“เมือง” ในกวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย
Item
หัวข้อวิทยานิพนธ์
th-th
“เมือง” ในกวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย
en-us
THE CITY IN CONTEMPORARY THAI POETRY
รายละเอียด
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทยและภาษาวัฒนธรรมตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2559
หมายเลขอ้างอิง
25595506032316AMO
ชื่อผู้เขียน
th-th
นางสาวณัฐธิดา ศิริชัยยงบุญ
en-us
MISS NUTTIDA SIRICHAIYONGBOON
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
รองศาสตราจารย์ ดร.นิตยา แก้วคัลณา
บทคัดย่อ
th-th
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพเมืองที่ปรากฏในกวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย ช่วงพ.ศ.2530 จนถึงพ.ศ.2557 โดยพิจารณาถึงความสัมพันธ์อันเกี่ยวข้องกับบริบททางสังคมที่มีการ เคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งศึกษาวิเคราะห์กลวิธีทางวรรณศิลป์กับการน าเสนอภาพเมืองใน กวีนิพนธ์ ผลการศึกษาพบว่า เมืองในกวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัยได้น าเสนอภาพเมืองที่สัมพันธ์กับ บริบททางสังคมในแต่ละช่วงเวลาแตกต่างกันไป ดังนั้นเมื่อใช้บริบททางสังคมเป็นจุดแบ่งกวีนิพนธ์ไทย จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง ดังนี้ ช่วงแรก เมืองในกวีนิพนธ์ไทยพ.ศ.2530 – พ.ศ.2539 บริบท แห่งการเปลี่ยนแปลงที่ว่าด้วยสังคมในช่วงเวลาที่ก าลังก้าวเข้าสู่ประเทศอุตสาหกรรมอย่างเต็มรูปแบบ ปรากฏภาพเมืองในสามลักษณะ ได้แก่ เมืองในฐานะผู้ร้ายของสังคมชนบท เมืองกับภาพมายาของ ความหวัง และเมืองดินแดนของผู้ลุ่มหลงตามวิถีแห่งการพัฒนา ช่วงที่สองเมืองในกวีนิพนธ์ไทยพ.ศ. 2540 – พ.ศ.2549 บริบทแห่งวิกฤตการณ์ภายในเมืองที่ว่าด้วยสังคมที่ก าลังเผชิญหน้ากับวิกฤต เศรษฐกิจที่รุนแรงปรากฏภาพเมืองในสามลักษณะ ได้แก่ เมืองพื้นที่แห่งการบริโภค เมืองกับวิถีชีวิต แบบเมือง และเมืองกับมิติคนชายขอบ ในช่วงสุดท้ายเมืองในกวีนิพนธ์ไทยพ.ศ.2550 จนถึงพ.ศ.2557 บริบทมิติทางสังคมที่หลากหลายว่าด้วยสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงลบและบวกปรากฏภาพ เมืองในสามลักษณะ ได้แก่ เมืองกับสังคมที่ถดถอย เมืองกับสังคมเทคโนโลยีและวิถีสมัยใหม่ และ เมืองกับพลวัตเชิงบวก ทั้งนี้อิทธิพลของบริบทางสังคมนับว่ามีส่วนส าคัญในการนำเสนอภาพเมืองใน กวีนิพนธ์ที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไป ทางด้านกลวิธีทางวรรณศิลป์ที่กวีใช้นำเสนอภาพเมืองในกวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัยปรากฏ 6 กลวิธีที่สำคัญ ได้แก่ การใช้ฉันทลักษณ์ การใช้คำและเครื่องหมายวรรคตอน การใช้จินตภาพสัญลักษณ์ การใช้เรื่องเล่า และการเสียดสี ซึ่งกลวิธีทางวรรณศิลป์เหล่านี้นับเป็นเครื่องมือส าคัญที่เอื้อ ให้กวีสามารถน าเสนอประเด็นเรื่องเมืองได้อย่างลึกซึ้งและหลากหลายมิติ ด้วยอาศัยพลังวรรณศิลป์ที่ สร้างขึ้นอย่างประสานกันระหว่างกลวิธีกับเนื้อหา
en-us
The objective of this thesis is to explore representative of city in contemporary Thai poetry during B.E.2530-2557 (C.E.1987-2014). The study of thesis is mainly considered in the relations which are linked to the high-active social contexts. The result shows that a contemporary Thai poetry presents the image of city in relation to its social contexts differently in periods. By using the social contexts as a key selection criteria, the contemporary Thai poetry can be divided in three main periods. The first period, the city in contemporary Thai poetry during B.E.2530-2539, is the period of becoming industrial country. The contemporary Thai poetry reflects the image of city in 3 types, City as a criminal in the rural city's view, City as an illusion of hope, City of people who infatuate in advancement. Next, the second period which is happened during B.E.2540-2549 is the period of facing the economic crisis. It shows the image of city in 3 views, City of consumerism, City and urban life and City and marginal city life. Lastly, it is the period during B.E.2550-2557 which is called the various dimension of society both positive and negative terms. Its image of city can be presented in 3 dimensions, City and the recession society, City with technological society and new way life, City and the positive change. It can be clearly seen that the influence of social contexts is an important factor that presents representative of city in Thai poetry in different and various way. Regarding strategies of the art of literature in composing and presenting representative of city in contemporary Thai poetry, it is found that poets used six strategies; prosody, word selection and punctuation marks, poetic image, symbol, narrative and satiric. These strategies are significant instruments for poets. These instruments support poets to present representative of city profoundly and differently.
ปีที่เผยแพร่
2560 / 2017
ระดับการศึกษา
ปริญญาโท
ชื่อปริญญา
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
สาขาวิชา
ภาษาไทย
ปีการศึกษา
2559 / 2016
คำสำคัญ
th-th
เมือง, วิถีชีวิตแบบเมือง, กวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย
en-us
City, Way of City Life, Contemporary Thai Poetry
ตีพิมพ์
Bangkok : Thammasat University
ประเภทข้อมูล
Text
ลิขสิทธิ์
Thammasat University