“หญิงชั่ว” ในประวัติศาสตร์ไทย: การสร้างความเป็นหญิงโดยชนชั้นนำสยามช่วงต้นรัตนโกสินทร์ - พ.ศ. 2477

Item

หัวข้อวิทยานิพนธ์

th-th “หญิงชั่ว” ในประวัติศาสตร์ไทย: การสร้างความเป็นหญิงโดยชนชั้นนำสยามช่วงต้นรัตนโกสินทร์ - พ.ศ. 2477
en-us "HARLOTS" IN THAI HISTORY: A CONSTRUCTION OF FEMININITY BY THE SIAMESE ELITE, EARLY BANGKOK PERIOD - 1934

รายละเอียด

วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ , มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2559

หมายเลขอ้างอิง

TT0060

ชื่อผู้เขียน

th-th นางวรธิภา สัตยานุศักดิ์กุล
en-us MRS. WORATHIPA SATAYANUSAKKUL

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

ดร. ปรีดี หงษ์สต้น

บทคัดย่อ

th-th วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษากระบวนการสร้างและการนำเสนอ “หญิงชั่ว” ในประวัติศาสตร์ ไทย โดยศึกษาประวัติและภาพลักษณ์ของผู้หญิงที่ถูกตีตราและเข้าข่ายชั่วในหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ บริบททางสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละยุคสมัยเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมความชั่วและ เป็นตัวกำกับการสร้างความดีความชั่วให้แก่ผู้หญิง ผ่านการถ่ายทอดความรู้ สำนึก ค่านิยมและจารีต ทางสังคม ผลการศึกษาพบว่าภาพลักษณ์ของ “หญิงชั่ว”ในประวัติศาสตร์ไทยช่วงต้นรัตนโกสินทร์ - พ.ศ. 2477 เกิดจากมโนทัศน์และค่านิยมของผู้ชาย ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ “หญิงชั่ว”ถูกเสนอใน ภาพของผู้หญิงที่ละเมิดศีลธรรมทางพุทธศาสนา และในยุคถัดมาคือ สมัยรัชกาลที่ 4 – พ.ศ. 2477 “หญิงชั่ว”ถูกเสนอในภาพของผู้หญิงที่ละเมิดจารีตเดิมและต่อต้านอำนาจชายเป็นใหญ่ในสังคมสยาม การเขียนประวัติศาสตร์ของผู้ชายยังสะท้อนถึงค่านิยมบางประการที่ผู้ชายคาดหวังต่อผู้หญิงและความคาดหวังเหล่านี้ถูกแสดงออกมาในรูปแบบของการสร้างภาพลักษณ์ผู้หญิงที่ไม่เป็นที่พึงประสงค์ของผู้ชายในรูปแบบของหญิงชั่วที่หญิงดีไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง
en-us This thesis aims to examine the process of construction and presentation of “Harlots” in Thai history by exploring the stories and images of women who were labelled as “bad” in historical sources. It shows that the social and cultural contexts in each historical period played a role in shaping and directing good and bad behaviors for women through the dissemination of social knowledge, consciousness, value and tradition. The thesis argues that the image of “Harlots”in Thai history from the early Bangkok period to 1934 were imposed by men’s standards and values. In the early Bangkok period, “Harlots” were presented as immoral women. In the next period, the reign of King Rama IV- 1934, “Harlots” were presented as the women who acted against the old traditional ways and the women who denied men's authority. Furthermore, historical writings by men also reflected some expected values, and these expectations were shown in the form of the construction of “unacceptable” female behaviors that decent women should not follow.

ปีที่เผยแพร่

2560 / 2017

ระดับการศึกษา

ปริญญาโท

ชื่อปริญญา

ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

สาขาวิชา

ประวัติศาสตร์

ปีการศึกษา

2559 / 2016

คำสำคัญ

th-th หญิงชั่ว, การสร้างความเป็นหญิง, ชนชั้นน าสยาม
en-us Harlot, Construction of Femininity, Siamese Elite

ตีพิมพ์

Bangkok : Thammasat University

ประเภทข้อมูล

Text

สิทธิ์ในการใช้งาน

In Copyright - Educational Use Permitted

ลิขสิทธิ์

Thammasat University

Item sets

TU_2016_5606030061_6864_5144