“เฉลิมไตรภพ”: การศึกษาแนวคิดและกลวิธีสร้างสรรค์
Item
หัวข้อวิทยานิพนธ์
th-th
“เฉลิมไตรภพ”: การศึกษาแนวคิดและกลวิธีสร้างสรรค์
en-us
“CHALERMTRIPHOP”: THE STUDY OF CONCEPTS AND TECHNIQUES
รายละเอียด
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทยและภาษาวัฒนธรรมตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2560
หมายเลขอ้างอิง
25605606032315BCD
ชื่อผู้เขียน
th-th
นายเปรมวัฒนา สุวรรณมาศ
en-us
MR. PRAMEWATTANA SUWANNAMAS
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวณิต จุลวงศ์
บทคัดย่อ
th-th
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ “เฉลิมไตรภพ” ฉบับลายลักษณ์สํานวน ภาคกลางของไทย ในด้านผู้แต่ง เนื้อเรื่อง พัฒนาการการแต่ง ที่มาของตํานาน แนวคิด ตลอดจนกลวิธี สร้างสรรค์ ผลการศึกษาพบว่า “เฉลิมไตรภพ” ฉบับลายลักษณ์ภาคกลางทั้งหมดปรากฏ 20 เล่ม สรุปได้ 3 สํานวน ในด้านผู้แต่งกับพัฒนาการการแต่ง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ไม่ทราบผู้แต่ง เป็นสํานวนเก่าสุดซึ่งตกทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา กลุ่มที่สันนิษฐานผู้แต่งได้ สันนิษฐานว่าพระยาราช ภักดี (ช้าง) เป็นผู้แต่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่วนกลุ่มที่ทราบผู้แต่งชัดเจนแต่งหลัง พ.ศ. 2500 อยู่ในรูป ของตําราโหราศาสตร์ ด้านเนื้อเรื่องประกอบด้วยตํานาน 7 เรื่อง คือ ตํานานการเกิดอุปราคา ตํานาน การสร้างโลกและกําเนิดมนุษย์ ตํานานนพเคราะห์ ตํานานที่มาของรูปลักษณ์ราหู ตํานานการเกิดฝน ฟูา ตํานานการเกิดอุกกาบาตและม้าสี่ตระกูล และตํานานการเซ่นสังเวยเจ้ากรุงพาลี โดยตํานานการ เกิดอุปราคา ตํานานการสร้างโลกและกําเนิดมนุษย์ ตํานานนพเคราะห์ และตํานานที่มาของรูปลักษณ์ ราหูเป็นลักษณะร่วมที่ปรากฏในทุกกลุ่มสํานวน โดยจะเล่าถึงกําเนิดโลกและความเป็นไปของโลก ด้านที่มาของตํานานพบว่าตํานานแต่ละเรื่องมีที่มาหรือได้รับอิทธิพลมาจากคัมภีร์ศาสนาพราหมณ์ คัมภีร์พุทธศาสนา และวรรณกรรมไทย ด้านแนวคิดเสนอแนวคิดเรื่องเทพเจ้า เรื่องโลก-จักรวาล และ เรื่องชีวิต ด้านกลวิธีสร้างสรรค์พบกลวิธีสําคัญ 3 ประการ คือ คือกลวิธีการนําเสนอคติพุทธ-พราหมณ์ กลวิธีการเล่าเรื่อง และกลวิธีการใช้เรื่องเล่าเชิงสัญลักษณ์: การเข้าสู่สภาวะป๎ญญาของพุทธศาสนา กล่าวได้ว่า “เฉลิมไตรภพ” รวบรวมสรรพตํานานที่ผสมผสานคติศาสนาพราหมณ์ พุทธศาสนา และ คติชาวบ้าน เผยให้เห็นวิธีคิดในการมองโลกของโบราณชน ขณะเดียวกันได้แสดงอัจฉริยลักษณ์ของผู้แต่งในการสอดร้อยตํานานต่างเรื่อง ต่างศาสนา มาปรับปรนให้สอดคล้องเข้ากับ จุดมุ่งหมายและสังคมไทย อันเนื่องมาจากมีการนับถือและสํานึกใน “ศาสนา” เป็นมโนคติร่วมกัน
en-us
Chalermtriphop (เฉลิมไตรภพ; A Celebration of the Three Worlds), a Central Thai collection of seven myths was studied. Author, story, narrative development, origin of myth, concept, and literary technique were analyzed. Results were that authors and narrative development conformed in 20 volumes which may be classified into anonymous efforts dating back as far as the Ayutthaya Kingdom (1351 to 1767); writings attributed to Phrayaratchapakdi (Chang) from the reign of King Rama V (King Chulalongkorn), from 1868 to 1910; and astrological texts attributed to a group of authors from after 500 B.E. Narratives included myths about eclipses, the creation and human origins, navagraha (nine planets) in Vedic astrology, the body of Rahu, one of the nine planets in Vedic astrology; rain; meteorites and four clans of horses; and the sacrifice of Chaokrungphali, a ghost devil living Patala loka (lowest realm in Hindu philosophy). Eclipses, the creation and human origins, navagraha (nine planets) in Vedic astrology, and the body of Rahu appear in all versions with earthly origins and evolution as basic subjects. These myths originate from Bhramist and Buddhist texts as well as Thai folklore, with concepts involving the deity, cosmos, and life. Literary techniques include the introduction of Buddhism and Bhramism, narrative tales, and achieving Buddhist wisdom through metaphor. These texts reveal the thought patterns of ancient peoples, blending alternate myths and religious beliefs to harmonize with Thai societal goals based on unified respect for, and realization of, religious belief.
ปีที่เผยแพร่
2560 / 2017
ระดับการศึกษา
ปริญญาโท
ชื่อปริญญา
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
สาขาวิชา
ภาษาไทย
ปีการศึกษา
2560 / 2017
คำสำคัญ
th-th
เฉลิมไตรภพ, วรรณกรรมภาคกลาง, ตํานาน
en-us
Chalermtriphop, Central Thai literature, Myth.
ตีพิมพ์
Bangkok : Thammasat University
ประเภทข้อมูล
Text
ลิขสิทธิ์
Thammasat University