คำเรียกขานที่ใช้ในความสัมพันธ์แบบคู่รัก
Item
หัวข้อวิทยานิพนธ์
th-th
คำเรียกขานที่ใช้ในความสัมพันธ์แบบคู่รัก
en-us
ADDRESS TERMS USED BY DATING COUPLES
รายละเอียด
th-th
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทยและภาษาวัฒนธรรมตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2559
en-us
A THESIS SUBMITTED IN PARTIAL FULFILLMENT OF THE REQUIREMENTS FOR THE DEGREE OF MASTER OF ARTS IN THAI LANGUAGE DEPARTMENT OF THAI AND EAST ASIAN LANGUAGES AND CULTURE FACULTY OF LIBERAL ARTS THAMMASAT UNIVERSITY ACADEMIC YEAR 2016
หมายเลขอ้างอิง
25595506032399SRC
ชื่อผู้เขียน
th-th
นางสาว เมธินี อังศุวัฒนากุล
en-us
Miss Methinee Aungsuwattanakul
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธาสินี ปิยพสุนทรา
บทคัดย่อ
th-th
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและการสร้างคำเรียกขานที่ใช้ใน ความสัมพันธ์แบบคู่รัก การใช้คำเรียกขานกับคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับผู้พูดและผู้ฟัง และสถานการณ์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 300 คน ได้ข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์จำนวน 1,244 คำ ผลการศึกษาพบว่าคำเรียกขานที่ใช้ในความสัมพันธ์แบบคู่รักมี 35 รูปแบบ เป็นรูปเดี่ยว 7 รูปแบบ และรูปแบบประสม 28 รูปแบบ รูปแบบที่มีความถี่ในการใช้มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ชื่อ คำสรรพนามและฉายา การสร้างคำเรียกขาน สามารถแบ่งได้เป็น 6 วิธีการ ดังนี้ 1) วิธีทางความหมาย 2) การดัดแปลงคำ3) การเติมหน่วยคำหน้าหรือท้ายคำเดิม 4) การเปลี่ยนภาษา 5) การสร้างคำใหม่ 6) การใช้หลายวิธีร่วมกัน คำเรียกขานหนึ่งคำสามารถเกิดจากวิธีการสร้างคำตั้งแต่ 1 วิธี ถึง 5 วิธี จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้คำเรียกขานกับคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับผู้พูด และผู้ฟัง พบว่าอายุมีความเกี่ยวข้องกับการใช้คำเรียกขานเมื่อผู้พูดอายุน้อยกว่าผู้ฟัง ส่วนเพศของผู้ พูดและรูปแบบความสัมพันธ์เกี่ยวข้องค่อนข้างน้อย การใช้คำเรียกขานในสถานการณ์ที่มีบุคคลที่ 3 จะปรากฏรูปแบบที่ค่อนข้างจำกัด. ตรง ข้ามกลับปรากฏรูปแบบที่หลากหลายมากที่สุดเมื่ออยู่ตามลำพังกับคนรัก นอกจากนี้เมื่ออยู่ต่อหน้า บุคคลที่ 3 หรือเมื่อผู้พูดอารมณ์ไม่ดีจะใช้คำเรียกขานในกลุ่มที่แสดงความรัก ความสัมพันธ์หรืออารมณ์ค่อนข้างน้อย แต่จะใช้มากกว่าเมื่ออยู่กับคนรักตามลำพัง หรือเมื่อผู้พูดอารมณ์ดี จากผลจากการวิจัยอาจกล่าวได้ว่าคำเรียกขานในความสัมพันธ์แบบคู่รักมีความ เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การมีบุคคลที่สามและอารมณ์ของผู้พูด.ด้วยความสัมพันธ์แบบคู่รักเป็นความสัมพันธ์แบบสนิทสนมและเป็นส่วนตัว และพบว่าคู่รักแสดงอารมณ์และความรู้สึกผ่านการสร้าง คำเรียกขานขึ้นใช้ด้วยวิธีที่หลากหลาย
en-us
The purpose of this thesis is to analyze the forms and word formations of address terms used by dating couples and to study the relationship between the usage of address terms, the qualifications of the addressor and addressee, and the situation. The data are collected by using questionnaires from 300 respondents. The data consist of 1,244 words. The result of the study revealed that there are 35 forms: 7 forms occur as a single unit, and 28 forms occur as compound units. The name is used the most, the second is a pronoun, and the third is an alias. The study of word formation shows that there are six styles of word formation: 1) Meaning method; 2) Word transformation; 3) Adding morphemes; 4) Language changing; 5) Coinage, and 6) Multiple methods. One term of address can be formed by using word formation in up to five ways. Concerning the use of terms of address according to the relationship between usage of terms and qualifications of the addressor and addressee, the study found that age difference was related more when the addressor is younger than the addressee. Meanwhile, the sex of the addressor and type of relationship are less closely related. When there is a third party participated in the situation, usage forms of address terms are limited, on the other hand it shows various forms when there is no third party. Moreover when in the situation which there is a third party otherwise the addressor was in a bad mood, the terms of address shown not special love and intimacy, other than, they were together in privacy situation or the addressor was in good mood the address terms are noticeable show love, intimacy and affectionate. The interpretation of the result may be in the way that address terms used by dating couples are obviously related to the presence of third party and the mood of the addressor. It might assume that relationships of dating couples reflect intimacy and privacy. The study also demonstrated that dating couples show their love or emotion by creating various ways of word formation.
ปีที่เผยแพร่
2560 / 2017
ระดับการศึกษา
ปริญญาโท
ชื่อปริญญา
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
สาขาวิชา
ภาษาไทย
ปีการศึกษา
2559 / 2016
คำสำคัญ
th-th
คำเรียกขาน, คู่รัก, การสร้างคำ
en-us
Address terms, Dating couples, Word formation
ตีพิมพ์
Bangkok : Thammasat University
ประเภทข้อมูล
Text
ลิขสิทธิ์
Thammasat University