Items
Academic Major is exactly
พุทธศาสนศึกษา
AND Degree Name is exactly
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
-
การศึกษาวิเคราะห์เรื่องการอุทิศส่วนบุญในประเพณีสารทเขมร (พฺจุมเบ็ญ)
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาการอุทิศส่วนบุญ ตามหลักคำสอนพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อวิเคราะห์กำเนิดและพัฒนาการของประเพณีสารท และ 3) เพื่อวิเคราะห์พัฒนาการและการอุทิศส่วนบุญในประเพณีสารทเขมร (พฺจุมเบ็ญ) ผลจากการศึกษา พบว่า 1) การอุทิศส่วนบุญส่งเสริมให้เกิดการสร้างกุศลกรรมทางกาย วาจา และใจ เนื่องจากหลักคำสอนพุทธศาสนาเถรวาทกล่าวว่าผู้ที่จะสามารถอุทิศส่วนบุญได้นั้น ต้องกระทำบุญแก่ตนเองเสียก่อน จึงจะอุทิศส่วนบุญให้แก่บุคคลอื่นได้ ทั้งนี้ พิธีกรรมการอุทิศส่วนบุญในพุทธศาสนาไม่ได้มีการ กำหนดเวลาตายตัว เนื่องจากการทำบุญเพื่ออุทิศให้แก่ผู้อื่นนั้นเป็นเรื่องของจิตสำนึกตระหนักรู้ถึง หน้าที่ของตน ส่วนเป้าหมายของการอุทิศส่วนบุญสามารถเป็นได้ทั้ง เปรต มนุษย์ และเทวดา แตกต่าง แต่เพียงผลลัพธ์ที่ได้จากการอนุโมทนาส่วนบุญเท่านั้น 2) ประเพณีสารทมีกำเนิดจากศาสนาพราหมณ์ ที่จัดทำขึ้นเพื่อเซ่นสังเวยหรืออุทิศส่วนบุญให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ยิ่งไปกว่านั้นพิธีนี้ถือว่าเป็นกฎ ข้อบังคับของทางศาสนาฮินดู ศาสนิกฮินดูทุกคนจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดขาดไม่ได้ 3) ประเพณีสารทเขมร (พฺจุมเบ็ญ) เป็นพิธีผสมผสานกันระหว่างความเชื่อตามแบบศาสนาพราหมณ์ พุทธศาสนาและผีบรรพบุรุษ (เนี๊ยะตา) เข้าด้วยกัน ประเพณีนี้มีปรากฏชัดเจนว่าเริ่มในรัชสมัยของ สมเด็จพระสัตถาที่ 1 (พ.ศ.2119-2129) ในปัจจุบันเทศกาลมีระยะเวลาทั้งหมด 15 วัน เริ่มตั้งแต่ วัน แรม 1 ค่ำ ถึง 15 คำ เดือนสิบ (ภัทรบท) ตามปฏิทินจันทรคติ เพื่อเป็นการทำนุบำรุงพระสงฆ์ในช่วง ฤดูฝน สะสมบุญด้วยตนเอง และแบ่งปันส่วนบุญนั้นให้แก่ผู้ล่วงลับ ยิ่งไปกว่านั้นเป็นการส่งเสริมความ กตัญญูกตเวที และให้เกิดความสามัคคีในชุมชน -
การศึกษาวิเคราะห์การเคารพบูชาพระคเณศของชาวพุทธในสังคมไทย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติที่มา และความสำคัญของ การบูชาพระคเณศของชาวพุทธในสังคมไทยอย่างเป็นวิชาการ 2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาความเชื่อ เกี่ยวกับพระคเณศที่มีต่อวิถีชีวิตของชาวพุทธในสังคมไทย และ 3) เพื่อเสนอแนวทางที่เหมาะสมใน การเคารพบูชาพระคเณศของชาวพุทธในสังคมไทย ผลการวิจัยพบว่า 1) การบูชาพระคเณศของชาว พุทธในสังคมไทยมีที่มาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยพระคเณศมีความส าคัญในฐานะเทพเจ้าขจัด อุปสรรคและเทพเจ้าแห่งศิลปวิทยา 2) ประเด็นปัญหาการบูชาพระคเณศของชาวพุทธในสังคมไทยมี 2 ด้านได้แก่ ประเด็นปัญหาด้านความเชื่อเรื่องพระคเณศของชาวพุทธ และประเด็นปัญหาด้าน แนวคิดการเคารพบูชาพระคเณศของชาวพุทธ 3) แนวทางที่เหมาะสมในการเคารพบูชาพระคเณศ ของชาวพุทธในสังคมไทยมี 2 แนวทาง คือ แนวทางการพัฒนาด้านความเชื่อทางพระพุทธศาสนา และแนวทางการพัฒนาด้านแนวคิดการเคารพบูชาทางพระพุทธศาสนา -
การปกครองคณะสงฆ์ไทยปัจจุบัน : ปัญหาและแนวทางแก้ไข
วิทยานิพนธ์เล่มนี้ศึกษา ป๎ญหา และสาเหตุของป๎ญหารวมถึงแนวทางแก้ไขป๎ญหาการ ปกครองคณะสงฆ์ไทยป๎จจุบัน จากการศึกษา พบว่า ป๎จจุบัน คณะสงฆ์ประสบป๎ญหาโครงสร้างการปกครอง ป๎ญหาการขาดประสิทธิภาพ ในการปกครอง ป๎ญหาหลักเกณฑ์การแต่งตั้งของพระสงฆ์ที่จะได้รับสมณศักดิ์ สาเหตุป๎ญหาการปกครองคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบัน มีสาเหตุมาจากป๎ญหาโครงสร้างการ ปกครองเพราะคณะสงฆ์ที่ถูกควบคุมโดยรัฐผ่านพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 (ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535) สาเหตุต่อมาคือการขาดประสิทธิภาพในการปกครองมาจากสาเหตุที่รวมศูนย์ อำนาจการตัดสินใจไว้ที่ผู้ปกครองสงฆ์ระดับสูงซึ่งมีอำนาจและอิทธิพลต่อการปกครองสงฆ์จำนวนมาก ซึ่งด้อยในประสิทธิภาพการทำงานเพราะชราภาพและยังด้อยความรู้ความสามารถในการปกครองสงฆ์ สืบเนื่องจากระบบกลไกคณะสงฆ์ไม่มีการพัฒนาประสิทธิภาพผู้ปกครองคณะสงฆ์ ต่อมาสาเหตุของ หลักเกณฑ์ของพระสงฆ์ที่จะได้รับสมณศักดิ์ นั้นจำเพาะเจาะจงไว้ที่ตำแหน่งทางปกครองคณะสงฆ์ และมีการกำหนดหลักเกณฑ์ผ่านจำนวนเงินเพื่อการสร้างในการแก้ไขป๎ญหาโครงสร้างการปกครอง มีแนวทางการแยกรัฐออกจากศาสนา กับปรับปรุงโครงสร้างการปกครองคณะสงฆ์ใหม่ ส่วนแนวทางการแก้ไขป๎ญหาการขาดประสิทธิภาพใน การปกครอง รวมอยู่ในแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างการปกครองคณะสงฆ์แล้ว และต่อมาคือ การ แก้ไขป๎ญหาหลักเกณฑ์ของพระสงฆ์ที่จะได้รับสมณศักดิ์ โดยแยกสมณศักดิ์ออกจากตำแหน่งการ ปกครอง การให้พุทธบริษัทมีส่วนร่วมในการวางกฎเกณฑ์ และการกำหนดหลักเกณฑ์ของพระสงฆ์ที่ จะได้รับสมณศักดิ์โดยค านึงถึงการสร้างศาสนวัตถุที่จ าเป็นต่อการใช้สอยและตามฐานะของวัดและกำหนดหลักเกณฑ์โดยการเน้นการสร้างศาสนวัตถุทเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน