การปกครองคณะสงฆ์ไทยปัจจุบัน : ปัญหาและแนวทางแก้ไข
Item
หัวข้อวิทยานิพนธ์
th-th
การปกครองคณะสงฆ์ไทยปัจจุบัน : ปัญหาและแนวทางแก้ไข
en-us
PROBLEMS OF THAILAND’S -SANGHA ADMINISTRATIVE AUTHORITY AND SUGGESTED SOLUTIONS
รายละเอียด
th-th
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา ภาควิชาปรัชญา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2558
en-us
A THESIS SUBMITTED IN PARTIAL FULFILLMENT OF THE REQUIREMENTS FOR THE DEGREE OF MASTER OF ARTS IN BUDDHIST STUDIES DEPARTMENT OF PHILOSOPHY FACULTY OF LIBERAL ARTS THAMMASAT UNIVERSITY ACADEMIC YEAR 2015
หมายเลขอ้างอิง
2558437800000002897
ชื่อผู้เขียน
th-th
พระณรงค์ สังขวิจิตร
en-us
Phra Narong Sangkhawichit
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
ศาสตราจารย์ ดร. วัชระ งามจิตรเจริญ
บทคัดย่อ
th-th
วิทยานิพนธ์เล่มนี้ศึกษา ป๎ญหา และสาเหตุของป๎ญหารวมถึงแนวทางแก้ไขป๎ญหาการ ปกครองคณะสงฆ์ไทยป๎จจุบัน จากการศึกษา พบว่า ป๎จจุบัน คณะสงฆ์ประสบป๎ญหาโครงสร้างการปกครอง ป๎ญหาการขาดประสิทธิภาพ ในการปกครอง ป๎ญหาหลักเกณฑ์การแต่งตั้งของพระสงฆ์ที่จะได้รับสมณศักดิ์ สาเหตุป๎ญหาการปกครองคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบัน มีสาเหตุมาจากป๎ญหาโครงสร้างการ ปกครองเพราะคณะสงฆ์ที่ถูกควบคุมโดยรัฐผ่านพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 (ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535) สาเหตุต่อมาคือการขาดประสิทธิภาพในการปกครองมาจากสาเหตุที่รวมศูนย์ อำนาจการตัดสินใจไว้ที่ผู้ปกครองสงฆ์ระดับสูงซึ่งมีอำนาจและอิทธิพลต่อการปกครองสงฆ์จำนวนมาก ซึ่งด้อยในประสิทธิภาพการทำงานเพราะชราภาพและยังด้อยความรู้ความสามารถในการปกครองสงฆ์ สืบเนื่องจากระบบกลไกคณะสงฆ์ไม่มีการพัฒนาประสิทธิภาพผู้ปกครองคณะสงฆ์ ต่อมาสาเหตุของ หลักเกณฑ์ของพระสงฆ์ที่จะได้รับสมณศักดิ์ นั้นจำเพาะเจาะจงไว้ที่ตำแหน่งทางปกครองคณะสงฆ์ และมีการกำหนดหลักเกณฑ์ผ่านจำนวนเงินเพื่อการสร้างในการแก้ไขป๎ญหาโครงสร้างการปกครอง มีแนวทางการแยกรัฐออกจากศาสนา กับปรับปรุงโครงสร้างการปกครองคณะสงฆ์ใหม่ ส่วนแนวทางการแก้ไขป๎ญหาการขาดประสิทธิภาพใน การปกครอง รวมอยู่ในแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างการปกครองคณะสงฆ์แล้ว และต่อมาคือ การ แก้ไขป๎ญหาหลักเกณฑ์ของพระสงฆ์ที่จะได้รับสมณศักดิ์ โดยแยกสมณศักดิ์ออกจากตำแหน่งการ ปกครอง การให้พุทธบริษัทมีส่วนร่วมในการวางกฎเกณฑ์ และการกำหนดหลักเกณฑ์ของพระสงฆ์ที่ จะได้รับสมณศักดิ์โดยค านึงถึงการสร้างศาสนวัตถุที่จ าเป็นต่อการใช้สอยและตามฐานะของวัดและกำหนดหลักเกณฑ์โดยการเน้นการสร้างศาสนวัตถุทเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน
en-us
Thailand ’s Sangha, or Buddhist monastic order, faces several key problems: governing structure, inferior performance of the rule, and lack of clarity in nomination criteria. Under the current revised Sangha Act (No. 2) B.E. 2535 (1992), the clergy has been managed by governmental sectors. Decision making is centralized and senior monastic authorities in the Sangha Supreme Council have an average age approaching eighty and many are older than that. And nomination criteria are restricted to the ruling positions and budget for creating religious items.Institutional reform is called for to develop effective parent ministries, while addressing inferior performance by monks due to a variety of reasons. To repair the governing structure, church may be separated from the state and the governing structure may be restructured in such a way that administrative inefficiency can also be repaired. And to solve the problem of nomination criteria, honorific ranking should be separated from ruling positions and the Thai Buddhist laypeople should take part in improving nomination criteria. Additionally, construction of religious buildings is to be done according to the necessity of usage and temples’ status and this point had better be pushed as a part of community.
ปีที่เผยแพร่
2559 / 2016
ระดับการศึกษา
ปริญญาโท
ชื่อปริญญา
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
สาขาวิชา
พุทธศาสนศึกษา
ปีการศึกษา
2558 / 2015
คำสำคัญ
th-th
การปกครองคณะสงฆ์ไทย
en-us
Thai monk governance
ตีพิมพ์
Bangkok : Thammasat University
ประเภทข้อมูล
Text
ลิขสิทธิ์
Thammasat University