีและความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวเป็นตัว แปรกำกับ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรที่มีตำแหน่งพนักงานประจำสายสนับสนุน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่ง จำนวน 248 คน ซึ่งเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามประกอบ ไปด้วยแบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบวัดข้อเรียกร้องจากงาน แบบวัดความเครียดในการทำงาน แบบวัดความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวและแบบวัดการมองโลกในแง่ดี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงชั้น ผลการวิจัยพบว่าข้อเรียกร้องจากงานมีความสัมพันธ์กับความเครียดในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (r=.334, p<.01 ) การมองโลกในแง่ดีเป็นตัวแปรกำกับความสัมพันธ์ ระหว่างข้อเรียกร้องจากงานกับความเครียดในการทำงาน (β=-1.055, ∆R2=.203, p<.05) และความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวไม่เป็นตัวแปรกำกับความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องจากงานกับความเครียดในการทำงาน -
ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้พฤติกรรมการคุกคามทางเพศในที่ทํางาน การรับรู้คุณภาพชีวิตในการทํางานและความตั้งใจคงอยู่ในงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของสายการบินแห่งหนึ่ง
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้พฤติกรรมการ คุกคามทางเพศในที่ทํางาน การรับรู้คุณภาพชีวิตในการทํางาน กับความตั้งใจคงอยู่ในงานของ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินแห่งหนึ่ง โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยมีจํานวนทั้งสิ้น 5,586 คน มุ่งเน้นศึกษาเฉพาะพนักงานต้อนรับ บนเครื่องบินที่อยู่ในตําแหน่งปฏิบัติการทั้งผู้หญิงและผู้ชายที่เป็นคนไทย เก็บแบบสอบถามกับ ตัวอย่างจํานวน 380 คน โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม ข้อมูล และทําการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ประมวลผล โดย (1) วิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล โดยใช้ค่าความถี่และร้อยละ (2) วิเคราะห์ลักษณะการรับรู้พฤติกรรม การคุกคามทางเพศในที่ทํางาน ลักษณะการรับรู้คุณภาพชีวิตในการทํางานและความตั้งใจคงอยู่ใน งาน โดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (3) ทดสอบสมมติฐานการวิจัยที่ 4-6 โดยใช้ค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (4) ทดสอบสมมติฐานการวิจัยที่ 7 โดยการวิเคราะห์การถดถอย แบบพหูคูณ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ตัวแปรตาม เพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้น และตัวแปรตาม และหาสมการพยากรณ์ที่เหมาะสม โดยใช้ วิธี Stepwise ในการคัดเลือกเข้าสมการพยากรณ์ ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้พฤติกรรมการคุกคามทางเพศในที่ทํางานมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกัน ข้ามกับการรับรู้คุณภาพชีวิตในการทํางานอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การรับรู้พฤติกรรม การคุกคามทางเพศในที่ทํางานมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับความตั้งใจคงอยู่ในงานอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การรับรู้คุณภาพชีวิตในการทํางานมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน กับความตั้งใจคงอยู่ในงานอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพฤติกรรมการคุกคามทางเพศ ในที่ทํางาน และการรับรู้คุณภาพชีวิตในการทํางาน สามารถใช้อธิบายความผันแปรของความตั้งใจคง อยู่ในงานได้ 48.80% -
ความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความฉลาดทางจิตวิญญาณ การรับรู้ความสำเร็จในงานกับความสุขของพนักงาน บริษัทหลักทรัพย์ ในกรุงเทพมหานคร
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของ ตนเอง ความฉลาดทางจิตวิญญาณ การรับรู้ความสำเร็จในงาน กับความสุขของพนักงานหลักทรัพย์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือพนักงานในธุรกิจหลักทรัพย์แห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 140 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบวัดการรับรู้ ความสามารถของตนเอง แบบสอบวัดความฉลาดทางจิตวิญญาณ แบบสอบวัดการรับรู้ความสำเร็จใน งาน และแบบสอบวัดความสุข โดยมีค่าความเที่ยง สัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha Coefficient) เท่ากับ 0.796, 0.918, 0.844 และ 0.884 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติบรรยายค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า การ รับรู้ความสามารถของตนเอง ความฉลาดทางจิตวิญญาณ การรับรู้ความสำเร็จในงาน มีความสัมพันธ์ ทางบวกกับความสุข และปัจจัยการรับรู้ความสำเร็จในงาน ความฉลาดทางจิตวิญญาณ สามารถร่วมกันทำนายความสุขได้ ร้อยละ 29.3 -
ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความสัมพันธ์ระหว่าง เพื่อนร่วมงานกับความสุขในการทำงานโดยมีความเชื่ออำนาจในการควบคุม ภายในเป็นตัวแปรกำกับ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจาก องค์การ ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานกับความสุขในการทำงานโดยมีความเชื่ออำนาจในการ ควบคุมภายในเป็นตัวแปรกำกับ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือพนักงานวิศวกร ในบริษัทผลิตโครงสร้างเหล็กและ เครื่องจักรแห่งหนึ่ง จำนวน 74 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูล ส่วนบุคคล แบบวัดการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ แบบวัดความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน แบบวัดความสุขในการทำงานและแบบวัดความเชื่ออำนาจในการควบคุมภายใน วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson’s Product Moment Correlation) และการ วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงชั้น (Hierarchical Multiple Regression Model) ผลจากการวิจัยพบว่า การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ ความสุขในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.479, r=.325, p<.01) และความเชื่ออำนาจในการควบคุมภายในเป็นตัวแปรกำกับความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน ร่วมงานกับความสุขในการทำงาน (β = -5.482, ∆R2 = .277, p<.01) แต่ไม่เป็นตัวแปรกำกับ ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การกับความสุขในการทำงาน -
ความสัมพันธ์ระหว่างการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การ พฤติกรรม การเป็นสมาชิกที่ดีและความผูกพันต่อองค์การ กรณีศึกษา บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน)
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและความผูกพันต่อองค์การ กรณีศึกษาบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 287 คนใช้การสุ่มตัวอย่างแบบช่วงชั้น ตามสังกัดของกลุ่มธุรกิจและทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความแปรปรวนทางเดียว สัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการสร้างสมการพยากรณ์ ด้วยการใช้การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ใช้วัดตัวแปรทั้งสามตัวที่ ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .879 - .942 ผลการศึกษาพบว่า 1) พนักงานในกลุ่มธุรกิจด้านสนับสนุนงานบริการมี ระดับการถ่ายทอด ทางสังคมในองค์การ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและความผูกพันต่อองค์การแตกต่างจาก กลุ่มธุรกิจอื่นอย่าง มีนัยสำคัญที่ .001 2) การถ่ายทอดทางสังคมในองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ขององค์การทั้งในภาพรวมและทุกองค์ประกอบอย่างมีนัยสำคัญที่ .001 ส่วนความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ พบความสัมพันธ์ทางบวกในภาพรวมและองค์ประกอบ อื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญที่ .001 ยกเว้นด้านการคงอยู่อย่างต่อเนื่องและ 3) รวมทั้งตัวแปรการถ่ายทอด ทางสังคมในองค์การและความผูกพันต่อองค์การสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี ขององค์การได้ร้อยละ 57 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 -
ความสัมพันธ์ระหว่างการตีความตัวตนและวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อ ความตั้งใจคงอยู่ในงานของวิศวกรที่ปฏิบัติงานในองค์การของรัฐแห่งหนึ่ง โดยมีการรับรู้คุณภาพชีวิตในการทำงานเป็นตัวแปรสื่อ
การศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการตีความตัวตนและวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อ ความตั้งใจคงอยู่ในงานของวิศวกรที่ปฏิบัติงานในองค์การของรัฐแห่งหนึ่ง โดยมีการรับรู้คุณภาพชีวิต ในการทำงานเป็นตัวแปรสื่อ เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อ (1) ศึกษาระดับ การตีความตัวตน วัฒนธรรมองค์การ การรับรู้คุณภาพชีวิตในการทำงาน และความตั้งใจคงอยู่ในงาน ของวิศวกรที่ปฏิบัติงานในองค์การของรัฐ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการตีความตัวตนวัฒนธรรม องค์การ การรับรู้คุณภาพชีวิตในการทำงาน และความตั้งใจคงอยู่ในงาน (3) ศึกษาการรับรู้คุณภาพ ชีวิตในการทำงาน ในฐานะตัวแปรสื่อที่ส่งผลต่อการตีความตัวตน วัฒนธรรมองค์การและความตั้งใจ คงอยู่ในงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ วิศวกรในองค์การของรัฐแห่งหนึ่ง จำนวน 252 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ (1) ลักษณะ ส่วนบุคคล (2) การตีความตัวตน (3) วัฒนธรรมองค์การ (4) การรับรู้คุณภาพชีวิตในการทำงาน(5) ความตั้งใจคงอยู่ในงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติทดสอบ Z ตามวิธีของ Sobel ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. วิศวกรมีระดับการตีความตัวตน ด้านการพึ่งตนเองอยู่ในระดับสูง ส่วนด้านการกำหนดแนวทางของตนเอง ความมีเอกลักษณ์ ความสอดคล้อง การรวมผู้อื่นเข้ามาอยู่ในตัว ความปรองดองและความผูกพันต่อตนเองอยู่ในระดับปานกลาง 2. วิศวกรมีระดับการรับรู้วัฒนธรรมองค์การทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง (ด้านความ เหลื่อมล้ำของอำนาจ การหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน ความเป็นปัจเจกนิยม ลักษณะความเป็นชาย และการมุ่งผลระยะยาว) 3. วิศวกรมีระดับการรับรู้คุณภาพชีวิตการทำงานด้านการบูรณาการทางสังคมและด้าน ความภาคภูมิใจในองค์การอยู่ในระดับสูง ส่วนด้านผลตอบแทนที่ยุติธรรมเพียงพอ สภาพแวดล้อมที่ ปลอดภัย การพัฒนาศักยภาพบุคคล ความก้าวหน้าและความมั่นคงในงานธรรมนูญในองค์การภาวะ สมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและงานอยู่ในระดับปานกลาง 4. วิศวกรมีระดับความตั้งใจคงอยู่ในงานอยู่ในระดับปานกลาง 5. การรับรู้คุณภาพชีวิตในการทำงานมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจคงอยู่ในงาน (r= .242, p<.01) 6. การตีความตัวตนทุกด้านไม่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจคงอยู่ในงาน7. การตีความตัวตนด้านความมีเอกลักษณ์ ด้านความสอดคล้อง ด้านการรวมผู้อื่นเข้า มาอยู่ในตัวตน และด้านความปรองดอง มีความสัมพันธ์กับการรับรู้คุณภาพชีวิตในการทำงาน (r=-.172, p<.01; r=.211, p<.01; r=.194, p<.05; r=.337, p<.01) ส่วนการตีความตัวตนด้านการกำหนดแนวทางของตน ด้านการพึ่งตนเอง และด้านความผูกพันไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้คุณภาพ ชีวิตในการทำงาน 8. วัฒนธรรมองค์การด้านลักษณะความเป็นชายและด้านการมุ่งเน้นผลระยะยาวมี ความสัมพันธ์กับความตั้งใจคงอยู่ในงาน (r= .293, p<.01; r= .234, p<.01) ส่วนวัฒนธรรมองค์การ ด้านความเหลื่อมล้ำของอำนาจ ด้านการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน และด้านความเป็นปัจเจกนิยมไม่มี ความสัมพันธ์กับความตั้งใจคงอยู่ในงาน 9. วัฒนธรรมองค์การทุกด้านมีความสัมพันธ์กับการรับรู้คุณภาพชีวิตในการทำงาน(ด้านความเหลื่อมล้ำของอำนาจ ด้านการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน ด้านความเป็นปัจเจกนิยมด้านลักษณะความเป็นชาย และด้านการมุ่งเน้นผลระยะยาว: r=-.413, p<.01; r=.232, p<.01; r=.454, p<.01; r=.551, p<.01; r=.178, p<.01)10. วัฒนธรรมองค์การด้านความเหลื่อมล้ำของอำนาจ ด้านความเป็นปัจเจกนิยมและด้านลักษณะความเป็นชายมีความสัมพันธ์กับการตีความตัวตน (r=-.304, p<.01; r=.208, p<.01; r=.191, p<.01) ส่วนวัฒนธรรมองค์การด้านการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน และด้านการมุ่งเน้นผล ระยะยาวไม่มีความสัมพันธ์กับการตีความตัวตน 11. การรับรู้คุณภาพชีวิตในการทำงานเป็นตัวแปรสื่อสมบูรณ์ของความสัมพันธ์ระหว่าง การตีความตัวตนกับความตั้งใจคงอยู่ในงาน (Z = 2.422; p < .01) 12. การรับรู้คุณภาพชีวิตในการทำงานเป็นตัวแปรสื่อบางส่วนของความสัมพันธ์ระหว่าง วัฒนธรรมองค์การด้านการมุ่งเน้นผลระยะยาวกับความตั้งใจคงอยู่ในงาน (Z = 2.181; p < .01) ผลการวิจัยนี้ ทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ส่งผลต่อความตั้งใจคงอยู่ในงาน ของวิศวกรในองค์การภาครัฐ และตัวแปรที่เป็นสื่อกลางนำไปสู่ความตั้งใจคงอยู่ในงาน จากความสำคัญนี้ องค์การนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคล ขององค์การต่อไป -
ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยาความพึงพอใจในงาน การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การกับความสุขในที่ทำงานของชายผู้มีเพศวิถีแบบชายรักชาย โดยมีการรับรู้ยอมรับ ความหลากหลายทางเพศเป็นตัวแปรกำกับ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยา ความพึงพอใจในงาน การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ กับความสุขในที่ทำงานของชายผู้มีเพศวิถี แบบชายรักชาย โดยมีการรับรู้การยอมรับความหลากหลายทางเพศเป็นตัวแปรกำกับ โดยมีกลุ่ม ตัวอย่าง คือกลุ่มชายผู้มีเพศวิถีแบบชายรักชาย (Male Homosexual / Gay) ที่ทำงานประจำในระดับ ต าแหน่งพนักงานทั่วไปในองค์กรหรือหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 160 คน ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย ได้แก่ แบบสอบวัดข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบวัดทุนทางจิตวิทยา แบบสอบวัดความพึงพอใจในงาน แบบสอบวัดการรับรู้การสนับสนุน จากองค์การ แบบสอบวัดการรับรู้การยอมรับความหลากหลายทางเพศ และแบบสอบวัดความสุข ในที่ทำงาน ซึ่งแบบสอบวัดแต่ละฉบับได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ และมีค่าความเชื่อมั่นของ แบบสอบวัด .950 .943 .922 .864 และ .913 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สหสัมพันธ์แบบ เพียร์สัน (Pearson’s Product – Moment Correlation Coefficient) และการถดถอยพหุเชิงชั้น (Hierarchical Multiple Regression) ผลการวิจัย พบว่าทุนทางจิตวิทยา ความพึงพอใจในงาน และการรับรู้การสนับสนุนจาก องค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในที่ทำงานของชายผู้มีเพศวิถีแบบชายรักชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ .501 .564 และ .632 ตามลำดับ ส่วนการรับรู้การยอมรับความหลากหลายทางเพศไม่พบการมีอิทธิพลในการเป็นตัวแปรกำกับความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างทุนทางจิตวิทยา ความพึงพอใจในงาน และ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การกับความสุขในที่ทำงานของชายผู้มีเพศวิถีแบบชายรักชาย โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย (b) เท่ากับ .126 .027 และ .185 ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ยังพบว่า การรับรู้การยอมรับ ความหลากหลายทางเพศมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในที่ทำงานของชายผู้มีเพศวิถีแบบชายรักชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ .371 และยังมี อิทธิพลหลักสามารถร่วมกันกับตัวแปรทั้งหมดในการทำนายและสามารถอธิบายการแปรผันของ ความสุขในที่ทำงานของชายผู้มีเพศวิถีแบบชายรักชายได้ร้อยละ 55.60 (R2= .556, p≤ .01) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย (b) เท่ากับ .138 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 -
ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถตนเอง การกำหนดเป้าหมาย บุคลิกภาพเชิงรุก กับประสิทธิผลในการทำงานของพนักงาน สถาบันการเงินแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถตนเอง การกำหนดเป้าหมาย และบุคลิกภาพเชิงรุก กับประสิทธิผลในการทำงาน ของ พนักงานสถาบันการเงินแห่งหนึ่งใน กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาว่าปัจจัยใดสามารถแยกแยะ ความมีประสิทธิผลในการทำงานของพนักงาน สถาบันการเงินแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานฝ่ายบริหารอาคารและงานกลาง ของสถาบัน การเงินแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 125 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามปัจจัย ส่วนบุคคล และแบบสอบถามปัจจัยที่สัมพันธ์กับความมีประสิทธิผลในการทำงานจำนวน 3 ปัจจัย อันได้แก่ แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถตนเอง มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .832 แบบสอบถามการ กำหนดเป้าหมาย มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .931 แบบสอบถามบุคลิกภาพเชิงรุก มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .936 ส่วนแบบสอบถามความมีประสิทธิผลในการทำงาน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .853 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติบรรยายค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation) และการวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม (Discriminant analysis) ซึ่งผลการวิจัย พบว่า การรับรู้ความสามารถตนเองมีความสัมพันธ์กับความมีประสิทธิผลในการทำงาน ส่วนการกำหนดเป้าหมาย และบุคลิกภาพเชิงรุกไม่มีความมีความสัมพันธ์กับความมีประสิทธิผลในการทำงาน และปัจจัยทั้งหมดสามารถแยกแยะความมีประสิทธิผลในการทำงานได้ถูกต้อง ร้อยละ 67.3 -
ความสัมพันธ์ของรูปแบบภาวะผู้นำและการรับรู้บรรยากาศองค์การต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ โดยมีความผูกพันต่อองคก์ารเป็นตัวแปรกำกับ ในบุคลากรทางการพยาบาลสังกัดโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของรูปแบบภาวะผู้นำและการรับรู้ บรรยากาศองค์การต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ในบุคลากรทางการพยาบาลสังกัด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง โดยมีความผูกพันต่อองค์การเป็นตัวแปรกำกับ กลุ่มตัวอย่าง เป็นบุคลากรทางการพยาบาลสังกัดโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่งจำนวน 500 คน เครื่องมือในการศึกษาคือ (1) แบบวัดรูปแบบภาวะผู้นำ (2) แบบวัดการรับรู้บรรยากาศองค์การ (3) แบบวัดความผูกพันต่อองค์การ และ (4) แบบวัดพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ สถิติใน การวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบ สมมติฐานโดยใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุเชิงชั้น (Hierarchical Multiple Regression) เพื่อทดสอบตัวแปรกำกับตามแนวคิดของ บารอน และเคนนี ( Baron & Kenney, 1986) ซึ่งผลการวิจัย สรุปได้ ดังนี้ 1. รูปแบบภาวะผู้นำแบบทีมงานสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ ดีขององค์การโดยมีความผูกพันต่อองค์การเป็นตัวแปรกำกับ ( = .332, R2 = .026, p < .01) แต่รูปแบบภาวะผู้นำแบบเน้นงาน รูปแบบภาวะผู้นำแบบเน้นคน และรูปแบบภาวะผู้นำแบบประนีประนอมสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การโดยความผูกพันต่อองค์การไม่ได้ เป็นตัวแปรกำกับของความสัมพันธ์ ส่วนรูปแบบภาวะผู้นำแบบปล่อยปละละเลย ไม่สามารถทำการทดสอบสมมติฐานนี้ได้ เนื่องจากไม่มีข้อมูลลักษณะรูปแบบภาระผู้นำดังกล่าวจากกลุ่มตัวอย่างให้ ทำการศึกษา 2. การรับรู้บรรยากาศในองค์การสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิก ที่ดีขององค์การโดยมีความผูกพันต่อองค์การเป็นตัวแปรกำกับ (= .125, R2 = .009, p < .01) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางสำหรับกระบวนการพัฒนา องค์การ และกระบวนการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การ รูปแบบภาวะผู้นำและการรับรู้บรรยากาศองค์การ เพื่อให้บุคลากรในองค์การแสดงพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การเพิ่มมากขึ้นทำให้องค์การมีประสิทธิภาพต่อไป -
ความผูกพันต่อองค์การบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบและความสุขในการทำงานของพยาบาล โดยมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การเป็นตัวแปรสื่อ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง
การวิจัยครั้งนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การ บุคลิกภาพห้า องค์ประกอบ และความสุขในการทำงานของพยาบาล โดยมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ เป็นตัวแปรสื่อ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างเป็น พยาบาลระดับปฏิบัติการในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง จำนวน 360 คน เครื่องมือในการศึกษา คือ (1) แบบสอบถามความผูกพันต่อองค์การ (2) แบบสอบถามบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ (3) แบบสอบถามพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และ (4) แบบสอบถาม ความสุขในการทำงาน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอย และสถิติทดสอบ Z ตามวิธีของ โซเบล (Sobel, 1982) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน 1.1 ความผูกพันต่อองค์การโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ความผูกพันต่อองค์การด้าน จิตใจ ความผูกพันต่อองค์การด้านการคงอยู่ และความผูกพันต่อองค์การด้านบรรทัดฐาน มี ความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการทำงาน (r = .598, p < .01; r = .514, p < .01; r = .445, p < .01; และ r = .544, p < .01 ตามล าดับ) 1.2 บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบรายด้าน ได้แก่ บุคลิกภาพแบบแสดงตัว บุคลิกภาพ แบบเปิดรับประสบการณ์ บุคลิกภาพแบบประนีประนอม และบุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึก มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการทำงาน (r = .485, p < .01; r = .138, p < .01; r = .395, p < .01 และ r = .482, p < .01 ตามลำดับ) บุคลิกภาพแบบหวั่นไหวมีความสัมพันธ์ทางลบกับ ความสุขในการทำงาน (r = -.291, p < .01) 1.3 พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ พฤติกรรมการให้ความช่วยเหลือ พฤติกรรมการคำนึงถึงผู้อื่น พฤติกรรมการอดทนอดกลั้น พฤติกรรม การให้ความร่วมมือ พฤติกรรมการสำนึกในหน้าที่ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการทำงาน (r = .748, p < .01; r = .673, p < .01; r = .452, p < .01; r = .598, p < .01; r = .694, p < .01 และ r = .552, p < .01 ตามลำดับ) 2. ผลการทดสอบความเป็นตัวแปรสื่อของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ 2.1 พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การเป็นตัวแปรสื่อบางส่วนระหว่างความ ผูกพันต่อองค์การโดยรวมกับความสุขในการทำงาน (z = 9.837, p < .01) โดยเป็นตัวแปรสื่อ บางส่วนของความผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจ ความผูกพันต่อองค์การด้านการคงอยู่ และความผูกพัน ต่อองค์การด้านบรรทัดฐานกับความสุขในการทำงาน (z = 9.204, p < .01; z = 7.349 และ z = 9.482, p < .01 ตามลำดับ) 2.2พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การเป็นตัวแปรสื่อบางส่วนระหว่าง บุคลิกภาพแบบหวั่นไหว และบุคลิกภาพแบบแสดงตัวกับความสุขในการทำงาน (z = -5.120, p < .01 และ z = 7.707, p < .01 ตามล าดับ) พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การเป็นตัวแปรสื่อ สมบูรณ์ระหว่างบุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์ บุคลิกภาพแบบประนีประนอม และบุคลิกภาพ แบบมีจิตสำนึกกับความสุขในการทำงาน (z = 3.191, p < .01; z = 9.675, p < .01 และ z = 10.417, p < .01 ตามลำดับ) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การเป็นตัวแปรสำคัญในการส่งผลให้พนักงานในองค์การมีความสุขในการทำงาน เพราะนอกจากพฤติกรรมการเป็น สมาชิกที่ดีขององค์การจะมีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานแล้ว พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี ขององค์การยังเป็นตัวแปรส่งผ่านของความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การ บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบกับความสุขในการทำงาน ดังนั้นองค์การควรให้ความสำคัญและส่งเสริมการเกิด พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การในแต่ละองค์ประกอบ อันจะส่งผลให้พยาบาลมีความสุขในการทำงานเพิ่มมากขึ้น -
ข้อเขียนที่เกี่ยวกับพิธีมงคลสมรสและมารยาทอื่น ๆจากธรรมเนียมสังคม ของ บารอน สตาฟ : บทแปลและบัญชีศัพท์
วิทยานิพนธ์ ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอการแปลข้อเขียนเกี่ยวกับพิธีมงคลสมรส และมารยาทอื่นๆจากหนังสือคู่มือสอนมารยาทธรรมเนียมสังคม (Usages du monde)ที่ตีพิมพ ใน ปีค.ศ.1891 ของบารอนสตาฟ์(Baronne Staffe) นอกจากนี้์ยังมีบัญชีคำศัพท์ผู้แปลได้เลือกเฉพาะ คำศัพท์สำคัญแล้วจัดเรียงเป็นหมวดหมู่ได้สามหมวดคือ์ศัพท์ เฉพาะทางศาสนาศัพท์เฉพาะของเครื่องใช้เครื่องแต่งกายและอื่นๆวิทยานิพนธ์ฉบับนี้์ผู้แปลมีวัตถุประสงค์ หลัก 3 ประการ์คือ ประการแรกเพื่อฝึกฝนทักษะการแปลข้อเขียนเฉพาะด้านโดยใช้ทฤษฎีการแปลแบบถ่ายทอดความหมาย ประการที่สองเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับธรรมเนียมปฏิบัติของชนชั้นสูงของฝรั่งเศสในช่วง ปลายศตวรรษที่์19 ประการที่สามเพื่อจัดทำบัญชีศัพท์ เฉพาะอย่างเป็นระบบอันจะเป็นประโยชน์ ต่อผู้ที่สนใจ ศึกษาเกี่ยวกับสังคมฝรั่งเศส์ตลอดจนเป็นตัวอย่างให้นักแปลได้ศึกษาการจัดทำบัญชีศัพท์ ผู้แปลหวังว่าวิทยานิพนธ์ เล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจจะแปลงานด้านนี้ต่อไป -
ข้อผิดพลาดที่พบในการแปลวรรณกรรมจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยและแนวทางการแก้ไข: กรณีศึกษาเรื่อง Pride and Prejudice ของ Jane Austen และฉบับแปล อหังการและอคติ โดย ปฐมา พรหมสรร
วิทยานิพนธ์เล่มนี้มุ่งศึกษาข้อผิดพลาดที่พบในการแปลวรรณกรรมเรื่อง Pride and Prejudice ของ Jane Austen ในฉบับแปลภาษาไทยเรื่อง อหังการและอคติ โดย ปฐมา พรหมสรร และมุ่งเสนอแนวทางการแก้ไขพร้อมทั้งศึกษาผลกระทบเกิดจากการใช้กลวิธีการแปลแบบเรียบเรียง ต่อวรรณกรรมประเภทสัจนิยมเรื่องนี้ ผลการศึกษาพบว่าฉบับแปลมีข้อผิดพลาดทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่ การแปลผิด การแปลขาด ความไม่สม่ำเสมอในบทแปล การเลือกใช้คําไม่เหมาะสมกับบริบทในภาษาปลายทาง และการแปลเกิน ทั้งนี้ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางการแก้ไขให้สอดคล้องตามประเภทข้อผิดพลาด ได้แก่ การแก้การแปลผิด การเพิ่มบทแปลที่แปลขาด การแก้ไขความไม่สม่ําเสมอในบทแปล การปรับระดับ คํา และการตัดบทแปลที่แปลเกิน อนึ่ง การศึกษานี้ยังพบว่ากลวิธีการแปลแบบเรียบเรียงส่งผลให้เนื้อหาและอรรถรสขาดหายเป็นจํานวนมาก เช่น การประชดและความเป็นทางการซึ่งเป็นลักษณะ เด่นในวรรณกรรมของ Jane Austen ทําให้ผู้อ่านบทแปลเกิดการตอบสนองที่ไม่ครบถ้วนเท่ากับภาษาในต้นฉบับ