-
-
-
"การศึกษาเรื่องการพัฒนาประเทศรัสเซียตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปี ค.ศ. 2019 - 2024 ในด้านการพัฒนาและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาถึงภาพรวมของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศรัสเซียในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนถึงการศึกษาประโยชน์จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศรัสเซียในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยงานวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษางานวิจัยเชิงคุณภาพโดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ บทความวิชาการและสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ รวมถึงการนําทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ประกอบกับข้อมูลที่ได้มาทำการค้นคว้า
ผลจากการศึกษาพบว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศรัสเซีย ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2019 -2024 มุ่งเน้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาและกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ผ่านโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและการขนส่ง ซึ่งประกอบไปด้วย 9 โครงการซึ่งมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงและขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมเพิ่มศักยภาพ และประสิทธิภาพในการขนส่ง โดยให้ครอบคลุมไปยังทั่วประเทศมากยิ่งขึ้น ซึ่งแผนดังกล่าวจะเป็นการตอกย้ำให้มั่นใจได้ว่าการพัฒนาแผนฉบับนี้จะช่วยให้ประชากรสามารถเข้าถึงสาธารณูปโภคพื้นฐาน รวมทั้งลดอุปสรรคด้านการขนส่งในประเทศ และเพิ่มระดับการเชื่อมต่อจุดศูนย์ทางเศรษฐกิจของดินแดนในประเทศรัสเซีย โดยรัฐบาลกลางมีแผนดังต่อไปนี้ ได้แก่ การพัฒนาเส้นทางหลวงยุโรป - จีนตะวันตก การขนส่งทางรถไฟ เส้นทางทะเลเหนือ ศูนย์กลางการขนส่งและ
โลจิสติกส์ การสร้างและพัฒนาถนนเชื่อมโยงระหว่างศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสนามบินและขยายเส้นทางในภูมิภาค การพัฒนารถไฟความเร็วสูง การพัฒนาเส้นทางทางน้ำภายใน และท่าเรือในประเทศรัสเซีย
ผลสรุปจากการศึกษา แผนพัฒนาฯดังกล่าวจะเพิ่มศักยภาพในด้านการกระจายตัวของการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานไม่ให้กระจุกตัวอยู่เพียงเมืองหลักทางตะวันตก และพัฒนาระดับชีวิตของประชากรให้สามารถเข้าถึงการเดินทางขนส่งสาธารณะได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามอุปสรรคที่รัสเซียนั้นได้พบเจอถือเป็นปัญหาใหญ่ที่อาจจะส่งผลต่อการดำเนินตามนโยบาย เช่น การระบาดของไวรัสโควิด 19 ส่งผลให้แผนนโยบายหยุดชะงักลง เนื่องจากการหดตัวทางเศรษฐกิจและการเลิกจ้างงานซึ่งเป็นผลจากการล๊อคดาวน์และมาตรการป้องกันโรคระบาด นอกจากนี้สงครามวัคซีนอาจจะเป็นปัญหาสำคัญของรัสเซียเนื่องจากสหภาพยุโรปและองค์การอนาโลกยังไม่รับรองวัคซีนสปุตนิกวี ซึ่งในอนาคตจะกระทบต่อการการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
อย่างไรก็ตามหากรัฐบาลสามารถที่จะดำเนินประสบความสำเร็จดังเป้าหมาย จะส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ที่ดีและดัชนีวัดประสิทธิภาพของระบบ
โลจิสติกส์ (Logistics performance index) ที่จะได้รับการพัฒนาที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น เพื่อกระตุ้นการลงทุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากร "
-
"ภาคนิพนธ์เรื่อง “วัฒนธรรมฮิปฮอปในประเทศรัสเซีย” เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาและความสำคัญของวัฒนธรรมฮิปฮอปและวัฒนธรรมฮิปฮอปในรัสเซีย นอกจากนี้ยังมีการศึกษาภาพสะท้อนสังคมจากวัฒนธรรมฮิปฮอปอีกด้วย
ผลการศึกษาพบว่า วัฒนธรรมฮิปฮอปในรัสเซียได้รับเข้ามาจากวัฒนธรรมฮิปฮฮปในประเทศสหรัฐอเมริกาจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างสมัยนายมิคาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) ต้องเผชิญเมื่อก้าวขึ้นมาดํารงเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียตโดยแนวความคิดใหม่ใช้นโยบายกลาสนอสต์เนื้อหาของนโยบายกลาสนอสต์เน้นการเปิดเสรีทางการเมืองและสังคมในระดับกว้างและลึก เน้นการใช้สิทธิและเสรีภาพทางด้านความคิดและการแสดงออกโดยรัสเซียได้รับวัฒนธรรมแบ่งออกเป็นสามคลื่นด้วยกัน อีกทั้งวัฒนธรรมฮิปฮอปในรัสเซียมีการสะท้อนสังคมในเรื่อง เสรีภาพทางความคิด การซื้อขายยาเสพติด การซื้อสิทธิ์ขายเสียง และปัญหาด้านการปิดกั้นข้อเท็จจริง"
-
"ภาคนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาการเปรียบเทียบชาวเชเชนในรัสเซียและชาวอุยกูร์จีนเกี่ยวกับนโยบายการกลืนชาติตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาถึงความเป็นมาของชาวเชเชนกับชาวอุยกูร์กับการที่ถูกประเทศมหาอำนาจอย่างประเทศรัสเซียและประเทศจีนยึดครองและกลืนชาติ อีกทั้งยังวิเคราะห์ถึงความเหมือนและความแตกต่างจากชาวเชเชนกับชาวอุยกูร์ที่นับถือศาสนาเดียวกันและเป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกกลืนกลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรม ซึ่งขอบเขตการศึกษาครั้งนี้จะมุ่งเน้นถึงนโยบายการกลืนชาติชาวเชเชนถูกชาวรัสเซียกลืนและชาวอุยกูร์ที่ถูกชาวจีนกลืน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยได้ทำการศึกษาจากหนังสือ ข่าว และข้อมูลจากสื่ออิเล็ดทรอนิกส์ ผลจากการศึกษาพบว่านโยบายการกลืนชาติที่ชาวรัสเซียนำมาใช้กับชาวเชเชนนั้นมีความเหมือนกับการกลืนชาติชาวอุยกูร์ในประเทศจีน ซึ่งผลจาการการถูกกลืนกลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมที่ทั้ง ชาวเชเชนกับชาวอุยกูร์ที่ถึงแม้จะต่างเชื้อชาติกันแต่ก็นับถือศาสนาเดียวกัน มีวัฒนธรรมคล้ายๆกัน แต่สิ่งที่แตกต่างคือสถานการณ์ในปัจจุบันทางรัฐบาลรัสเซียเริ่มมีการผ่อนปรนนโยบายการกลืนชาติชาวเชเชนมากขึ้นเนื่องจากหลังสงครามเชชเนียได้สร้างสูญเสียให้กับทั้ง 2 ฝ่าย ดังนั้นรัฐบาลรัสเซียจึงดำเนินการผ่อนปรนมาตรการการควบคุมที่ลดลงซึ่งต่างกับกับชาวอุยกูร์ในประเทศจีนที่ยังคงใช้นโยบายที่เด็ดขาดและในอนาคตอาจจะมากยิ่งขึ้น
คำสำคัญ: ชาวเชเชน, ชาวอุยกูร์, นโยบายกลืนชาติ "
-
"ภาคนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อปัจจัยการดื่มสุราและสูบบุหรี่ที่เป็น จำนวนมากของชาวรัสเซียในยุคของสหภาพโซเวียต มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งศึกษา ปัจจัยด้านใดบ้างที่ส่ง ผลกระทบต่อพฤติกรรมการเสพติดการดื่มสุราและสูบบุหรี่ที่เป็นจำนวนมากของประชากรชาวรัสเซีย ในยุคของสหภาพโซเวียต และสาเหตุของปัจจัยนั้น ๆ มีประวัติความเป็นมาอย่างไร
จากการศึกษาพบว่าในยุคสหภาพโซเวียตก่อนที่จะมีการล่มสลายนั้น มีจำนวนประชากร เสียชีวิตด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับการดื่มสุราและการสูบบุหรี่เป็นจานวนมาก มีทั้งปัจจัยภายในและ ปัจจัยภายนอก ซึ่งสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของสังคม ประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ และ เศรษฐกิจหรือนโยบายในสมัยนั้น ส่งผลให้ประชากรชาวรัสเซียในยุคของสหภาพโซเวียตนั้นดื่มสุรา และสูบบุหรี่กันเป็นจำนวนมาก"
-
"งานนิพนธ์เรื่องนี้ “ศึกษาประวัติความเป็นมาผลงานของสโมสรฟุตบอลคราสนาดาร์ในรัสเซียนพรีเมียร์ลีก (ค.ศ.2011-2020) ยูโรป้าลีกและยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก (2014-2020)” นั้นมีจุดประสงค์ที่จะศึกษาประวัติความเป็นมาและผลงานของสโมสรฟุตบอลคราสนาดาร์ โดยจะศึกษาถึงประวัติความเป็นมาตั้งแต่ก็ตั้งสโมสรขึ้นมา ผลงานในแต่ล่ะฤดูกาลนับตั้งแต่สโมสรได้เลื่อนชั้นมาเล่นในรัสเซียนพรีเมียร์ลีก ผลงานของสโมสรฟุตบอลคราสนาดาร์ในระดับทวีป เช่นสโมสรฟุตบอลคราสนาดาร์ได้โควตาไปเล่นในยูโรป้าแชมป์เปี้ยนลีกทั้งรอบเล่นคัดเล่นและเล่นแบ่งกลุ่มและสโมสรฟุตบอลคราสนาดาร์ได้โควตาไปเล่นในยูฟ่าแชมเปี้ยนลีก โดยที่ศึกษาผ่านแนวคิดการจัดการกีฬาฟุตบอล โดยเน้นประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นด้านหน้าที่การจัดการ (Functional Management Areas) เพื่อการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมกีฬา รวมทั้งประเด็นสำหรับการศึกษาวิจัยในอนาคต เช่น การพัฒนาของการเป็นผู้สนับสนุนความจำเป็นสำหรับกีฬาที่ต้องนำแนวทางกลยุทธ์ในการประชาสัมพันธ์มาใช้และการทำให้มั่นใจว่าความจำเป็นต่างๆของตลาดที่มีอยู่หลากหลายจะได้รับการตอบสนองการจัดการกำหนดการที่เหมาะสมของเกม และการแข่งขันกีฬา ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงหน้าที่การจัดการที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาที่เกิดขึ้นจุดเน้นของประเด็นที่เกิดขึ้นใหม่ในกีฬาและความท้าทายในการจัดการกับประเด็นที่เกิดขึ้นใหม่ในกีฬา โดยชี้ว่าประเด็นหน้าที่การจัดการที่สำคัญสำหรับการจัดการกีฬาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพด้านกีฬา (ประสิทธิภาพของสโมสรฟุตบอลอาชีพ) และผลดำเนินงานด้านกีฬา ได้แก่ ประเด็นด้านการจัดการองค์การ ประเด็นด้านธรรมภิบาลในกีฬา ประเด็นด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ประเด็นด้านการตลาด ประเด็นด้านการขายสินค้า การค้าปลีก และการกระจายสินค้า และประเด็นด้านการเงิน
เมืองคราสนาดาร์เป็นย่านการค้าที่ได้รับการพัฒนาอย่างมากและมีผลประกอบการประจำปีมากที่สุดใน ของเขตสหพันธ์ใต้รัสเซีย มีอัตราการว่างงานต่ำที่สุดในบรรดาเมืองทั้งหมดขอเขตสหพันธ์ใต้Federal District ยังเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของรัสเซียตอนใต้ เซอร์เก นิโคลาเยวิช กาลินสกี เขามีความสนใจที่ส่งเสริมภาพลักษณ์เมืองคราสนาดาร์ผ่านทีมสโมสรฟุตบอลจากการศึกษานั้นจะพบได้ว่าทีมสโมสรฟุตบอลคราสนาดาร์เป็นทีมมาใหม่ในรัสเซียนพรีเมียร์ลีกอีกทั้งเป็นทีมก่อตั้งในปีค.ศ.2008ยุคที่เป็นสหพันธรัฐรัสเซีย "
-
ภาคนิพนธ์ เรื่อง ลู่ทางการส่งออกกะทิไทยไปรัสเซีย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสถานการณ์การส่งออกกะทิของไทยไปยังประเทศรัสเซีย ศึกษาขั้นตอนในการส่งออกกะทิ และลู่ทางในการส่งออกกะทิของไทยไปยังประเทศรัสเซีย เพื่อศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ปัญหา และอุปสรรค รวมถึงแนวโน้มในอนาคตต่อการส่งออกกะทิของไทยไปยังประเทศรัสเซีย ภาคนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวิธีการดำเนินการศึกษา โดยศึกษาข้อมูลจากบทความวิชาการ งานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง วิทยานิพนธ์ และการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการธุรกิจกะทิ หนังสือ และแหล่งข้อมูลจากสื่อออิเล็กทอนิกส์ นอกจากนี้ยังรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการส่งออกสินค้าไทยเพื่อไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เช่น กรมธุรกิจการค้า บริษัทเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กะทิ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ถึงการส่งออกกะทิไปยังประเทศรัสเซีย การศึกษาในครั้งนี้ใช้ทฤษฎี SWOT Analysis ทฤษฎี Five Forces Model ทฤษฎี PEST ANALYSIS รวมไปถึงเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในการวิเคราะห์ ถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคของการส่งออกกะทิไทยไปรัสเซีย จากการศึกษา ภาพรวมของการส่งออกกะทิของไทยไปยังประเทศรัสเซีย พบว่าประเทศรัสเซียยังคงต้องการนำเข้าส่งออกกะทิจากประเทศไทย เพราะมีชาวไทยอาศัยอยู่ในรัสเซียและการประกอบอาหารไทยของชาวรัสเซียในประเทศรัสเซียโดยนิยมนำเมนูซุปต้มยำกุ้ง ต้มข่าไก่ หรือน้ำกะทิมาผสมเครื่องดื่มนั้นก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เกิดการศึกษาภาคนิพนธ์ฉบับนี้ขึ้น เพราะการส่งออกกะทิของไทยไปยังประเทศรัสเซียนั้นเพื่อจะตอบสนองความต้องการของชาวไทย ที่อาศัยอยู่อยู่ในรัสเซีย นอกจากนี้กะทิยังสามารถที่จะทดแทนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากนม ไม่ว่าจะเป็นครีมหรือนมได้ จึงทำให้ในประเทศรัสเซียหรือผู้ที่ต้องการจะนำกะทิไปสร้างสรรค์หรือประยุกต์ให้เข้ากับอาหารประเภทต่าง ๆประกอบกับข้อมูลที่ได้รวบรวมมาจากแหล่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการส่งออกสินค้าไปยังประเทศรัสเซีย ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคชาวรัสเซีย ศึกษาธุรกิจกะทิภายในประเทศไทยว่ามีความพร้อมในการที่จะส่งออกไปยังประเทศรัสเซียอย่างไร อีกทั้งมีการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายการส่งออกและการนำเข้าของประเทศรัสเซียและประเทศไทย ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ศึกษาภาพรวมการตลาดของกะทิในต่างประเทศ ภาพรวมตลาดกะทิไทยในรัสเซีย สถานการณ์ของอุตสาหกรรมกะทิสำเร็จรูปในปัจจุบัน การติดต่อและเจรจาธุรกิจในการส่งออกกะทิ รวมถึงโอกาสและความเสี่ยงของการส่งออกกะทิไทยไปยังประเทศรัสเซีย อย่างไรก็ตามในการส่งออกกะทิจากไทยไปยังรัสเซียยังคงมีศักยภาพ และสามารถกล่าวได้ว่าจากกระแสความนิยมที่เพิ่มขึ้น ความต้องการกะทิในรัสเซียส่งผลให้ลู่ทางการนำเข้ากะทิไทยไปยังประเทศรัสเซีย สามารถขยายตัวได้ การศึกษาในครั้งนี้ผู้ศึกษาได้จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาและอุปสรรคในครั้งนี้
-
ภาคนิพนธ์เรื่อง ลู่ทางการนำเข้าช็อกโกแลตจากประเทศรัสเซียมายังประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพรวมตลาดช็อกโกแลตในประเทศรัสเซียและประเทศไทย ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าตลาดช็อกโกแลตในประเทศรัสเซียและประเทศไทย และศึกษาลู่ทางการนำเข้าช็อกโกแลตจากประเทศรัสเซียมายังประเทศไทย โดยภาคนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการศึกษาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ คุณบุษบา คุซมิน เจ้าของธุรกิจรับปรึกษาการส่งออกและนำเข้าสินค้าจากประเทศรัสเซียมายังประเทศไทย และเพจเฟสบุ๊คสินค้าจากรัสเซีย Товары из России จากการศึกษาพบว่าภาพรวมตลาดช็อกโกแลตในประเทศไทยมีการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี ชาวไทยชื่นชอบการบริโภคช็อกโกแลตตามเทศกาลสำคัญต่างๆ หรือซื้อช็อกโกแลตเป็นของขวัญมอบให้แก่กัน โดยกลุ่มผู้บริโภคช็อกโกแลตมากที่สุด คือ วัยรุ่นและวัยทำงาน ที่มีอายุประมาณ 18-50 ปี ช็อกโกแลตที่มียอดจำหน่ายสูง ได้แก่ รูปแบบเคลือบเวเฟอร์ ช็อกโกแลตบาร์สี่เหลี่ยม และเคลือบธัญพืช ในด้านการจำหน่ายร้านค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และห้างสรรพสินค้าได้ปรับเปลี่ยนวิธีการจำหน่ายช่องทางออนไลน์มากขึ้น (Online) สำหรับสถิติในการนำเข้าช็อกโกแลตจากต่างประเทศมายังประเทศไทย มียอดนำเข้าลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 6.17 ในด้านปัญหาและอุปสรรคของการนำเข้าช็อกโกแลตจากประเทศรัสเซียพบว่า ตัวผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตเป็นอาหารพร้อมรับประทาน มีความอ่อนไหวต่ออุณหภูมิโดยรอบ ทำให้จำเป็นต้องใช้การขนส่งสินค้าทางอากาศมายังประเทศไทย มีความสะดวก แต่มีค่าใช้จ่ายสูง ส่งผลให้ต้นทุนของช็อกโกแลตรัสเซียสูงตามไปด้วย โดยการนำเข้าอาหารมายังประเทศไทยมีกฎระเบียบเกี่ยวกับความปลอดภัยของสำนักงานกรรมการอาหารและยา ส่งผลให้เกิดความยุ่งยาก ประกอบกับข้อมูลสัมภาษณ์เกี่ยวกับขั้นตอนการชำระเงินระหว่างประเทศรัสเซียและประเทศไทยยังคงไม่สะดวก เนื่องจากชาวรัสเซียไม่นิยมเปิด L/C นอกจากนี้ประเทศไทยและทั่วโลกยังประสบกับวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตในประเทศไทย อย่างไรก็ตามลู่ทางการนำเข้าช็อกโกแลตจากประเทศรัสเซียมายังประเทศไทยก็ยังมีโอกาสขยายตัวในอนาคต เนื่องจากศักยภาพในการผลิตช็อกโกแลตของประเทศรัสเซียที่มีความทันสมัย และผู้ผลิตชาวรัสเซียยังได้รับการส่งเสริมการส่งออกสินค้าจากรัฐบาลรัสเซีย รวมถึงกระแสความนิยมของชาวไทยที่มีผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตแปลกใหม่ ในปัจจุบันเริ่มมีการนำเข้าช็อกโกแลตรัสเซียมาจำหน่ายในประเทศไทย ซึ่งจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ค (Facebook) Shopee และ Lazada โดยผู้ศึกษายังได้จัดทำข้อเสนอแนะด้านลู่ทางการนำเข้าช็อกโกแลตจากประเทศรัสเซียมายังประเทศไทย เพื่อลดปัญหาและอุปสรรค และทำให้การนำเข้าช็อกโกแลตจากประเทศรัสเซียมายังประเทศไทยเป็นไปอย่างราบรื่น
-
"การศึกษาเรื่อง วิเคราะห์วรรณกรรมแปลเรื่อง “ความฝันของคนไร้สาระ” ของฟิโอดอร์ ดอสโตยเยียฟสกี ด้วยทฤษฎีการเล่าเรื่อง และทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงมิติและแนวทางในการเขียนวรรณกรรมแปลเรื่องความฝันของคนไร้สาระ โดยใช้ทฤษฎีการเล่าเรื่องเป็นกรอบในการวิจัย และเพื่อศึกษาถึงบุคลิกภาพของตัวละครเอกในวรรณกรรมแปลเรื่องความฝันของคนไร้สาระ โดยใช้ทฤษฎีจิตวิยาบุคลิกภาพซึ่งได้แก่ แนวคิดทฤษฎีของซิกมันต์ ฟรอยด์ คาร์ล กุลสตาฟ จุง และคาร์เรน ฮอร์นาย
ผลการศึกษามิติการเล่าเรื่องพบว่า 1) โครงเรื่องของวรรณกรรมเรื่องความฝันของคนไร้สาระ ประกอบไปด้วย ขั้นเริ่มเรื่อง ได้แก่ ช่วงเริ่มต้นบทที่ 1 ขั้นพัฒนาเหตุการณ์ ได้แก่ ช่วงกลางของบทที่ 1 จนถึงช่วงบทที่ 3 ขั้นภาวะวิกฤติ ได้แก่ บทที่ 4 ถึงช่วงต้นของบทที่ 5 ขั้นภาวะคลี่คลาย ได้แก่ บทที่ 5 ช่วงกลางบนจนถึงก่อนจบเรื่อง ขั้นยุติเรื่องราว ได้แก่ ย่อหน้าสุดท้ายของบทที่ 5 2) แก่นเรื่อง ดอสโตยเยียฟสกีเสนอทรรศนะที่ว่าในความเป็นจริงแล้วหลักการส่วนใหญ่ที่มนุษย์คิดขึ้นมานั้นล้มเหลว โลกทุกวันนี้จึงเต็มไปด้วยความขัดแย้ง 3) ตัวละคร มีตัวละครหลักอยู่ 1 ตัวละคร ได้แก่ชายผู้ไร้สาระ ตัวละครรองได้แก่ เด็กผู้หญิง สัตภาวะ ผู้คนในโลกปัจจุบัน และผู้คนในโลกแห่งความฝัน
4) ความขัดแย้ง ในวรรณกรรมปรากฏความขัดแย้งภายในจิตใจ ของชายผู้ไร้สาระ 5) ฉาก ในวรรณกรรมมีทั้งฉากช่วงเวลา ฉากธรรมชาติ ฉากประดิษฐ์ ฉากดำเนินชีวิต และฉากนามธรรม 6) บทสนทนา ได้แก่ ชายผู้ไร้สาระและสัตภาวะ 7) ตอนจบ ได้แก่ การจบแบบเป็นจริงในชีวิต 8) มุมมองใน
การเล่าเรื่อง ได้แก่ มุมมองบุคคลที่ 1
ส่วนการวิเคราะห์บุคลิกภาพของตัวละครหลัก โดยผ่านทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ สามารถสรุปได้ว่า ในช่วงแรก ตัวละครเอกมีบุคลิกภาพที่เพิกเฉยต่อสังคม มีความก้าวร้าว
มีความหวาดระแวง วิตกกังวลสูง และขาดความคิดรอบคอบ มีสัญชาตญาณแห่งความตาย
อันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่สะสมมาจากการถูกดูหมิ่นเหยียดหยามจากคนในสังคม ในช่วงหลัง
ตัวละครเอกมีบุคลิกภาพที่เข้าหาสังคม ต้องการผูกรักกับผู้อื่น มีความสำนึกผิดในสิ่งที่กระทำ และ
มีการให้อภัย"
-
ภาคนิพนธ์เรื่องปัจจัยที่สนับสนุนให้นักท่องเที่ยวชาวรัสเซียเดินทางกลับมาท่องเที่ยวในประเทศไทยหลังวิกฤตโควิดปี 2563 กรณีศึกษา เกาะกูด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวรัสเซียเดินทางมาท่องเที่ยวที่เกาะกูด เพื่อทราบความเห็นของนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียต่อสถานที่ท่องเที่ยวในเกาะกูดว่าเป็นไปในทิศทางใดและศึกษาปัญหาในการดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียที่เดินทางมาท่องเที่ยวที่เกาะกูด ผู้ศึกษาได้ทำการวบรวบข้อมูลจากหนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์ ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต รวมไปถึงการลงพื้นที่สำรวจแหล่งท่องเที่ยวและการสัมภาษณ์ตัวแทนผู้ประกอบการในเกาะกูด
จากการศึกษาพบว่าเกาะกูดสภาพความเป็นธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ ทำให้มีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติค่อนข้างมากและเงียบสงบ เหมาะอย่างยิ่งในการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียที่ชื่นชอบธรรมชาติและการพักผ่อน ดังนั้นผลจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติในเกาะกูดตอบสนองต่อพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียโดยตรงแต่อัตราการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียในเกาะกูดนั้นมีไม่มากหากเทียบกับเมืองท่องเที่ยวหลักอย่างเช่น พัทยา อาจเพราะมาจากไม่มีการทำการตลาดที่ดีมากเพียงพอที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียเข้ามา จึงควรมีการศึกษาถึงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวรัสเซีย
นอกจากนี้เพื่อให้เกาะกูดสามารถขยายตลาดนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียให้เป็นตลาดหลักของเกาะกูดได้นั้นควรพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในเกาะที่ยังคงขาดความพร้อมในการให้บริการ นอกจากนี้ควรมีการแก้ไขปัญหาในด้านภาษาเพื่อการสื่อสาร โดยแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวจึงต้องมุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้านภาษารัสเซีย จะทำให้การท่องเที่ยวมีประสิทธิภาพมากขึ้น
-
"ภาคนิพนธ์เรื่อง “อิทธิพลของหน่วยงานความมั่นคงที่ส่งผลต่อสังคมและการใช้ชีวิตของชาวโซเวียตในช่วงปี ค.ศ. 1920-1991” มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลและอำนาจที่หน่วยงานความมั่นคงของโซเวียตที่มีต่อประชาชนของโซเวียต รวมถึงการศึกษาประวัติศาสตร์พัฒนาการของหน่วยงานความมั่นคงของโซเวียตนับตั้งแต่การก่อตั้งหน่วยงานความมั่นคง บทบาทของหน่วยงานความมั่นคงภายในรัฐบาลโซเวียตในแต่ละยุคสมัยโดยภาคนิพนธ์ฉนับนี้จะนำทฤษฎีนัยยะทางประวัติศาสตร์ (history significance) ให้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ของอำนาจหน่วยงานความมั่นคงของโซเวียต เนื่องจากประวัติศาสตร์คือสิ่งที่ต้องถูกนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์ปัจจุบัน การเข้าใจในประวัติศาสตร์อำนาจของหน่วยงานความมั่นคงที่เป็นรากฐานสำคัญของระบอบเผด็จการในสมัยของโซเวียตจะทำให้เข้าใจในลักษณะฐานอำนาจนิยมของประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน (Vladimir Putin)
การใช้ทฤษฎีนัยยะทางประวัติศาสตร์ คือการสำรวจความสำคัญของอำนาจหน่วยงานความมั่นคงของ โซเวียตและนำมาเป็นฐานในการวิเคราะห์การเมืองของโซเวียต ว่าหน่วยงานความมั่นคงของโซเวียตเหล่านี้มีความสำคัญต่อโซเวียตอย่างไร อะไรเป็นสิ่งสำคัญในการทำให้อำนาจของหน่วยงานความมั่นคงเหล่านี้เพิ่มอำนาจขึ้นภายในการเมืองของโซเวียตและในที่สุดคือการวิเคราะห์มรดกทางสังคมและการเมืองที่หน่วยงานความมั่นคงเหล่านี้ทิ้งไว้ในรัสเซียปัจจุบัน"
-
"ภาคนิพนธ์นี้ศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมดนตรีในสมัยสหภาพโซเวียตภายใต้การปกครองของ โจเซฟ สตาลิน ในระหว่างปี ค.ศ.1924 -1953 มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งศึกษาบริบททางการเมืองการปกครองของสังคมและวัฒนธรรมภายในประเทศสหภาพโซเวียตเพื่อหาสาเหตุที่เป็นอิทธิพลต่อด้านวัฒนธรรมดนตรีในสหภาพโซเวียตที่อยู่ภายใต้การปกครองของ โจเซฟ สตาลิน
จากการปฏิวัติรัสเซียในปี ค.ศ.1917 นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง
เป็นประเทศสหภาพโซเวียตภายใต้การขึ้นสู่อำนาจและการวางรากฐานทางด้านสังคมและวัฒนธรรมของ วลาดิเมียร์ เลนิน ทำให้มีการกำหนดแนวคิดนโยบายหลักในการปกครองประเทศโดยใช้
ทฤษฎีสัจสังคมนิยม (Socialist Realism) ในการครอบคลุมทุกการสร้างสรรค์ผลงานภายในประเทศเพื่อเป็นการถ่ายทอดอุดมการณ์ของระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในประเทศใหม่สหภาพโซเวียต หลังจากนั้นประเทศได้เข้าสู่ช่วงการขึ้นปกครองภายใต้ โจเซฟ สตาลิน ที่มีการดำเนินแนวคิดนโยบายและอุดมการณ์สืบเนื่องมาจากการวางรากฐานของ วลาดิเมียร์ เลนิน โดยมีการแบ่งการศึกษาไว้ในช่วงเวลาก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างการเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง และภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากทั้งสามช่วงเวลาในการแบ่งเวลาเหล่านี้นับว่าเป็นช่วงที่เกิดความสับสนวุ่นวายทางสังคมและส่งผลต่อวัฒนธรรมดนตรี
การศึกษาถึงแนวคิดอุดมการณ์และนโยบายทางการเมืองการปกครองสังคมและวัฒนธรรมในช่วงเวลาภายใต้การปกครองของสตาลินนั้นส่งผลต่อวัฒนธรรมดนตรีที่มีความสอดคล้องกันโดยตรง เนื่องจากแนวคิดอุดมการณ์และนโยบายทางวัฒนธรรมดนตรีต้องขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของนโยบายการปกครองทางสังคมภายใต้การปกครองของสตาลิน เช่น การออกนโยบายแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับ 5 ปี ทำให้การสร้างสรรค์ผลงานดนตรีต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับ 5 ปีนี้ด้วย การดำเนินนโยบายการกวาดล้างทำให้ศิลปินนักประพันธ์ต้องได้รับผลกระทบจากสภาพสังคมโดยศิลปินจำเป็นต้องถ่ายทอดผลงานการแสดงออกมาเพื่อให้อยู่ภายใต้กรอบข้อจำกัดของพรรคคอมมิวนิสต์เท่านั้น นอกจากนั้นสตาลินยังคงดำเนินนโยบายการสกัดกั้นแนวความคิดจากโลกเสรีตะวันตกในช่วงระยะเวลาแรกของการปกครองก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่สองและช่วงระยะเวลาการทำสงครามโลกครั้งที่สองได้มีการผ่อนปรนการสกัดกั้นแนวความคิดทางด้านของผลงานวัฒนธรรมภายในประเทศเกิดขึ้นเนื่องจากรัฐบาลมีการหันไปให้ความสนใจกับการทำสงครามในขณะนั้นมากกว่า แต่ในช่วงเวลานี้วัฒนธรรมดนตรีถูกยกขึ้นมาให้ความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากรัฐบาลได้ใช้ดนตรีเป็นศิลปะในการดำเนินยุทธศาสตร์ในการทำสงครามโดยเป็นอาวุธในการปกครองของสตาลินรูปแบบหนึ่ง โดยแท้จริงแล้วตั้งแต่เริ่มสมัยการปกครองสตาลินได้ใช้ดนตรีที่นับว่าเป็นศิลปะแขนงหนึ่ง ในการดำเนินการแทรกซึมอุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์ภายใต้จิตใจของผู้คนให้มีการซึมซับถึงความเข้าใจในระบอบการปกครองสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ในระหว่างการทำสงครามดนตรีถูกใช้กระจายเสียงทั่วประเทศเพื่อเป็นแรงปลุกระดมใจของคนในชาติโดยถือว่าเป็นการข่มขู่ขวัญกำลังใจจากโลกเสรีตะวันตกด้วยเช่นกัน จากกระแสดนตรีจากโลกอิทธิพลตะวันตกหลั่งไหลเข้ามาภายในประเทศทำให้การสกัดกั้นการรับสื่อผลงานถูกผ่อนคลายลงบ้าง ประชาชนได้มีดนตรีในการช่วยบรรเทาจิตใจจากความตึงเครียดในสังคมตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา จนภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง สหภาพโซเวียตถูกให้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกและประเทศจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน ทางด้านวัฒนธรรมดนตรีถูกกลับมาให้ความสนใจอีกครั้งโดยการสกัดกั้นแนวความคิดจากโลกเสรีตะวันตก การกวาดล้างเกิดขึ้นโดยความเข้มงวดขึ้นอีกครั้ง ศิลปินและนักประพันธ์ดนตรีเป็นจำนวนมากได้รับผลกระทบโดยตรงจากอิทธิพลของนโยบายทางสังคม
นับว่าสังคมและวัฒนธรรมที่มีการปกครองภายใต้ผู้นำ โจเซฟ สตาลิน ได้มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมดนตรีโดยใช้ดนตรีในการเป็นสื่อและเครื่องมือของพรรครัฐบาลที่ถ่ายทอดแนวคิดอุดมการณ์และนโยบายของระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ให้กับมวลชนภายในประเทศรวมถึงใช้ศิลปะดนตรีในการเป็นแรงปลุกระดมใจของคนในชาติให้มีความคิดและมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในชาติเกิดขึ้น"
-
" ในการศึกษาคณะละครสัตว์รัสเซียกับกระแสสังคมโลก มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาประวัติความเป็นมาของละครสัตว์ในแต่ละพื้นที่ พร้อมทั้งศึกษากระแสสังคมในด้านการต่อต้านการทารุณกรรมสัตว์รวมทั้งด้านอื่น ๆ เพื่อนำมาใช้ศึกษาร่วมกันถึงเหตุผลที่ทำให้ละครสัตว์รัสเซียยังเป็นที่กล่าวถึงในปัจจุบัน และศึกษามุมมองของผู้คนในหลายพื้นที่ที่มีต่อละครสัตว์ รวมทั้งมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบันนั้นได้มีการแพร่หลายของกระแสการอนุรักษ์สัตว์ที่ค่อนข้างไม่สอดคล้องกับการที่ละครสัตว์รัสเซียยังมีชื่อเสียง การศึกษานี้จึงทำให้ทราบถึงปัจจัยในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อละครสัตว์รัสเซียในหลายแง่มุม
ทั้งนี้ผู้ศึกษาได้ศึกษาโดยผ่านการเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานทางวิชาการ ภาคนิพนธ์ ข้อมูลจากองค์กรของภาครัฐตลอดจนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่ได้นำมาวิเคราะห์ถึงการบังคับใช้กฎหมายสิทธิสัตว์และการสอดคล้องตามแนวคิดสวัสดิภาพสัตว์ภายในประเทศรัสเซีย เพื่อให้ทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ของสัตว์ภายใต้การดูแลของคณะละครสัตว์
จากการศึกษาพบว่าการที่ละครสัตว์รัสเซียยังคงมีบทบาทอยู่ภายในสังคมนั้นสะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อละครสัตว์ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยมีทั้งปัจจัยทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ที่สะท้อนให้เห็นถึงการเชื่อมโยงอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำรงอยู่ของวงการละครสัตว์ภายในประเทศรัสเซีย และได้ทราบถึงเหตุผลทางด้านช่องโหว่ของกฎหมายที่ส่งผลให้สัตว์ภายใต้การดูแลของคณะละครสัตว์ไม่ได้รับความเป็นอยู่ที่มีคุณภาพ"
-
"ในการประเมินความรู้ ความเข้าใจคำศัพท์และไวยากรณ์ภาษารัสเซียและปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 โครงการรัสเซียศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรู้ ความเข้าใจคำศัพท์และไวยากรณ์ภาษารัสเซียพื้นฐานของนักศึกษา โดยใช้มาตรฐานการทดสอบวัดระดับความรู้ภาษารัสเซียระดับเริ่มต้น (ТЭУ/А1) และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเรียนไวยากรณ์ภาษารัสเซียของนักศึกษาโดยอาศัยกรอบทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ เพื่อนำข้อมูลจากการศึกษามาเป็นข้อเสนอแนะแนวทางในการจัดแบบแผนการเรียนการสอนภายในโครงการรัสเซียศึกษา และให้ข้อมูลความรู้แก่นักศึกษาที่มีความสนใจด้านนี้ต่อไป
ทั้งนี้ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาโดยการทำแบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจคำศัพท์และไวยากรณ์ภาษารัสเซียของกลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวนหนึ่ง เพื่อนำมาวิเคราะห์ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว อีกทั้งทางผู้ศึกษายังทำการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเรียนวิชาไวยากรณ์ภาษารัสเซียของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ด้วย
จากการศึกษาพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จากกลุ่มตัวอย่างนั้นมีผลการทดสอบวัดระดับภาษารัสเซียยังไม่ผ่านเกณฑ์การทดสอบวัดระดับความรู้ภาษารัสเซียระดับเริ่มต้น (ТЭУ/А1) แต่ในเรื่องกปัจจัยในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเรียนวิชาไวยากรณ์ภาษารัสเซียของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 นั้นมีเกณฑ์อยู่ในระดับมากทุกด้าน"
-
"วิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ไม่ได้เป็นเพียงภัยความมั่นคงทางสาธารณสุขเท่านั้น หากแต่สั่นสะเทือนถึงโครงสร้างทางภูมิรัฐศาสตร์และการจัดระเบียบโลกใหม่ระเบียบโลกเก่านำโดยสหรัฐอเมริกาที่ยึดโยงการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศไว้ตั้งแต่หลังสงครามเย็นเผชิญกับความระส่ำระสายจากความเสื่อมถอยของของอำนาจตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา อำนาจบนเวทีการเมืองโลกเริ่มถ่ายโอนมาทางตะวันออกจากการการผงาดของจีน และการก้าวเข้ามามีบทบาทบนเวทีโลกของประเทศมหาอำนาจอื่นๆ
การเป็นผู้กำหนดระเบียบโลกหมายความถึงการเป็นผู้กุมอำนาจวิถีการดำเนินไปของโลกทั้งในโครงสร้างด้านมิติเศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การพัฒนาอย่างยั่งยืน และมิติสังคมและวัฒนธรรม ระเบียบโลกแบบเสรีนิยมของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันกัดกร่อนและคุกคามผลประโยชน์แห่งชาติของรัสเซียเป็นอย่างมาก รัสเซียตั้งคำถามถึงการผูกขาดของระบบทุนนิยมและระบบโลกแบบขั้วเดียว และพยายามผลักดันระบบโลกแบบหลายขั้วอำนาจหรือแบบพหุนิยม (Multipolar – world order) ในขณะเดียวกันกับการพยายามสร้างอำนาจต่อรองและเพิ่มบทบาทของตัวเองในการกำหนดนโยบายโลก
การแพร่ระบาดของไวรัสเข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญในการลดและขยายช่องว่างในการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ของมหาอำนาจ ด้วยทรัพยากรและศักยภาพของรัสเซียในเวลานี้ การแพร่ระบาดใหญ่และการวางตัวและบทบาทของรัสเซียในระเบียบโลกหลังจากโควิดจะเข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถนำรัสเซียเข้าไปสู่การมีบทบาทสำคัญในการกำหนดระเบียบโลกได้ ผ่านการดำเนินนโยบายระหว่างประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและขับเคลื่อนการร่วมกลุ่มสถาบันระหว่างประเทศต่าง ๆ "
-
"ภาคนิพนธ์ฉบับนี้ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ถึงกระบวนการพัฒนาและผลิตรถยนต์ออรุส ซึ่งเป็นรถยนต์แบรนด์ใหม่ของสหพันธรัฐรัสเซีย ตลอดจนการศึกษาถึงกลยุทธ์และแนวคิดการตลาดที่แบรนด์ออรุสได้ทำการดำเนินกลยุทธ์เพื่อออกวางจำหน่ายรถยนต์แบรนด์ใหม่ออกสู่ตลาดรถยนต์หรูระดับสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยการนำข้อมูลจากบทความและแหล่งข้อมูลต่างๆ ตลอดจนบทสัมภาษณ์ของผู้บริหาร เพื่อทำการวิเคราะห์ตามแนวคิดและทฤษฎี
จากการศึกษาและวิเคราะห์พบว่าแบรนด์ออรุสได้ทำการผลิตและพัฒนาภายใต้การสนับสนุนอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลของสหพันธรัฐรัสเซีย ภายใต้การดำเนินโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องการยกระดับภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศให้มีศักยภาพสูงขึ้น และลดการพึ่งพาจากต่างประเทศเนื่องจากนโยบายลดการนำเข้าภายหลังจากการโดนคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ โครงการดังกล่าวจึงเน้นโครงสร้างที่จะต้องทำการศึกษาและพัฒนาภายในประเทศทั้งหมด และยังใช้บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ภายในประเทศเพื่อป้อนอะไหล่เข้าสู่บริษัทแม่ แบรนด์ออรุสได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ยานยนต์และเครื่องยนต์ (NAMI) เป็นสถาบันหลักในการวิจัยและพัฒนารถยนต์ของแบรนด์ ในส่วนของกลยุทธ์แบรนด์ออรุสทำการดำเนินกลยุทธ์ผ่านการเป็นรถยนต์ของประธานาธิบดี การเข้าร่วมทีมแข่งรถประจำชาติรัสเซีย และเป็นแบรนด์ผู้ผลิตเฮลิคอปเตอร์โดยสาร จึงเป็นการสร้างความภักดีให้กับแบรนด์ภายในระยะเวลาอันสั้น เป้าหมายที่สำคัญสำหรับตลาดต่างประเทศของแบรนด์ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากคือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และจีน แบรนด์ออรุสจึงเป็นแบรนด์รถยนต์หรูแบรนด์ใหม่ที่มีทิศทางในการเติบโตสูงในอนาคต เนื่องจากมีรถยนต์อีกหลายรุ่นที่ยังอยู่ในระหว่างการวิจัยและพัฒนา "
-
การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการใช้ภาษารัสเซียที่สะท้อนถึงแนวคิดของคารามซิน (КАРАМЗИН) กับชิชคอฟ (ШИШКОВ) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดที่ส่งผลต่อการใช้ ภาษารัสเซียของคารามซินและชิชคอฟ โดยเปรียบเทียบการใช้ภาษารัสเซียเพื่อสื่อถึงแนวคิดระหว่างคารามซินและชิชคอฟผ่านบทกวี ซึ่งคารามซินได้รับอิทธิพลจากแนวคิดเสรีนิยม แนวคิดตะวันตก เซ็นติเม็นทัลลิซึม และการปฏิรูปภาษารัสเซีย ส่วนชิชคอฟได้รับอิทธิพบจากแนวคิดความยึดมั่นใน ความรักชาติ และภาษาสลาโวนิกคริสตจักร
-
"ภาพยนตร์เป็นสื่อมวลชนชนิดหนึ่งที่บุคคลทุกเพศ ทุกวัยสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย ดังนั้นภาพยนตร์จึงเป็นสื่อที่มีอิทธิพลและมีความสำคัญมากต่อสังคมในปัจจุบัน ไม่ว่าจะทั้งทางตรงหรือทางอ้อม โดยบทบาทของสื่อภาพยนตร์ไม่ได้เพียงแต่นำเสนอเพื่อความบันเทิง ยังสามารถสะท้อนสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความจริงหรือแฝงนัยยะโดยสามารถโน้มน้าวหรือกล่อมเกลาผู้รับสารได้โดยไม่ทันรู้ตัว
ภาคนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างภาพยนตร์ชุดสัญชาติรัสเซียเรื่อง “Ekaterina” และสัญชาติอเมริกัน “The Great 2020” ถึงภาพสะท้อนของรัสเซียและแคทเธอรีน มหาราชินีผ่านทัศนคติและมุมมองที่แตกต่างของผู้สร้างสองสัญชาตินำเสนอ โดยศึกษาวิเคราะห์จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมรัสเซียรวมทั้งแนวคิดภาพยนตร์และทฤษฎีเกี่ยวกับสตรี
จากการศึกษาศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบพบว่าทัศนคติ มุมมองและวัตถุประสงค์ ที่แตกต่างกันของผู้สร้างสองสัญชาติส่งผลให้ภาพยนตร์ชุดทั้งสองเรื่อง ได้สะท้อนภาพแคทเธอรีน ออกมาคล้ายคลึงกัน แต่สะท้อนสภาพสังคมและวัฒนธรรมรัสเซียมาไม่เหมือนและไม่ถูกต้องตรงตามประวัติศาสตร์ โดยภาพยนตร์ชุดสัญชาติรัสเซีย “Ekaterina” เน้นนำเสนอเนื้อหาประวัติศาสตร์และการเมือง ในขณะที่ภาพยนตร์ชุดสัญชาติอเมริกัน “The Great 2020” เน้นนำเสนอเพื่อความบันเทิง โดยมีการบิดเบือนข้อมูลทางประวัติศาสตร์รัสเซีย อีกทั้งยังนำเสนอภาพลักษณ์ให้คนภายนอกมองคนรัสเซียในแง่ลบ เพราะมีฉากที่แสดงถึงความโหดร้ายปรากฏบนภาพยนตร์ชุดหลายเหตุการณ์ ซึ่งอาจส่งผลทำให้ให้ผู้รับชมที่ไม่ทราบประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมรัสเซียมาก่อนได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและเกิดความเข้าใจผิดหรือมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อรัสเซียได้ "
-
"ภาคนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศญี่ปุ่น-รัสเซียในภูมิภาคตะวันออกไกลเกาะซาคาลินและหมู่เกาะคูริลเป็นการศึกษาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ พลังงาน การเกษตร การประมง ในพื้นที่ตะวันออกไกล เกาะซาคาลิน และหมู่เกาะคูริล
ประวัติศาสตร์รัสเซียกับญี่ปุ่น ที่เริ่มต้นในสมัยพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 จนถึงปัจจุบันมีเรื่องที่ข้อพิพาทดินแดนทางเหนือ คือ ความขัดแย้งระหว่างญี่ปุ่นกับรัสเซียในส่วนของดินแดนที่ประกอบด้วยเกาะจำนวน 4 เกาะ ได้แก่ เกาะคุนาชิริ เกาะเอโตโระฟุ เกาะชิโกะตัน และเกาะฮาโบมาอิ ดินแดนดังกล่าวตั้งอยู่บริเวณด้านตะวันออกของเกาะฮอกไกโดของญี่ปุ่น และด้านใต้สุดของหมู่เกาะคูริลทอดตัวลงมาจากคาบสมุทรคัมชัตกา ดินแดนหมู่เกาะคูริลนั้นเป็นตัวขั้นระหว่างทะเลโอคอตสค์กับมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งไม่สามารถตกลงหาจุดลงตัวกันได้ เพื่อไม่ให้ทั้งสองฝ่ายเสียผลประโยชน์ของตนเอง ประเทศรัสเซียได้ดำเนินนโยบาย หันหน้าหาตะวันออกโดยมุ่งเน้นมาเจริญสัมพันธ์ไมตรีและทำการค้ากับประเทศในเอเชียรวมไปถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเป็นพลวัต และพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ในภูมิภาคตะวันออกไกลอีกด้วย "
-
"ภาคนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและสหรัฐอเมริกาในเขตน่านฟ้าภายใต้สนธิสัญญาเปิดน่านฟ้า โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่จุดเริ่มต้นของสนธิสัญญาเปิดน่านฟ้า วัตถุประสงค์ของสนธิสัญญาเปิดน่านฟ้าผลจากการอยู่ในสนธิสัญญาเปิดน่านฟ้าและการดำเนินการในส่วนที่สัญญาต่อเหตุการณ์ผิดปกติในเขตน่านฟ้าระหว่างรัสเซียและสหรัฐอเมริกา ศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดการถอนตัวออกจากสนธิสัญญาของสหรัฐอเมริกา รวมถึงศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดการถอนตัวออกจากสนธิสัญญาของรัสเซียผ่านเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในเขตน่านฟ้า
ผลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์คือ ความสัมพันธ์ของสหรัฐอเมริกาในเขตน่านฟ้าใช้สนธิสัญญาเปิดน่านฟ้าเป็นห่วงในการเชื่อมความสัมพันธ์ระดับความมั่นคงทางการทหาร เมื่อประเทศใดประเทศหนึ่งถอนตัวออกจากสนธิสัญญาจะทำให้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการทหารแก่ประเทศที่เหลือในสนธิสัญญา จึงทำให้ประเทศที่อยู่ในสนธิสัญญาเริ่มออกจากสนธิสัญญาเพื่อป้องกันข้อมูลความมั่นคง จากการศึกษาพบว่าหากสหรัฐอเมริกาอยู่ภายใต้สนธิสัญญาเปิดน่านฟ้าต่อไปจะไม่เป็นประโยชน์แก่ความมั่นคงทางการทหารเนื่องจากการกระทำของรัสเซียโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเหตุการณ์เที่ยวบินผิดปกติ เหตุการณ์อุปกรณ์สอดแนม และข้อถกเถียงเรื่องการสำรวจดินแดน
นอกจากนี้การที่สหรัฐอเมริกาออกจากสนธิสัญญาเปิดน่านฟ้าสำเร็จได้ส่งผลกระทบแก่ความมั่นคงทางการทหารด้านข้อมูลแก่ประเทศรัสเซีย จึงทำให้ประเทศรัสเซียดำเนินการขอถอนตัวออกจากสนธิสัญญาเปิดน่านฟ้า"
-
" ภาคนิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา “การดําเนินนโยบายต่างประเทศของสหพันธรัฐรัสเซียต่อภูมิภาคคอเคซัสใต้สมัยประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน” เป็นการศึกษาถึงความเป็นมาและ ความสําคัญของภูมิภาคคอเคซัสใต้ที่ส่งผลต่อการดําเนินนโยบายต่างประเทศของรัสเซียผ่านมุมมอง ผู้นำประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ตั้งแต่ช่วงปีค.ศ. 2000 - 2021 ซึ่งแต่ละช่วงเวลารัสเซียใช้นโยบายต่างประเทศในแต่ละรัฐที่ต่างกันโดยขึ้นอยู่กับมุมมองของตัวผู้นำเป็นหลัก
ผลการศึกษาพบว่าการดําเนินนโยบายต่างประเทศของรัสเซียในแต่ละภูมิภาคมีความสําคัญ และมีระดับการใช้นโยบายที่ต่างกันอันประกอบด้วยปัจจัยภัยในและปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการดําเนินนโยบายต่างประเทศของรัสเซีย โดยปัจจัยภายในที่ส่งผลกระทบต่อการดําเนินนโยบาย ต่างประเทศในภูมิภาคคอเคซัสใต้คือ 1.การพยายามรักษาอิทธิพลของรัสเซียในเขตอดีตสหภาพโซ เวียต 2.ความมั่นคงด้านอธิปไตยและ 3.ความมั่นคงทางด้านพลังงานอันเป็นผลประโยชน์แห่งชาติของรัสเซีย ส่วนปัจจัยภายนอกที่ส่งปลต่อการดําเนินนโยบายต่างประเทศของรัสเซียคือ 1.ความขัดแย้งที่แช่แข็งและก่อตัวขยายใหญ่ขึ้นและรุนแรงมากขึ้นและ 2.การแทรกแซงของมหาอํานาจอื่นอัน ได้แก่ นาโต สหภาพยุโรป จีน ตุรกี และอิหร่าน ที่อาจทําให้รัสเซียเสียผลประโยชน์แห่งชาติ
ซึ่งในปัจจุบันรัสเซียพยายามส่งเสริมบทบาททางเศรษฐกิจในภูมิภาคคอเคซัสใต้ผ่านความ มั่นคงด้านพลังงานและความร่วมมือทางทหารเป็นหลักผ่านนองค์กรความร่วมมือต่างๆ เพื่อที่จะส่งเสริม บทบาทตนเองในฐานะศูนย์กลางอิทธิพลของโลก"
-
"บทคัดย่อ
ภาคนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาเรื่องการรักษาอิทธิพลของสหพันธรัฐรัสเซียกับการแผ่ขยายอิทธิพลของสาธารณรัฐประชาชนจีนในภูมิภาคเอเชียกลาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้สหพันธรัฐรัสเซียและสาธารณรัฐประชาชนจีนแผ่ขยายอิทธิพลเข้าไปในภูมิภาคเอเชียกลางและศึกษาการรักษาและแผ่ขยายอิทธิพลของสหพันธรัฐรัสเซียและสาธารณรัฐประชาชนจีนในภูมิภาคเอเชียกลาง โดยวิเคราะห์ผ่านแนวคิดแนวคิดผลประโยชน์แห่งชาติ (National Interest) และทฤษฎีทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics Theory)
จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้สหพันธรัฐรัสเซียแผ่ขยายอิทธิพลเข้าไปในภูมิภาคเอเชียกลาง คือ การต้องการรักษาอำนาจและอิทธิพลของตนเองไว้ในพื้นที่อิทธิพลเดิมของสหภาพโซเวียตให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะพื้นที่ภูมิภาคเอเชียกลาง เนื่องจากเป็นพื้นที่เดียวที่สหพันธรัฐรัสเซียจะสามารถแสดงอิทธิพลได้ รวมถึงไม่ต้องการให้มหาอำนาจอื่น ๆ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาคนี้ สำหรับปัจจัยที่ทำให้สาธารณรัฐประชาชนจีนเข้ามาแผ่ขยายอิทธิพลในภูมิภาคเอเชียกลาง คือ ต้องการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างกันตั้งแต่สมัยเส้นทางสายไหมโบราณ โดยใช้การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานผ่านโครงการ Belt and Road Initiative เพื่อใช้ภูมิภาคเอเชียกลางเป็นจุดเชื่อมโยงสาธารณรัฐประชาชนจีนกับโลก เนื่องจากภูมิภาคเอเชียกลางอยู่ในพื้นที่ใจกลางโลก เป็นชุดเชื่อมต่อระหว่างทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย
จากการศึกษาพบว่าการรักษาอิทธิพลของสหพันธรัฐรัสเซียในภูมิภาคเอเชียกลางเป็นการแสดงอิทธิพลของตนในรูปแบบมหาอำนาจในภูมิภาค โดยใช้องค์การระหว่างประเทศเป็นเครื่องมือ คือ เครือรัฐเอกราช (CIS) สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย (EAEU) องค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน รวมถึงการพึ่งความเป็นประเทศเจ้าอิทธิพลเดิมของตนตั้งแต่สมัยสหภาพโซเวียต สำหรับการแผ่ขยายอิทธิพลของสาธารณรัฐประชาชนจีนในภูมิภาคเอเชียกลาง เป็นไปในรูปแบบของการใช้อำนาจทางเศรษฐกิจเข้าครอบงำ โดยการลงทุนหรือให้เงินทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาเส้นทางคมนาคม และนำเข้าทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน เป็นต้น "
-
"ภาคนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งหมายศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบวัฒนธรรมของรัสเซียและอิหร่านที่สะท้อนผ่านเทศกาลมาสเลนนิตซ่า (Maslenitsa) และเทศกาลโนรูส (Nowruz) โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่ประวัติความเป็นมาของเทศกาลมาสเลนนิตซ่าในประเทศรัสเซีย และประวัติความเป็นมาของเทศกาลโนรูสในประเทศอิหร่าน เพื่อนำข้อมูลทั้งสองมาเปรียบเทียบวัฒนธรรมของชาวรัสเซียและชาวอิหร่าน ในบริบทด้านต่าง ๆ ดังนี้ ด้านประวัติความเป็นมา ด้านศาสนาและความเชื่อ ด้านสถานที่และระยะเวลา ด้านพิธีกรรมการปฎิบัติและการละเล่นในเทศกาล และด้านสัญลักษณ์ของเทศกาล วิธีการศึกษาทำได้โดยศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวกับเทศกาลมาสเลนนิตซ่าและเทศกาลโนรูส จากหนังสือเป็นหลักและจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นลำดับรอง ข้อมูลโดยส่วนใหญ่มาจาก ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษารัสเซีย
ผลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบวัฒนธรรมของรัสเซียและอิหร่านที่สะท้อนผ่านเทศกาลมาสเลนนิตซ่าและเทศกาลโนรูส จึงพบว่าทั้งสองวัฒนธรรมมีสิ่งที่เหมือนกันในด้านจุดประสงค์ของเทศกาลที่ต้องการอำลาฤดูหนาวและต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ ด้านความเชื่อที่มีการนับถือเทพเจ้าที่มอบความอบอุ่นให้ สถานที่ในการจัดพิธีกรรมและการละเล่น โดยการจัดพิธีกรรมและการละเล่นมีขึ้นทั้งในและนอกตัวบ้านแหมือนกัน ด้านพิธีกรรมและการละเล่นมีการสอนที่เหมือนกันคือ สอนให้คนในประเทศรักครอบครัว มีความสามัคคี และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การใช้สัญลักษณ์มีที่มาจากอาชีพความเป็นอยู่ในอดีตและความเชื่อของแต่ละศาสนาที่นับถือและสิ่งที่เหมือนกันของทั้งสองเทศกาลคือการหล่อหลอมให้คนในชาติมีความรู้สึกนึกคิดที่ดีและให้เทศกาลเป็นตัวส่งผ่านความเชื่อและคำสอนของคนรุ่นที่แล้ว
ส่วนสิ่งที่แตกต่างกันของทั้งสองเทศกาลคือ บทบาทของศาสนาโดยเทศกาลโนรูสมีการผสมผสานระหว่างลัทธิพากันนิสซึมและศาสนาคริสต์ แต่เทศกาลโนรูสมีที่มาจากศาสนาโซโรอัสเตอร์ และระยะเวลาในการจัดเทศกาลโดยเทศกาลมาสเลนนิตซ่าจัดเพียงหนึ่งสัปดาห์และเทศกาลโนรูสจัดขึ้นสองสัปดาห์"
-
"ภาคนิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอบทแปลภาษารัสเซียเป็นภาษาไทยจากละครชุดเรื่อง To the Lake ลี้ภัยเมืองทมิฬ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การแปลภาษารัสเซียเป็นภาษาไทยจากละครชุดเรื่องนี้ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาว่าผู้แปลมีการใช้เทคนิคใดบ้างในการแปลบทละคร
ผลการศึกษาพบว่า เทคนิคการแปลที่ผู้แปลเลือกใช้มีทั้งหมด 21 เทคนิค ได้แก่ 1) การแปลตรงตัว 2) การแปลเพิ่มเติม 3) การละไว้ไม่แปล 4) การแปลเป็นความหมายรอง 5) ความหมายแคบเป็นความหมายกว้าง 6) ความหมายกว้างเป็นความหมายแคบ 7) ความหมายแฝงเป็นความหมายโจ่งแจ้ง 8) ความหมายคล้ายคลึง 9) แปลเป็นความหมายตรงข้าม 10) กรรมวาจกเป็นกรรมวาจก 11) การหาคำมาเทียบเคียง 12) แปลโดยใช้สิ่งทดแทนทางวัฒนธรรม 13) แปลเป็นความหมายควบ 14) คำยืม ประกอบไปด้วย คำยืมชื่อเฉพาะ คำยืมพร้อมลักษณะนาม และคำยืมพร้อมคำแสดงหน้าที่ 15) แปลจากสำนวนเป็นสำนวน 16) แปลภาษาธรรมดาเป็นสำนวน 17) แปลจากสำนวนเป็นภาษาธรรมดา 18) แปลให้เห็นภาพ 19) แปลอักษรย่อ 20) แปลสรรพนาม 21) แปลข้อความเชิงเปรียบเทียบ จากการวิเคราะห์ผลการแปลพบการแปลผิดเล็กน้อย ผู้วิจัยได้อภิปรายผลการวิเคราะห์เทคนิคการแปลและได้เสนอแนะการนำผลวิจัยไปใช้ตลอดจนหัวข้อวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ควรนำมาวิเคราะห์ต่อไป
คำสำคัญ: การแปล, การวิเคราะห์, เทคนิคการแปล"