อิทธิพลของสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมดนตรีในสมัย สหภาพโซเวียตภายใต้การปกครองของ โจเซฟ สตาลิน ในช่วงปี ค.ศ.1924-1953
Item
หัวข้อวิทยานิพนธ์
อิทธิพลของสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมดนตรีในสมัย สหภาพโซเวียตภายใต้การปกครองของ โจเซฟ สตาลิน ในช่วงปี ค.ศ.1924-1953
รายละเอียด
ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัสเซียศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2563 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อผู้เขียน
นางสาว ทานตะวัน สนธิเกษตริน
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
-
บทคัดย่อ
"ภาคนิพนธ์นี้ศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมดนตรีในสมัยสหภาพโซเวียตภายใต้การปกครองของ โจเซฟ สตาลิน ในระหว่างปี ค.ศ.1924 -1953 มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งศึกษาบริบททางการเมืองการปกครองของสังคมและวัฒนธรรมภายในประเทศสหภาพโซเวียตเพื่อหาสาเหตุที่เป็นอิทธิพลต่อด้านวัฒนธรรมดนตรีในสหภาพโซเวียตที่อยู่ภายใต้การปกครองของ โจเซฟ สตาลิน
จากการปฏิวัติรัสเซียในปี ค.ศ.1917 นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง
เป็นประเทศสหภาพโซเวียตภายใต้การขึ้นสู่อำนาจและการวางรากฐานทางด้านสังคมและวัฒนธรรมของ วลาดิเมียร์ เลนิน ทำให้มีการกำหนดแนวคิดนโยบายหลักในการปกครองประเทศโดยใช้
ทฤษฎีสัจสังคมนิยม (Socialist Realism) ในการครอบคลุมทุกการสร้างสรรค์ผลงานภายในประเทศเพื่อเป็นการถ่ายทอดอุดมการณ์ของระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในประเทศใหม่สหภาพโซเวียต หลังจากนั้นประเทศได้เข้าสู่ช่วงการขึ้นปกครองภายใต้ โจเซฟ สตาลิน ที่มีการดำเนินแนวคิดนโยบายและอุดมการณ์สืบเนื่องมาจากการวางรากฐานของ วลาดิเมียร์ เลนิน โดยมีการแบ่งการศึกษาไว้ในช่วงเวลาก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างการเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง และภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากทั้งสามช่วงเวลาในการแบ่งเวลาเหล่านี้นับว่าเป็นช่วงที่เกิดความสับสนวุ่นวายทางสังคมและส่งผลต่อวัฒนธรรมดนตรี
การศึกษาถึงแนวคิดอุดมการณ์และนโยบายทางการเมืองการปกครองสังคมและวัฒนธรรมในช่วงเวลาภายใต้การปกครองของสตาลินนั้นส่งผลต่อวัฒนธรรมดนตรีที่มีความสอดคล้องกันโดยตรง เนื่องจากแนวคิดอุดมการณ์และนโยบายทางวัฒนธรรมดนตรีต้องขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของนโยบายการปกครองทางสังคมภายใต้การปกครองของสตาลิน เช่น การออกนโยบายแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับ 5 ปี ทำให้การสร้างสรรค์ผลงานดนตรีต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับ 5 ปีนี้ด้วย การดำเนินนโยบายการกวาดล้างทำให้ศิลปินนักประพันธ์ต้องได้รับผลกระทบจากสภาพสังคมโดยศิลปินจำเป็นต้องถ่ายทอดผลงานการแสดงออกมาเพื่อให้อยู่ภายใต้กรอบข้อจำกัดของพรรคคอมมิวนิสต์เท่านั้น นอกจากนั้นสตาลินยังคงดำเนินนโยบายการสกัดกั้นแนวความคิดจากโลกเสรีตะวันตกในช่วงระยะเวลาแรกของการปกครองก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่สองและช่วงระยะเวลาการทำสงครามโลกครั้งที่สองได้มีการผ่อนปรนการสกัดกั้นแนวความคิดทางด้านของผลงานวัฒนธรรมภายในประเทศเกิดขึ้นเนื่องจากรัฐบาลมีการหันไปให้ความสนใจกับการทำสงครามในขณะนั้นมากกว่า แต่ในช่วงเวลานี้วัฒนธรรมดนตรีถูกยกขึ้นมาให้ความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากรัฐบาลได้ใช้ดนตรีเป็นศิลปะในการดำเนินยุทธศาสตร์ในการทำสงครามโดยเป็นอาวุธในการปกครองของสตาลินรูปแบบหนึ่ง โดยแท้จริงแล้วตั้งแต่เริ่มสมัยการปกครองสตาลินได้ใช้ดนตรีที่นับว่าเป็นศิลปะแขนงหนึ่ง ในการดำเนินการแทรกซึมอุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์ภายใต้จิตใจของผู้คนให้มีการซึมซับถึงความเข้าใจในระบอบการปกครองสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ในระหว่างการทำสงครามดนตรีถูกใช้กระจายเสียงทั่วประเทศเพื่อเป็นแรงปลุกระดมใจของคนในชาติโดยถือว่าเป็นการข่มขู่ขวัญกำลังใจจากโลกเสรีตะวันตกด้วยเช่นกัน จากกระแสดนตรีจากโลกอิทธิพลตะวันตกหลั่งไหลเข้ามาภายในประเทศทำให้การสกัดกั้นการรับสื่อผลงานถูกผ่อนคลายลงบ้าง ประชาชนได้มีดนตรีในการช่วยบรรเทาจิตใจจากความตึงเครียดในสังคมตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา จนภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง สหภาพโซเวียตถูกให้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกและประเทศจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน ทางด้านวัฒนธรรมดนตรีถูกกลับมาให้ความสนใจอีกครั้งโดยการสกัดกั้นแนวความคิดจากโลกเสรีตะวันตก การกวาดล้างเกิดขึ้นโดยความเข้มงวดขึ้นอีกครั้ง ศิลปินและนักประพันธ์ดนตรีเป็นจำนวนมากได้รับผลกระทบโดยตรงจากอิทธิพลของนโยบายทางสังคม
นับว่าสังคมและวัฒนธรรมที่มีการปกครองภายใต้ผู้นำ โจเซฟ สตาลิน ได้มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมดนตรีโดยใช้ดนตรีในการเป็นสื่อและเครื่องมือของพรรครัฐบาลที่ถ่ายทอดแนวคิดอุดมการณ์และนโยบายของระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ให้กับมวลชนภายในประเทศรวมถึงใช้ศิลปะดนตรีในการเป็นแรงปลุกระดมใจของคนในชาติให้มีความคิดและมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในชาติเกิดขึ้น"
จากการปฏิวัติรัสเซียในปี ค.ศ.1917 นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง
เป็นประเทศสหภาพโซเวียตภายใต้การขึ้นสู่อำนาจและการวางรากฐานทางด้านสังคมและวัฒนธรรมของ วลาดิเมียร์ เลนิน ทำให้มีการกำหนดแนวคิดนโยบายหลักในการปกครองประเทศโดยใช้
ทฤษฎีสัจสังคมนิยม (Socialist Realism) ในการครอบคลุมทุกการสร้างสรรค์ผลงานภายในประเทศเพื่อเป็นการถ่ายทอดอุดมการณ์ของระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในประเทศใหม่สหภาพโซเวียต หลังจากนั้นประเทศได้เข้าสู่ช่วงการขึ้นปกครองภายใต้ โจเซฟ สตาลิน ที่มีการดำเนินแนวคิดนโยบายและอุดมการณ์สืบเนื่องมาจากการวางรากฐานของ วลาดิเมียร์ เลนิน โดยมีการแบ่งการศึกษาไว้ในช่วงเวลาก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างการเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง และภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากทั้งสามช่วงเวลาในการแบ่งเวลาเหล่านี้นับว่าเป็นช่วงที่เกิดความสับสนวุ่นวายทางสังคมและส่งผลต่อวัฒนธรรมดนตรี
การศึกษาถึงแนวคิดอุดมการณ์และนโยบายทางการเมืองการปกครองสังคมและวัฒนธรรมในช่วงเวลาภายใต้การปกครองของสตาลินนั้นส่งผลต่อวัฒนธรรมดนตรีที่มีความสอดคล้องกันโดยตรง เนื่องจากแนวคิดอุดมการณ์และนโยบายทางวัฒนธรรมดนตรีต้องขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของนโยบายการปกครองทางสังคมภายใต้การปกครองของสตาลิน เช่น การออกนโยบายแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับ 5 ปี ทำให้การสร้างสรรค์ผลงานดนตรีต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับ 5 ปีนี้ด้วย การดำเนินนโยบายการกวาดล้างทำให้ศิลปินนักประพันธ์ต้องได้รับผลกระทบจากสภาพสังคมโดยศิลปินจำเป็นต้องถ่ายทอดผลงานการแสดงออกมาเพื่อให้อยู่ภายใต้กรอบข้อจำกัดของพรรคคอมมิวนิสต์เท่านั้น นอกจากนั้นสตาลินยังคงดำเนินนโยบายการสกัดกั้นแนวความคิดจากโลกเสรีตะวันตกในช่วงระยะเวลาแรกของการปกครองก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่สองและช่วงระยะเวลาการทำสงครามโลกครั้งที่สองได้มีการผ่อนปรนการสกัดกั้นแนวความคิดทางด้านของผลงานวัฒนธรรมภายในประเทศเกิดขึ้นเนื่องจากรัฐบาลมีการหันไปให้ความสนใจกับการทำสงครามในขณะนั้นมากกว่า แต่ในช่วงเวลานี้วัฒนธรรมดนตรีถูกยกขึ้นมาให้ความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากรัฐบาลได้ใช้ดนตรีเป็นศิลปะในการดำเนินยุทธศาสตร์ในการทำสงครามโดยเป็นอาวุธในการปกครองของสตาลินรูปแบบหนึ่ง โดยแท้จริงแล้วตั้งแต่เริ่มสมัยการปกครองสตาลินได้ใช้ดนตรีที่นับว่าเป็นศิลปะแขนงหนึ่ง ในการดำเนินการแทรกซึมอุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์ภายใต้จิตใจของผู้คนให้มีการซึมซับถึงความเข้าใจในระบอบการปกครองสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ในระหว่างการทำสงครามดนตรีถูกใช้กระจายเสียงทั่วประเทศเพื่อเป็นแรงปลุกระดมใจของคนในชาติโดยถือว่าเป็นการข่มขู่ขวัญกำลังใจจากโลกเสรีตะวันตกด้วยเช่นกัน จากกระแสดนตรีจากโลกอิทธิพลตะวันตกหลั่งไหลเข้ามาภายในประเทศทำให้การสกัดกั้นการรับสื่อผลงานถูกผ่อนคลายลงบ้าง ประชาชนได้มีดนตรีในการช่วยบรรเทาจิตใจจากความตึงเครียดในสังคมตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา จนภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง สหภาพโซเวียตถูกให้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกและประเทศจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน ทางด้านวัฒนธรรมดนตรีถูกกลับมาให้ความสนใจอีกครั้งโดยการสกัดกั้นแนวความคิดจากโลกเสรีตะวันตก การกวาดล้างเกิดขึ้นโดยความเข้มงวดขึ้นอีกครั้ง ศิลปินและนักประพันธ์ดนตรีเป็นจำนวนมากได้รับผลกระทบโดยตรงจากอิทธิพลของนโยบายทางสังคม
นับว่าสังคมและวัฒนธรรมที่มีการปกครองภายใต้ผู้นำ โจเซฟ สตาลิน ได้มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมดนตรีโดยใช้ดนตรีในการเป็นสื่อและเครื่องมือของพรรครัฐบาลที่ถ่ายทอดแนวคิดอุดมการณ์และนโยบายของระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ให้กับมวลชนภายในประเทศรวมถึงใช้ศิลปะดนตรีในการเป็นแรงปลุกระดมใจของคนในชาติให้มีความคิดและมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในชาติเกิดขึ้น"
ปีที่เผยแพร่
2564 / 2021
ระดับการศึกษา
ปริญญาตรี
ชื่อปริญญา
ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
สาขาวิชา
รัสเซียศึกษา
ปีการศึกษา
2563 / 2020
คำสำคัญ
ดนตรี, สัจสังคมนิยม, ระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
ตีพิมพ์
Bangkok : Thammasat University
ประเภทข้อมูล
Text
ลิขสิทธิ์
Thammasat University