วิเคราะห์วรรณกรรมแปลเรื่อง "ความฝันของคนไร้สาระ" ของฟิโอดอร์ ดอสโตยเยียฟสกี ด้วยทฤษฎีการเล่าเรื่อง และทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ

Item

หัวข้อวิทยานิพนธ์

วิเคราะห์วรรณกรรมแปลเรื่อง "ความฝันของคนไร้สาระ" ของฟิโอดอร์ ดอสโตยเยียฟสกี ด้วยทฤษฎีการเล่าเรื่อง และทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ

รายละเอียด

ศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชารัสเซียศึกษา

ชื่อผู้เขียน

นางสาวณัฐสิมา จงอ่อน

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

อาจารย์ ดนุพล เฉลยสุข

บทคัดย่อ

"การศึกษาเรื่อง วิเคราะห์วรรณกรรมแปลเรื่อง “ความฝันของคนไร้สาระ” ของฟิโอดอร์ ดอสโตยเยียฟสกี ด้วยทฤษฎีการเล่าเรื่อง และทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงมิติและแนวทางในการเขียนวรรณกรรมแปลเรื่องความฝันของคนไร้สาระ โดยใช้ทฤษฎีการเล่าเรื่องเป็นกรอบในการวิจัย และเพื่อศึกษาถึงบุคลิกภาพของตัวละครเอกในวรรณกรรมแปลเรื่องความฝันของคนไร้สาระ โดยใช้ทฤษฎีจิตวิยาบุคลิกภาพซึ่งได้แก่ แนวคิดทฤษฎีของซิกมันต์ ฟรอยด์ คาร์ล กุลสตาฟ จุง และคาร์เรน ฮอร์นาย
ผลการศึกษามิติการเล่าเรื่องพบว่า 1) โครงเรื่องของวรรณกรรมเรื่องความฝันของคนไร้สาระ ประกอบไปด้วย ขั้นเริ่มเรื่อง ได้แก่ ช่วงเริ่มต้นบทที่ 1 ขั้นพัฒนาเหตุการณ์ ได้แก่ ช่วงกลางของบทที่ 1 จนถึงช่วงบทที่ 3 ขั้นภาวะวิกฤติ ได้แก่ บทที่ 4 ถึงช่วงต้นของบทที่ 5 ขั้นภาวะคลี่คลาย ได้แก่ บทที่ 5 ช่วงกลางบนจนถึงก่อนจบเรื่อง ขั้นยุติเรื่องราว ได้แก่ ย่อหน้าสุดท้ายของบทที่ 5 2) แก่นเรื่อง ดอสโตยเยียฟสกีเสนอทรรศนะที่ว่าในความเป็นจริงแล้วหลักการส่วนใหญ่ที่มนุษย์คิดขึ้นมานั้นล้มเหลว โลกทุกวันนี้จึงเต็มไปด้วยความขัดแย้ง 3) ตัวละคร มีตัวละครหลักอยู่ 1 ตัวละคร ได้แก่ชายผู้ไร้สาระ ตัวละครรองได้แก่ เด็กผู้หญิง สัตภาวะ ผู้คนในโลกปัจจุบัน และผู้คนในโลกแห่งความฝัน
4) ความขัดแย้ง ในวรรณกรรมปรากฏความขัดแย้งภายในจิตใจ ของชายผู้ไร้สาระ 5) ฉาก ในวรรณกรรมมีทั้งฉากช่วงเวลา ฉากธรรมชาติ ฉากประดิษฐ์ ฉากดำเนินชีวิต และฉากนามธรรม 6) บทสนทนา ได้แก่ ชายผู้ไร้สาระและสัตภาวะ 7) ตอนจบ ได้แก่ การจบแบบเป็นจริงในชีวิต 8) มุมมองใน
การเล่าเรื่อง ได้แก่ มุมมองบุคคลที่ 1
ส่วนการวิเคราะห์บุคลิกภาพของตัวละครหลัก โดยผ่านทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ สามารถสรุปได้ว่า ในช่วงแรก ตัวละครเอกมีบุคลิกภาพที่เพิกเฉยต่อสังคม มีความก้าวร้าว
มีความหวาดระแวง วิตกกังวลสูง และขาดความคิดรอบคอบ มีสัญชาตญาณแห่งความตาย
อันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่สะสมมาจากการถูกดูหมิ่นเหยียดหยามจากคนในสังคม ในช่วงหลัง
ตัวละครเอกมีบุคลิกภาพที่เข้าหาสังคม ต้องการผูกรักกับผู้อื่น มีความสำนึกผิดในสิ่งที่กระทำ และ
มีการให้อภัย"

ปีที่เผยแพร่

2564 / 2021

ระดับการศึกษา

ปริญญาตรี

ชื่อปริญญา

ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

สาขาวิชา

รัสเซียศึกษา

ปีการศึกษา

2563 / 2020

คำสำคัญ

การเล่าเรื่อง, จิตวิทยาบุคลิกภาพ

ตีพิมพ์

Bangkok : Thammasat University

ประเภทข้อมูล

Text

สิทธิ์ในการใช้งาน

In Copyright - Educational Use Permitted

ลิขสิทธิ์

Thammasat University

Item sets

6006720764 ณัฐสิมา จงอ่อน - Nutsima J..pdf