Items
Degree Name is exactly
วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
Item set
Research Project
-
เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อการประเมินสิ่งแวดล้อมเมือง
จังหวัดระยองเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีความเจริญด้านเศรษฐกิจ ส่วนหนึ่งมาจากการมีนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ที่ทำให้เกิดการตั้งถิ่นฐานของแรงงาน ซึ่งการขยายเมืองอย่างรวดเร็วและหนาแน่น ส่งผลกระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อมเมืองหลายประการ โดยการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมมักอาศัยข้อมูลจากเครื่องมือที่ติดตั้งในรูปของสถานีตรวจคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่มีการติดตั้งแบบถาวรหรือแบบชั่วคราวที่มีราคาแพง ทำให้มีการติดตั้งอุปกรณ์มีจำกัดในบางพื้นที่ รวมถึงการสำรวจภาคสนามเพื่อสำรวจหรือติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ต้องอาศัยงบประมาณและแรงงานจำนวนมาก งานวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาศักยภาพของเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมเมืองของจังหวัดระยอง โดยศึกษาและประยุกต์ภาพถ่ายจากดาวเทียม ติดตามการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน การขยายตัวของพื้นที่เมืองในจังหวัดระยอง ความหนาแน่นของสิ่งปลูกสร้าง ศึกษาศักยภาพของภาพถ่ายจากดาวเทียมในการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมเมือง และศึกษาสิ่งแวดล้อมเมืองในแต่ละระดับความหนาแน่นของสิ่งปลูกสร้าง ผลการศึกษาได้จำแนกความหนาแน่นของพื้นที่เมืองออกเป็น 5 ระดับ คือ หนาแน่นมากที่สุด (824.42 ตร.กม.) หนาแน่นมาก (1,018.86 ตร.กม.) หนาแน่นปานกลาง (1,008.11 ตร.กม.) หนาแน่นน้อย (568.75 ตร.กม.) หนาแน่นน้อยที่สุด (131.86 ตร.กม.) ส่วนผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์คุณภาพอากาศ พบว่า ค่าอุณหภูมิจากภาพถ่ายจากดาวเทียมมีความสัมพันธ์กับค่าที่ตรวจวัดจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในระดับสูงมาก (สหสัมพันธ์ = 0.91) อีกทั้งค่า PM 10 จากภาพถ่ายจากดาวเทียมมีความสัมพันธ์กับค่าที่ตรวจวัดจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในระดับสูงมากอีกเช่นกัน (สหสัมพันธ์ = 0.81) จึงสามารถสรุปได้ว่า เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมีศักยภาพในการประเมินสิ่งแวดล้อมเมืองในด้านกายภาพได้ดี และจากการประเมินสิ่งแวดล้อมเมืองด้วยเทคโนโลยีภูมสารสนเทศ พบว่า พื้นที่ที่มีความเป็นเมืองหรือมีการกระจุกตัวของสิ่งปลูกสร้างหนาแน่นมากที่สุด และมีสิ่งแวดล้อมเมืองที่ต้องเฝ้าระวังในอำเภอเมืองระยองอยู่ที่ตำบลปลวกแดง มาบตาพุด และเชิงเนิน -
การศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
การวิจัยเรื่อง “การศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี” มีวัตถุประสงค์เพื่อ สำรวจสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ประเมินมาตรฐานคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เหมาะสมโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โครงข่าย งานวิจัยดังกล่าวเป็น การวิจัยเชิงคุณภาพที่มีการประยุกต์ใช้เครื่องมือทางเทคนิค ในลักษณะการสำรวจ ประเมิน และสัมภาษณ์ในสถานที่ท่องเที่ยวทั้งหมด 20 สถานที่ท่องเที่ยวได้แก่ ศาลเจ้าหน่าจา วัดเขาพระพุทธบาทบางทราย วัดธรรมนิมิตต์ วัดใหญ่อินทาราม พระพุทธสิหิงค์มิ่งมงคลศิรนาถ วัดหนองศรีสงวน วัดอู่ตะเภา วัดตาลล้อม วัดบางเป้ง วัดเก่าโบราณ พระวิหารอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ศาลเจ้าแม่หินเขา ตลาดเก่าอ่างศิลา ตลาดสะพานปลาอ่างศิลา ตลาดหนองมน ตลาดประมงท่าเรือพลี วังแสนสุข พิพิธภัณฑ์เรือนไทย พิพิธภัณฑ์ทหารเกาหลี และพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราช จากนั้นนำผลการประเมินที่ได้มาจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวและเข้าเทคนิคการวิเคราะห์โครงข่าย โดยผลการวิจัยทำให้ทราบว่า แหล่งท่องเที่ยวที่มีค่าคะแนนประเมินสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งและสองได้แก่ วัดใหญ่อินทาราม วัดเขาพระพุทธบาทบางทราย ศาลหน่าจา พระโพธิสัตว์ปางพันกร ตลาดหนองมนตลาดประมงท่าเรือพลี วังแสนสุขและพิพิธภัณฑ์ 72 พรรษามหาราช ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าวถูกนำมาจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวได้ทั้งหมดสามรูปแบบด้วยกัน อันได้แก่ รูปแบบหนึ่งวัน ประกอบไปด้วย วัดใหญ่อินทาราม ศาลหน่าจา วังแสนสุขและตลาดหนองมน รูปแบบสองวันเสาร์-อาทิตย์ ประกอบไปด้วย วัดใหญ่อินทาราม ศาลหน่าจา พิพิธภัณฑ์ 72 พรรษามหาราช ตลาดประมงท่าเรือพลี วังแสนสุข ตลาดหนองมน พระโพธิสัตว์ปางพันกรและวัดเขาพระพุทธบาทบางทราย รูปแบบสองวัน ประกอบไปด้วย วัดใหญ่อินทาราม ศาลหน่าจา พิพิธภัณฑ์ 72 พรรษา มหาราช ตลาดเก่าอ่างศิลา วังแสนสุข ตลาดหนองมน พระโพธิสัตว์ปางพันกรและวัดเขาพระพุทธบาทบางทราย โดยผู้วิจัยมีการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงความหลากหลายของประเภทแหล่งท่องเที่ยวเป็นสำคัญและข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา ควรเพิ่มเกณฑ์ความนิยมของนักท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่แบบประเมินมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เนื่องด้วยข้อมูลสาระสนเทศทางภูมิศาสตร์ของแต่ละหน่วยงานไม่เหมือนกันดังนั้นควรอัพเดทข้อมูลสาระสนเทศดังกล่าวให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น -
การวิเคราะห์พื้นที่เหมืองหินและค่าฝุ่นละอองในชั้นบรรยากาศด้วยข้อมูลจาก ดาวเทียม จังหวัดสระบุรี
จังหวัดสระบุรีเป็นแหล่งวัตถุดิบปูนซีเมนต์ ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตส าคัญของ ภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง ที่มักก่อปัญหาฝุ่นละอองในบรรยากาศสูงเกินมาตรฐาน (เฉลี่ย 24 ชั่วโมงไว้ ไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้งของทุกๆ ปี (กรมควบคุมมลพิษ ,2558) ส่งผลกระทบในด้านสุขภาพของคนและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการขยายตัวของเหมืองหินอุตสาหกรรมในจังหวัดสระบุรี และวิเคราะห์คา่ฝนุ่ ละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ในชั้นบรรยากาศ (Particular matter 10 micrometers or less in diameter, PM10) ด้วยภาพถ่ายจากดาวเทียม Landsat โดยผลการวิเคราะห์ค่าฝุ่นละอองจาก ภาพถ่ายจากดาวเทียมจะน ามาเปรียบเทียบกับข้อมูลฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ที่บันทึก โดยสถานีตรวจคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษในพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษา พบว่า พื้นที่เหมือง หินอุตสาหกรรมโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการเปิดหน้าดินจากปี 2541 ถึงปี 2558 นั้น มีการขยายตัว 82.4 ตารางกิโลเมตร และผลการวิเคราะห์ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ในชั้นบรรยากาศ มี ความสอดคล้องในระดับดีกับข้อมูลที่ตรวจวัดจริงจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุม มลพิษ หรือค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ 0.78 ดังนั้น ค่าที่วิเคราะห์จากภาพถ่ายจากดาวเทียม จึงสามารถ น าไปใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นส าหรับวิเคราะห์คุณภาพอากาศในพื้นที่ที่ไม่มีการติดตั้งสถานีตรวจคุณภาพ อากาศได้ นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์ค่าฝุ่นละอองเล็กกว่า 10 ไมครอน ในชั้นบรรยากาศหลาย ช่วงเวลาของพื้นที่จังหวัดสระบุรี พบว่า ช่วงเวลาที่มีฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ใน บรรยากาศสูงเกินมาตรฐานในรอบปีมีช่วงเวลาที่ยาวนานขึ้น และความแม่นย าของการวิเคราะห์คา่ฝนุ่ ละอองในชั้นบรรยากาศจะลดลงในช่วงที่มีสภาพอากาศไม่ปลอดโปร่ง โดยเฉพาะในฤดูฝนที่ภาพถ่าย จากดาวเทียม Landsat 8 จะถ่ายติดเมฆและหมอก ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการวิเคราะห์ภาพถ่ายจาก ดาวเทียม