การศึกษาวิเคราะห์เรื่องการอุทิศส่วนบุญในประเพณีสารทเขมร (พฺจุมเบ็ญ)
Item
หัวข้อวิทยานิพนธ์
th-th
การศึกษาวิเคราะห์เรื่องการอุทิศส่วนบุญในประเพณีสารทเขมร (พฺจุมเบ็ญ)
en-us
AN ANALYTICAL STUDY OF THE DOCTRINE OF MERIT TRANSFERENCE IN THE KHMER'S PCHUM BEN CEREMONY
รายละเอียด
th-th
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา ภาควิชาปรัชญา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2558
en-us
A THESIS SUBMITTED IN PARTIAL FULFILLMENT OF THE REQUIREMENTS FOR THE DEGREE OF MASTER OF ARTS IN BUDDHIST STUDIES DEPARTMENT OF PHILOSOPHY FACULTY OF LIBERAL ARTS THAMMASAT UNIVERSITY ACADEMIC YEAR 2015
หมายเลขอ้างอิง
2558437400000003077
ชื่อผู้เขียน
th-th
นายอินทร์ เอียต
en-us
Mr. In Eath
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
ดร. เดโชพล เหมนาไลย
บทคัดย่อ
th-th
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาการอุทิศส่วนบุญ ตามหลักคำสอนพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อวิเคราะห์กำเนิดและพัฒนาการของประเพณีสารท และ 3) เพื่อวิเคราะห์พัฒนาการและการอุทิศส่วนบุญในประเพณีสารทเขมร (พฺจุมเบ็ญ) ผลจากการศึกษา พบว่า 1) การอุทิศส่วนบุญส่งเสริมให้เกิดการสร้างกุศลกรรมทางกาย วาจา และใจ เนื่องจากหลักคำสอนพุทธศาสนาเถรวาทกล่าวว่าผู้ที่จะสามารถอุทิศส่วนบุญได้นั้น ต้องกระทำบุญแก่ตนเองเสียก่อน จึงจะอุทิศส่วนบุญให้แก่บุคคลอื่นได้ ทั้งนี้ พิธีกรรมการอุทิศส่วนบุญในพุทธศาสนาไม่ได้มีการ กำหนดเวลาตายตัว เนื่องจากการทำบุญเพื่ออุทิศให้แก่ผู้อื่นนั้นเป็นเรื่องของจิตสำนึกตระหนักรู้ถึง หน้าที่ของตน ส่วนเป้าหมายของการอุทิศส่วนบุญสามารถเป็นได้ทั้ง เปรต มนุษย์ และเทวดา แตกต่าง แต่เพียงผลลัพธ์ที่ได้จากการอนุโมทนาส่วนบุญเท่านั้น 2) ประเพณีสารทมีกำเนิดจากศาสนาพราหมณ์ ที่จัดทำขึ้นเพื่อเซ่นสังเวยหรืออุทิศส่วนบุญให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ยิ่งไปกว่านั้นพิธีนี้ถือว่าเป็นกฎ ข้อบังคับของทางศาสนาฮินดู ศาสนิกฮินดูทุกคนจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดขาดไม่ได้ 3) ประเพณีสารทเขมร (พฺจุมเบ็ญ) เป็นพิธีผสมผสานกันระหว่างความเชื่อตามแบบศาสนาพราหมณ์ พุทธศาสนาและผีบรรพบุรุษ (เนี๊ยะตา) เข้าด้วยกัน ประเพณีนี้มีปรากฏชัดเจนว่าเริ่มในรัชสมัยของ สมเด็จพระสัตถาที่ 1 (พ.ศ.2119-2129) ในปัจจุบันเทศกาลมีระยะเวลาทั้งหมด 15 วัน เริ่มตั้งแต่ วัน แรม 1 ค่ำ ถึง 15 คำ เดือนสิบ (ภัทรบท) ตามปฏิทินจันทรคติ เพื่อเป็นการทำนุบำรุงพระสงฆ์ในช่วง ฤดูฝน สะสมบุญด้วยตนเอง และแบ่งปันส่วนบุญนั้นให้แก่ผู้ล่วงลับ ยิ่งไปกว่านั้นเป็นการส่งเสริมความ กตัญญูกตเวที และให้เกิดความสามัคคีในชุมชน
en-us
This thesis is of 3 objectives namely:- 1) To study the doctrine of merit transference in Theravāda Buddhism 2) To analyze the origin and development of Srāddha ceremony and 3) To analyze the development of the Khmer’s Pchum Ben ceremony. From the study, It is found that 1) Merit transference promotes all of wholesome actions: bodily, verbal and mental because, According to the Theravāda Buddhist doctrine, the one who can transfer the merit must firstly do the merit for oneself before transferring to others. Because of recognizing duty as Buddhists, It's willing to perform the ceremony of merit transference. The targets of merit transference can be ghost-being (Peta), human being and heavenly being (Devatā) but the difference of the results is distinguished by the receiver's merit rejoice (anumodanā). 2) Srāddha ceremony, which is originated from Brahmanism, is a sacrifice or offering for the departed ancestor. Moreover, it's obligation for hindus to perform Srāddha ceremony. and 3) Khmer’s Pchum Ben Ceremony, which appeared during the reign of King Chey Chetta I (2119-2129 B.E.), is an integration of Animism (belief in "Neak Ta", tutelary spirits), Brahmanism and Buddhism. At the present time, this ceremony is a 15-day festival celebrated in the Khmer month of "Potrboth" (September or October, depending on the timing of the lunar calendar). The ceremony’s purposes are to safeguard monks during the "Vassa" (Buddhist lent), make merit for oneself, and transfer merit of the departed ancestor, as well as promote gratitude of the people and community solidarity.
ปีที่เผยแพร่
2559 / 2016
ระดับการศึกษา
ปริญญาโท
ชื่อปริญญา
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
สาขาวิชา
พุทธศาสนศึกษา
ปีการศึกษา
2558 / 2015
คำสำคัญ
th-th
-
ตีพิมพ์
Bangkok : Thammasat University
ประเภทข้อมูล
Text
ลิขสิทธิ์
Thammasat University