-
"คาเฟ่ (Café) เป็นธุรกิจร้านกาแฟที่จำหน่ายอาหารประเภทอื่นควบคู่ไปด้วย นับว่าเป็นอีกหนึ่งตลาดที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างรวดเร็วในประเทศไทย จากกระแสความนิยมของคาเฟ่ ทำให้การไปคาเฟ่กลายเป็นค่านิยมใหม่ที่เรียกว่าคาเฟ่ฮอปปิ้ง (Café Hopping) คือ กิจกรรมการไปเที่ยว คาเฟ่เป็นประจำ ทุกวันนี้ คาเฟ่ในกรุงเทพมหานครนั้นมีคาเฟ่รัสเซียจำนวนน้อย การที่มีร้านคาเฟ่สไตล์รัสเซียเปิดให้บริการในกรุงเทพมหานครแล้วเกิดเป็นกระแสนิยมในกลุ่มชาวไทยและชาวรัสเซียอย่างเช่นร้าน Belka - Homemade Bakery & Tea นับว่าเป็นปรากฏการณ์ที่มีความน่าสนใจ
ภาคนิพนธ์เรื่อง การศึกษาการดำเนินธุรกิจคาเฟ่สไตล์รัสเซีย ร้าน Belka - Homemade Bakery & Tea มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด (Concept) ของร้าน Belka - Homemade Bakery & Tea ศึกษาการดำเนินธุรกิจร้านคาเฟ่สไตล์รัสเซีย ร้าน Belka -Homemade Bakery & Tea รวมถึงวิเคราะห์ภาพรวมของการดำเนินธุรกิจคาเฟ่สไตล์รัสเซีย
ร้าน Belka - Homemade Bakery & Tea ด้วยการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) การวิเคราะห์สภาวะการแข่งขัน (Porter’s Five Forces Model) และปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจคาเฟ่ (Key success factors) โดยผู้ศึกษากำหนดรูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ใช้วิธีการวิจัยในเชิงเอกสาร (Document Research) และวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview form) ด้วยการสอบถามผู้ประกอบการร้าน Belka - Homemade Bakery & Tea
ผลการศึกษาพบว่าร้าน Belka - Homemade Bakery & Tea เป็นการจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบหุ้นส่วน โดยเป็นธุรกิจร้านอาหารรูปแบบคาเฟ่สไตล์รัสเซียที่จำหน่ายอาหารรัสเซียประเภท เบเกอรี่ อาหารคาวและเครื่องดื่มที่มีความหลากหลายในรูปแบบโฮมเมด (Homemade) การตกแต่งร้านสไตล์รัสเซียทำให้บรรยากาศของร้านมีกลิ่นอายความเป็นรัสเซีย ซึ่งเป็นความโดดเด่นที่แตกต่างจากร้านคาเฟ่อื่น ร้าน Belka - Homemade Bakery & Tea ตั้งอยู่บนถนนศรีเวียง เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร แนวคิดของคาเฟ่ Belka - Homemade Bakery & Tea คือ การนำเสนอความเป็นรัสเซียให้แก่ชาวไทยในมุมที่น่าสนใจและสามารถเข้าถึงได้ง่าย
"
-
งานวิจัยเรื่อง “การจำลองรูปแบบการเดินทางเพื่อเข้าถึงบริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงของ ประชาชนในพื้นที่อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเภทและเส้นทางของขนส่งสาธารณะที่ให้บริการในพื้นที่อำเภอบางใหญ่ แสดงการจำลองรูปแบบการเดินทางเพื่อเข้าถึงบริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงของประชาชนในพื้นที่อำเภอบางใหญ่ และสร้างแผนที่แสดงศักยภาพในเรื่องของเวลาที่ใช้ในการเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะเพื่อเข้าถึงบริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงในช่วงเวลาเร่งด่วนของพื้นที่อำเภอบางใหญ่
งานวิจัยดังกล่าวเป็นงานที่มีการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศศาสตร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลขนส่งสาธารณะที่ได้จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลเส้นทางให้บริการ ค่าโดยสาร และเวลาที่ใช้ในการเดินทาง ซึ่งข้อมูลขนส่งสาธารณะที่ได้จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลนั้นได้มีการนำมาทำแผนที่แยกประเภทของขนส่งสาธารณะ ประกอบด้วยแผนที่แสดงจุดให้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้างในพื้นที่อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรีแผนที่แสดงเส้นทางรถสองแถวในพื้นที่อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรีและแผนที่แสดงเส้นทางรถเมล์ในพื้นที่อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี จากนั้นได้มีการนำข้อมูลขนส่งสาธารณะมาวิเคราะห์เพื่อสร้างแบบจำลองรูปแบบการเดินทางเพื่อเข้าถึงบริการรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยได้มีการแสดงแบบจำลองรูปแบบการเดินทางทั้งหมดจากแต่ละจุดเริ่มต้นตัวอย่าง 5 จุดที่สามารถเดินเท้าเข้าถึงขนส่งสาธารณะที่อยู่ใกล้ที่สุดได้ภายใน 5 นาทีและสรุปเป็นรูปแบบการเดินทางที่ใช้เวลาน้อยที่สุด ทั้งนี้ผู้วิจัยได้มีการแสดงแบบจำลองรูปแบบการเดินทางแยกเป็น 2 ช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงกลางวัน (10.00 น. – 15.00 น.) ซึ่งมีการจราจรเบาบาง และช่วงเช้ากับเย็น (6.00 น. – 10.00 น. , 15.00 น. – 20.00 น.) ซึ่งมีการจราจรติดขัดจากผลการวิจัยทำให้ทราบว่ารูปแบบการเดินทางเพื่อเข้าถึงบริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่ใช้เวลาเดินทางน้อยที่สุดของแต่ละจุดนั้นมักจะมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางค่อนข้างสูง เนื่องจากรูปแบบการเดินทางที่ใช้เวลาเดินทางน้อยที่สุดนี้จะมีการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์รับจ้างที่มีค่าใช้จ่ายสูงมาเกี่ยวข้องในขั้นตอนการเดินทาง แต่สำหรับรูปแบบการเดินทางที่มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่านั้นถึงแม้จะใช้เวลาในการเดินทางมากกว่าเพียงเล็กน้อยแต่ก็อาจจะสร้างความไม่สะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้บริการเนื่องจากจะต้องมีการต่อรถหลายต่อ อีกทั้งในการศึกษาศักยภาพในด้านเวลาของพื้นที่ซึ่งมีการแสดงแผนที่เป็นพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงรถไฟฟ้าสายสีม่วงได้ภายในระยะเวลา 5, 10, 15, 20, 25, 30, 35, 40, 45 นาทีและพื้นที่ที่ไม่มีศักยภาพหรือเข้าถึงบริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงได้ลำบาก พบว่าพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงรถไฟฟ้าสายสีม่วงได้ภายในระยะเวลา 5 นาทีนั้นจะเป็นพื้นที่ที่อยู่รอบๆ สถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วงเท่านั้น ส่วนพื้นที่ที่เข้าถึงบริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงได้ลำบากนั้นจะเป็นพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอ
-
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงภูมิศาสตร์เทคนิคจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการจำแนกเชิงจุดภาพและวิธีการจำแนกเชิงวัตถุและเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพ
ของอัลกอริทึมระบบการเรียนรู้เครื่องในการจำแนกพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจจังหวัดนครนายก จากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมSentinel-2 แบบอนุกรมเวลา จากการพิจารณาค่าความถูกต้องโดยรวม (Overall accuracy) ค่าสถิติแคปปา า (Kappa statistics) ค่าสถิติทดสอบซี (Z-test statistics) ค่าความแม่นยำผู้ผลิต (Producer’s accuracy) และค่าความแม่นยำผู้ใช้ (User’s accuracy) ที่ได้จากกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของการจำแนกข้อมูล (Accuracy assessment) โดยใช้ซอฟต์แวร์รหัสเปิด Google Earth Engine ในการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลเป็นหลัก ผลการศึกษา พบว่าข้อมูลอนุกรมเวลาที่คอมโพสิทข้อมูลด้วยวิธี Median composite ผ่านการจำแนกเชิงวัตถุร่วมกับอัลกอริทึมป่าสุ่มมีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือมากที่สุด ให้ค่าความถูกต้องโดยรวมร้อยละ 95.58 และค่าสถิติแคปปา 0.94
-
ภาคนิพนธ์เล่มนี้ ผู้วิจัยต้องการศึกษาบริบทเชิงพื้นที่ของชุมชนปากน้ำเวฬุ รวมไปถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีพของชุมชน จากการกลายมาเป็นเจ้าของโฮมสเตย์ของ ชาวบ้านในชุมชนบ้านปากน้ำเวฬุ โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ทั้งนี้ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า ชุมชนบ้านปากน้ำเวฬุหรือ “หมู่บ้านไร้แผ่นดิน” มีบริบทเชิงพื้นที่ของ ตั้งอยู่ในตำบลบางชัน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ซึ่งนับเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ โดยลักษณะทางกายภาพของพื้นที่จะ ประกอบไปด้วย ป่าชายเลน แม่น้ำ และทะเล ในอดีตหมู่บ้านแห่งนี้มีชาวจีนอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นเวลากว่า 150 ปี ทำให้ชุมชนมีเอกลักษณ์ทางด้านความเชื่อความศรัทธา ภูมิปัญญาและประเพณี อันเกิดจากการผสมผสานของวัฒนธรรมทั้งทางฝั่งจีนและฝั่งไทย ด้วยพื้นที่ที่พรั่งพร้อมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและรากเหง้าวัฒนธรรมประเพณีที่คงเสน่ห์มาอย่างยาวนาน ส่งผลให้วิถีชีวิตและการประกอบอาชีพของชาวบ้านในชุมชนสอดคล้องกับลักษณะทางกายภาพในบริเวณปากแม่น้ำเวฬุมาทุกยุคทุกสมัย ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกที่เป็นยุคของการทำสัมปทานป่าไม้ หมู่บ้านแห่งนี้มีบทบาทเป็นโรงพักไม้โกงกางก่อนถูกส่งไปขายที่บางกอกจึงถูกขนานนามว่า “บ้านโรงไม้” ถัดมาเป็นยุคที่ชาวบ้านหาเลี้ยงชีพโดยการประยุกต์มรดกทางวัฒนธรรมอย่างประมงพื้นบ้าน และภูมิปัญญาการแปรรูปอาหารทะเลที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษมาใช้ในการประกอบอาชีพ หมู่บ้านแห่งนี้จึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “บ้านปากน้ำเวฬุ” เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทเชิงพื้นที่ที่ใช้ทำการ
“ทำมาหากิน” และเมื่อก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการท าโฮมสเตย์ในปัจจุบัน หมู่บ้านแห่งนี้เป็นที่รู้จักของผู้คนต่างถิ่นในชื่อ “หมู่บ้านไร้แผ่นดิน” เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ดึงดูดความสนใจให้คนภายนอกมาท่องเที่ยวและสัมผัสบรรยากาศของหมู่บ้านที่ห้อมล้อมไปด้วยน้ำอย่างบ้านไร้แผ่นดิน
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีพของชุมชนพบว่าในอดีตวิถีการดำรงชีพจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป และมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่มาเป็นทุนในการประกอบอาชีพ แต่เมื่อเกิดการเข้ามาของโฮมสเตย์พบว่า วิถีชีวิตชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาเพียง 5 ปีเท่านั้น ชุมชนเกิดปรากฏการณ์การกลลับเข้ามาของวัยแรงงาน องค์ความรู้และทักษะใหม่ของชาวบ้านในชุมชน การประกอบอาชีพที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว การหายไปของเวลา สภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงการเข้าถึงแหล่งรายได้ รวมไปถึงการแบกรับภาระหนี้และภาษีก้อนใหญ่ การได้รับความสะดวกสบายจากสาธารณูปโภคที่เพิ่มขึ้น ภูมิทัศน์บ้านเรือนที่เปลี่ยนแปลง การขยายตัวของชุมชน การเปลี่ยนแปลงจำนวนทรัพยากรที่สวนทางกันกับการเพิ่มขึ้นของขยะจากการท่องเที่ยว โดยสรุปผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชุมชนจะอภิปรายผลทั้งในทางบวกและทางลบ ครอบคลุมด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านกายภาพ และด้านระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติ
-
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเทคนิค จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและค่าการสะท้อนเชิงคลื่นของประเภทที่ดินตามเกณฑ์ของผังเมืองรวมด้วยภาพถ่ายจากดาวเทียม และเพื่อเปรียบเทียบผลการจำแนกประเภทที่ดินตามเกณฑ์ของผังเมืองรวมด้วยวิธี Maximum Likelihood และ Support Vector Machine งานวิจัยนี้ใช้กระบวนการทางการสำรวจระยะไกลในการวิเคราะห์และจำแนกพื้นที่ โดยศึกษาค่าการสะท้อนเชิงคลื่นและดัชนีสิ่งปลูกสร้างในแต่ละพื้นที่ศึกษา เพื่อนำค่าการสะท้อนมาวิเคราะห์ด้วยวิธีทางสถิติ จากนั้นจัดทำแผนภูมิแสดงการเปรียบเทียบศักยภาพของช่วงคลื่นและดัชนี เพื่อนำไปสู่การคัดเลือกช่วงคลื่นและดัชนีที่เหมาะสมต่อการจำแนกประเภทที่ดินตามเกณฑ์ของผังเมืองรวมด้วยวิธีMaximum Likelihood และ Support Vector Machine ผลการศึกษา พบว่า ชุดข้อมูลที่ใช้ช่วงคลื่น Blue และ ดัชนี BAEI มีศักยภาพในการจำแนกประเภทที่ดินตามเกณฑ์ผังเมืองรวมนนทบุรีโดยใช้วิธี Support vector machine (SVM) ซึ่งได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการจำแนกด้วยด้วยวิธี Maximum Likelihood ซึ่งมีค่าความถูกต้องโดยรวม 71.56% และค่าสัมประสิทธิ์แคปปา 0.615
-
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจากสวนยางพารามาเป็นสวนสละในชุมชนบ้านสายกลางตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง และเพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตของเกษตรกรในชุมชนบ้านสายกลาง ตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง จากสวนยางพารามาเป็นสวนสละ งานวิจัยนี้รวบรวมข้อมูลภาคสนามด้วยด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ซึ่งประกอบด้วยเกษตรกรผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 8 คน
ผลการศึกษา พบว่า ชุมชนบ้านสายกลางภายหลังการเข้ามาของสละ ตั้งแต่ปี 2539 จนถึงปัจจุบัน นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจากสวนยางพารามาเป็นสละ พื้นที่ปลูกสละมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงที่ราคายางพารามีราคาตกต่ำ การปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตดังกล่าวนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์ในการดำรงชีพ เมื่อวิถีการผลิตของเกษตรกรมีการเปลี่ยนแปลงย่อมทำให้กิจกรรมการดำรงชีพของเกษตรกรเปลี่ยนแปลงด้วย ทั้งในเรื่องของช่วงเวลาในการประกอบอาชีพ จากกลางคืนเป็นกลางวัน การปฏิบัติดูแลรักษาที่เกษตรกรต้องเอาใจใส่มากขึ้นและการจำหน่ายผลผลิตที่เกษตรกรสามารถกำหนดราคาเองได้
-
-
-
บางกระเจ้าพื้นที่สีเขียวมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสวนทางกับพื้นที่ชุมชนและสิ่ง ปลูกสร้างมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การเปลี่ยนแปลงที่ดินในพื้นที่ศึกษานี้ส่งผลกระทบในส่วน ของปริมาณคาร์บอน ดังนั้นการศึกษานี้มุ่งเน้นไปที่การจำแนกประเภทการใช้ที่ดินจากภาพถ่ายดาวเทียมและการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อให้ได้การปลดปล่อยคาร์บอนทั้งช่วงเวลาปัจจุบันและอนาคต โดยการจำแนกประเภทการใช้ที่ดินจากภาพถ่ายดาวเทียม 3 ช่วงเวลา ได้แก่ ปี 2559 ปี 2562 ปี 2564 ด้วยวิธี Supervised Classification หลังจากที่ได้ผลจากการจำแนกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินและตรวจสอบความถูกต้องแล้ว ผลการศึกษาการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินตั้งแต่ปี 2559 – 2564 พื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ ที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้าง โดยมีพื้นที่เปลี่ยนแปลงไป 1,266.11 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 29.24 จากพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งหมด อันดับสองคือ ไม้ผลและไม้ยืนต้น มีพื้นที่เปลี่ยนแปลงไป 832.54 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 19.23 และอันดับสาม คือ ป่าชายเลน มีพื้นที่เปลี่ยนแปลงไป 54.50 คิดเป็นร้อยละ 1.26 ส่วนพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยลดลงมากที่สุด ได้แก่ ป่าละเมาะ มีพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไป 1,228.25 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 28.37 ผลที่ได้สร้างแบบจำลองการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่บางกระเจ้า ปี 2572 พื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินและมีผลต่อการปล่อยคาร์บอนมากที่สุด คือ ที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้าง 3,489.13 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 35.41 สุดท้ายเมื่อได้ช่วงการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในช่วงปี 2559 – 2562 จะทำให้ทราบว่า พื้นที่คุ้งบางกระเจ้ามีการกักเก็บคาร์บอนเป็น 1,896.86 ตันคาร์บอนรวม ปล่อยคาร์บอน 16,134.21 ตันคาร์บอนรวม และคาร์บอนสุทธิ 14,237.75 ตันคาร์บอนรวม และช่วงการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในช่วงปี 2562 – 2572 สามารถคาดการณ์ได้ว่าพื้นที่คุ้งบางกระเจ้า มีการกักเก็บคาร์บอนเป็น 3,575.13 ตันคาร์บอนรวม ปล่อยคาร์บอน 8,726.82 ตันคาร์บอนรวม และคาร์บอนสุทธิ 5,151.69 ตันคาร์บอนรวม
-
ศักยภาพของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการน าข้อมูลที่ได้จากการส ารวจ
ระยะไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการคาดการณ์ปริมาตรน ้า เนื่องด้วยปริมาตรน ้ามีส่วนส าคัญ
ต่อการวางแผนจัดสรรการใช้ทรัพยากรน ้า และเพื่อใช้เป็นแนวทางในการต่อยอดการศึกษาปริมาตรน ้า
ในพื้นที่ห ่างไกลหรือขาดแคลนงบประมาณในการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดเพื ่อใช้ในการจัดสรรการใช้
ประโยชน์จากทรัพยากรน ้าในพื้นที่นั้น ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การประยุกต์เทคนิคภูมิสารสนเทศในคาดการณ์ปริมาตรน้ำอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์เทคนิคภูมิสารสนเทศในคาดการณ์ปริมาตร ในการศึกษาการประยุกต์เทคนิคภูมิสารสนเทศในคาดการณ์ปริมาตรน้ำได้ครอบคลุมเนื้อหา 3 ส่วนหลัก ดังต่อไปนี้ 1) การศึกษาภาพถ่ายจากดาวเทียมและศึกษาดัชนีที่เกี่ยวข้องกับน้ำที่จะนำมาใช้ในการสกัดพื้นที่น้ำ 2) การนำข้อมูลสารสนเทศ ได้แก่ ข้อมูลแบบจำลองความสูงเชิงเลข และฐานข้อมูลน้ำจากกรมชลประทานมาใช้ในการวิเคราะห์ร่วมกันและ 3) การใช้แบบจำลองในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์ปริมาตรน้ำ
ผลการศึกษาพบว่าผลจากการคำนวณระหว่างปริมาตรน้ำที่ได้จากการคำนวณด้วยแบบจำลองในระบบสารสนเทศภูมิสารสนเทศ และปริมาตรจริงซึ่งเป็นค่าที่วัดจากสถานีมีความแม่นยำในระดับที่สามารถยอมรับได้เนื่องจากมีความสอดคล้องกับงานวิจัยศึกษาการคำนวณปริมาตรน้ำในทะเลสาบจากการสำรวจระยะไกลด้วยภาพถ่ายหลายช่วงเวลา ของ Shanlong Lu et al. (2013) พบว่าปริมาตรน้ำที่ได้มาจากสถานีตรวจวัด และปริมาตรน้ำที่ได้จากการคำนวณมีค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย เท่ากับ 9.3 ล้านลูกบาศก์เมตร ใกล้เคียงกับค่าคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยอยู่ของงานวิจัยนี้โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยภาพถ่ายจากดาวเทียม Landsat Sentinel 2 และ ค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยรวม โดยมีค่า 10.13 ล้านลูกบาศก์เมตร 12.60 ล้านลูกบาศก์เมตร และ 11.43 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ สามารถกล่าวได้ว่า การประยุกต์ประยุกต์เทคนิคภูมิสารสนเทศในคาดการณ์ปริมาตรน้ำมีศักยภาพเพียงพอที่จะนำมาใช้หรือเป็นแนวทางในการคำนวณปริมาตรน้ำสำหรับพื้นที่ที่ห่างไกลหรือขาดแคลนอุปกรณ์ในการตรวจวัด
-
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงข่ายการให้บริการ และระดับศักยภาพการเข้าถึงการให้บริการของมูลนิธิร่วมกตัญญูคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีและเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างโครงข่ายการให้บริการของมูลนิธิร่วมกตัญญูและสถิติตำแหน่งที่เคยเกิดอุบัติเหตุการจราจรทางบก รวมถึงเสนอแนวทางการพัฒนาการให้บริการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยใช้การวิเคราะห์โครงข่าย (Network Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า ช่วงกลางคืนเป็นช่วงเวลาที่มูลนิธิให้บริการได้ครอบคลุมเชิงพื้นที่และเชิงปริมาณมากที่สุด มีโครงข่ายการให้บริการในช่วงกลางคืน 1,372.11 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 88.29 และสามารถให้บริการได้ครอบคลุมสถิติตำแหน่งที่เคยเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือ อุบัติเหตุร้อยละ 97.8 ล้วนอยู่ในโครงข่ายการให้บริการที่มีศักยภาพในการเข้าถึงการให้บริการจากมูลนิธิ 3 จุดให้บริการขึ้นไปทั้งสิ้น รองลงมาคือการให้บริการในช่วงเวลากลางวัน เย็น และเช้าตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเช้ามีอุบัติเหตุกว่าร้อยละ 50.58 ที่อยู่นอกโครงข่ายการให้บริการ ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางย้ายจุดให้บริการเพื่อพัฒนาการให้บริการ พบว่า โครงข่ายการให้บริการในช่วงเช้ามีระยะทางเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 18.9 และสามารถให้บริการได้ครอบคลุมสถิติตำแหน่งที่เคยเกิดได้ถึงร้อยละ 80.6 ของจำนวนอุบัติเหตุทั้งหมดในพื้นที่ศึกษา จากผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาย้ายจุดให้บริการมูลนิธิร่วมกตัญญูในบางช่วงเวลา เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่และจุดเกิดเหตุในอำเภอคลองหลวงมากยิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อผู้ประสบอุบัติเหตุอย่างทั่วถึง
-
ในปัจจุบัน จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคม เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยเฉพาะภาคตะวันออก ประเทศไทย เกิดการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของภาคครั้งใหญ่ เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและความก้าวหน้าของภาคตามแพนพัฒนาภาคในพื้นที่ และมีการจ้างงานที่มีรายได้สูง และยังคงความสำคัญของพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออก ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้ จึงมีวัตถุประางค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ของที่ดินของภาคตะวันออก ประเทศไทย ร่วมกับการประยุกต์ใช้แบบจำลองระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และแบบจำลอง CA-Markov และแบบจำลอง Land Use Change(LCM) ในการคาดกรณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคตของภาคตะวันออก ประเทศไทย ค.ศ. 2050 ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ค.ศ. 2008 2016 และ 2018 ถูกจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ พื้นที่เกษตรกรรม (Agricultural land) พื้นที่ป่าไม้ (Forest land)พื้นที่เบ็ดเตล็ด (Miscellaneousland) พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง (Urban and Built-up land) และ พื้นที่แหล่งน้ำ (Water body) ผลการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในปี ค.ศ. 2008-2016 พื้นที่เบ็ดเตล็ด พื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างลดลง พื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่แหล่งน้ำมีพื้นที่เพิ่มขึ้น และการคาดการณ์โดยใช้แบบจำลอง LCM ปี ค.ศ. 2050 โดยผลการคาดการณ์พบว่า พื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่แหล่งน้ำ จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เท่ากับ 237.09 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 35.3 และ 98.83 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 14.7 ตามลำดับ ส่วนพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง และพื้นที่
เบ็ดเตล็ด มีแนวโน้มลดลง 80.75 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 12 124.9 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 18.6 และ 130.27 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 19.4 ตามลำดับ
-
ภาพถ่ายทางอากาศที่ได้จากอากาศยานไร้คนขับ (UAV) ถูกนำมาใช้ในงานด้านเกษตรกรรมอย่างแพร่หลาย เนื่องด้วยมีความละเอียดเชิงพื้นที่และเวลาสูง ส่งผลให้ได้ข้อมูลที่มีความทันสมัยเป็นประโยชน์ต่อการเกษตรโดยเฉพาะเกษตรแม่นยำสูงในนาข้าว ซึ่งข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดการนาข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดัชนีพืชพรรณถูกนำมาใช้ศึกษานาข้าวในการติดตามการเจริญเติบโต แต่ข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลของเกษตรกรรมเนื่องจากการใช้อุปกรณ์ตรวจวัดแบบหลายช่วงคลื่น มีต้นทุนค่อนข้างสูง ทำให้การใช้ UAV เซนเซอร์ที่ตามองเห็น (RGB) มีความน่าสนใจในการนำมาใช้มากขึ้น ข้อมูลความสูงของพืช (Plant height; PH) เป็นอีกข้อมูลที่น่าสนใจในการนำมาศึกษานาข้าวเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามการวัดความสูงจากภาคสนามอาจส่งผลกระทบต่อพืชและใช้เวลานาน
งานวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งเน้นการศึกษาสองประเด็น ได้แก่ การเปรียบเทียบดัชนีพืชพรรณที่ได้จากข้อมูลหลายช่วงคลื่นกับข้อมูลที่ได้จากกล้องติด UAV ดัชนีพืชพรรณ RGB ได้แก่ Excess Green (ExG) Green Leaf Index (GLI) Green Red Vegetation Index (GRVI) Normalized Red Blue Difference Index (NRBDI) R percentage Index (R%) Triangular Greenness Index (TGI) และ Visible Difference Vegetation Index (VDVI) ถูกคำนวณและเปรียบเทียบกับดัชนีพืชพรรณผลต่างแบบนอมัลไลซ์ (Normalize Difference Vegetation Index; NDVI) ดำเนินการเก็บข้อมูลสามระยะการเจริญเติบโตของข้าว ได้แก่ ระยะข้าวแตกกอ ระยะข้าวตั้งท้อง และระยะข้าวเป็นน้ำนมสุก ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า GRVI VDVI และ ExG มีความสัมพันธ์กับ NDVI ในระดับสูงในช่วงระยะที่ข้าวตั้งท้อง เปรียบเทียบความถูกต้องพื้นที่ข้าวและไม่ใช่ข้าวระหว่าง NDVI และดัชนีพืชพรรณ RGB พบว่า GRVI ให้ความถูกต้องสูงสุดที่ร้อยละ 90.32 อีกประเด็นหนึ่งได้นำความสามารถของอากาศยานไร้คนขับ (UAV) เพื่อสร้างแบบจำลองความสูงเรือนยอด (canopy height model; CHM) จากการสำรวจระยะไกล ถูกจัดเก็บจุดตัวอย่างทั้งหมด 108 จุด ในระยะข้าวแตกกอและระยะข้าวตั้งท้อง ซึ่งแสดงถึงการเติบโตทางกายภาพที่ชัดเจน เช่น การเจริญเติบโตทางลำต้นและการเจริญเติบโตทางสืบพันธุ์ตามลำดับ CHM ของแต่ละพื้นที่ตัวอย่างถูกกำหนดด้วยค่าเปอร์เซ็นไทล์ (Percentile; Pr) ที่ 91 ถึง 99 ผลการทดลองพบว่า CHM และความสูงภาคสนามแสดงความสัมพันธ์เชิงเส้นมากที่สุดในทั้งสองระยะการเจริญเติบโตที่ Pr99 (R2= 0.87 และ 0.86 ตามลำดับ) ค่า RMSE ของความสูงพืชมีค่า 1.83 และ 1.71 เซนติเมตรตามลำดับที่นัยสำคัญ p < 0.01 โดยสองประเด็นการทดลองดังกล่าวสรุปได้ว่า สามารถใช้ข้อมูลจาก UAV เซนเซอร์ RGB ในการสร้างข้อมูลดัชนีพืชพรรณและความสูงเพื่อใช้ติดตามการเจริญเติบโตของนาข้าวได้ อีกทั้งใช้แก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเหมาะในการนำมาพัฒนาเกษตรแม่นยำต่อไปในอนาคต
-
ปัจจุบันประเทศไทยก าลังประสบกับปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า (Human – elephant conflict: HEC) ซึ่งปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายให้แก่ทรัพยากรหรือเป็นอันตรายต่อมนุษย์ที่อาศัยอยู่ใกล้กับแหล่งที่มีช้างป่า นอกจากนี้ การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การเพาะปลูก และกิจกรรมต่าง ๆ ของประชาชน ส่งให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน
งานวิจัยนี้ได้นำโปรแกรมระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์มาประยุกต์ในการจัดทำแผนที่พื้นที่ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับช้างป่า ด้วยกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process: AHP) บริเวณโดยรอบอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา - เขาวง และศึกษาวิธีการรับมือ ป้องกัน หรือบรรเทาปัญหาจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ หน่วยงาน หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดการและให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า
จากผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า แบ่งออกเป็น 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปัจจัยด้านระยะห่างจากขอบเขตอุทยานแห่งชาติปัจจัยด้านระยะโครงข่ายถนนที่อยู่ห่างจากอุทยานแห่งชาติและปัจจัยด้านระยะแหล่งน้ำที่อยู่ห่างจากอุทยานแห่งชาติโดยพบว่าพื้นที่ที่มีระดับความเสี่ยงสูง คิดเป็นจำนวน 960.9 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 63.2 พื้นที่ที่มีระดับความเสี่ยงปานกลาง คิดเป็นจำนวน 443.3 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 29.2 และพื้นที่ที่มีระดับความเสี่ยงต่ำ คิดเป็นจำนวน 115.2 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 7.6 โดยอำเภอที่มีพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่ามากที่สุด คือ อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี คิดเป็นพื้นที่ 482.1 ตารางกิโลเมตรหรือร้อยละ 50.2 รองลงมาคือ อ าเภอแกลง จังหวัดระยอง คิดเป็นพื้นที่ 285.9 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 29.8 และ อำเภอที่มีพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าน้อยที่สุด คืออำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง คิดเป็นพื้นที่ 191.6 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 20.0 ส่วนผลการศึกษาวิธีการรับมือ ป้องกัน หรือบรรเทาปัญหาความขัดแย้ง พบว่าสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 มาตรการ คือ มาตรการในการรับมือและการป้องกันจากฝั่งประชากรที่ได้รับความความเดือดร้อนหรือประสบกับปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า และมาตรการในการผลักดันช้างให้กลับคืนสู่เขตอุทยานฯ ภายใต้ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ
-
สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายจากพืช หรือ (Biogenic Volatile Organic Compounds : BVOCs) มีบทบาทสำคัญต่อเคมีในบรรยากาศ (Atmospheric Chemistry) โดยจะถูกทำปฏิกิริยากับสารอื่น ๆ ในบรรยากาศ ก่อให้เกิดโอโซนระดับพื้นผิว (Ground Level Ozone)และละอองอินทรีย์ทุติยภูมิ (SOA) ที่เป็นส่วนสำคัญในการก่อตัวของปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก ทำให้ปัญหามลพิษทางอากาศมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และส่งผลกระทบโดยตรงต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์
ภาคนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาการประมาณค่าการปลดปล่อยสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายจากพืช(BVOCs) ในพื้นที่ภาคตะวันออก ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อศึกษาการจำแนกการใช้ที่ดิน (Land Use) ในพื้นที่ภาคตะวันออก จากข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม Sentinel-2A/B ปี พ.ศ.2563 ผลการศึกษาพบว่าการจำแนกด้วยวิธีป่าสุ่ม (Random Forest) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการจำแนกที่สุด โดยให้ความถูกต้องโดยรวมของการจำแนก (Overall Accuracy) สูงถึงร้อยละ 89.8 และค่าสัมประสิทธิ์แคปปา (Kappa Coefficient) เท่ากับ 0.9 รองลงมาได้แก่ วิธีการจำแนกด้วยโครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural Network) และวิธีความน่าจะเป็นสูงสุด (Maximum Likelihood) เป็นวิธีการจำแนกที่มีประสิทธิภาพในการจำแนกต่ำที่สุด โดยให้ความถูกต้องโดยรวมของการจำแนก (Overall Accuracy) เท่ากับ 83.5 และ 76.8 ตามลำดับ และค่าสัมประสิทธิ์แคปปา (Kappa Coefficient) เท่ากับ 0.8 และ 0.7 ตามลำดับ เมื่อทดสอบด้วยสถิติการทดสอบซี (Z-test Statistics) ก็พบว่าการจำแนกด้วยวิธีป่าสุ่ม (Random Forest) ให้ผลการจำแนกที่มีความแตกต่าง จากวิธีการจำแนกอื่น ๆ โดยผลการจำแนกที่มีความถูกต้องสูงที่สุดจากการศึกษาส่วนนี้จะนำไปใช้ร่วมในการศึกษาวัตถุประสงค์ที่ (2) เพื่อศึกษาการประมาณค่าการปลดปล่อย ปริมาณ และรูปแบบของการปลดปล่อยสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายจากพืช (BVOCs) ในพื้นที่ภาคตะวันออก ปี พ.ศ. 2563 พบว่าในปี พ.ศ. 2563 พื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทยมีปริมาณการปลดปล่อยสารไอโซพรีนและโมโนเตอร์พีนส์ทั้งสิ้น 4,553,207.0 ตัน และ 190,996.6 ตัน ตามลำดับ สำหรับแนวโน้มการปลดปล่อยในแต่ละช่วงเวลาพบว่าในช่วงฤดูร้อย (มีนาคม-พฤษภาคม) เป็นช่วงที่มีการปล่อยสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายจากพืชสูงที่สุด และในช่วงฤดูหนาว (ตุลาคม-กุมภาพันธ์) เป็นช่วงที่การปล่อยสารประกอบดังกล่าวต่ำที่สุด สาเหตุที่ทำให้เกิดแนวโน้มเช่นนี้เนื่องปัจจัยทางด้านแสงและอุณหภูมิ และพบว่าป่าไม้เป็นพื้นที่ที่ปล่อยสารไอโซพรีนเป็นหลัก ส่วนสารโมโนเตอร์พีนส์พบว่ามีการปล่อยมาจากไม้ยืนต้น ได้แก่ ยูคาลิปตัส ยางพารา และไม้ผลเป็นหลัก
-
การศึกษาวิจัยเรื่องผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ที่มีต่อการประกอบธุรกิจสวนยางพาราในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา เป็นการวิจัยซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ความแตกต่างของผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อกลุ่มประชากร 3 กลุ่ม และการปรับตัวหรือการช่วยเหลือตนเองของเกษตรกรผู้ประกอบธุรกิจสวนยางพารา การวิจัยนี้ทำการสำรวจกลุ่มเป้าหมายซึ่งประกอบด้วย เกษตรกร โดยแบ่งเป็นผู้ประกอบการและลูกจ้างอย่างละ 20 คน พ่อค้าผู้รับซื้อยางรายใหญ่ 1 คน และเจ้าหน้าที่การยางแห่งประเทศไทยสาขาเบตง (กยท.เบตง) 1 คน
ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรทั้ง 40 คนมีคุณภาพชีวิตโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางทั้งสองกลุ่ม โดยเกษตรกรผู้ประกอบการมีค่าเฉลี่ย 3.67 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.07 และเกษตรกรลูกจ้างมีค่าเฉลี่ย 3.26 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.04 ตามลำดับ เมื่อกล่าวถึงองค์ประกอบคุณภาพชีวิตทั้ง 4 ด้านพบว่า เกษตรกรผู้ประกอบการมีคุณภาพชีวิตทางด้านร่างกายสูงที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 3.86ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.13 และคุณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นด้านที่ต่ำที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 3.45 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.15 โดยภาพรวมแล้วเกษตรกรผู้ประกอบการมีคุณภาพชีวิตทางด้านร่างกายและจิตใจอยู่ในระดับดี คุณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง สามารถคำนวณและสรุปได้ว่าคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ในส่วนของเกษตรกรลูกจ้างพบว่า คุณภาพชีวิตด้านร่างกายอยู่ในระดับสูงสุด มีค่าเฉลี่ย 3.51 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.12 และคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมเป็นด้านที่ต่ำที่สุด มีค่าเฉลี่ย 3.03 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.11 โดยความแตกต่างด้านคุณภาพชีวิตของเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มมีตัวแปรที่มีผลต่อความแตกต่างทางด้านคุณภาพชีวิต 3 ตัวแปรได้แก่ เพศ การมีอาชีพเสริม และอายุ
ในด้านมุมมองต่อผลกระทบของกลุ่มประชากร 3 กลุ่มสำคัญพบว่า พ่อค้าผู้รับซื้อยางรายใหญ่เป็นภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด รองลงมาคือเกษตรกรผู้ประกอบการ และเกษตรกรลูกจ้างเป็นภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ซึ่งมีเหตุผลในเรื่องของการส่งออกยางพาราที่เป็นสาเหตุเชิงโครงสร้าง โดยในช่วงที่ยางพาราส่งออกได้จะทำให้ทุกภาคส่วนได้รับรายได้เป็นปกติ แต่ในสภาวะที่ยางพาราส่งออกไม่ได้ ทุกภาคส่วนจึงเกิดภาวะขาดรายได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีเหตุผลในเรื่องของเงินเก็บ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกษตรกรตัดสินหรือมีมุมมองต่อตนเองว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดนี้มีความเดือดร้อนมากน้อยเพียงใด
การปรับตัวและการช่วยเหลือตนเองของเกษตรกรพบว่า ปัจจัยทางด้านอายุและสถานะมีผลให้เกษตรกรมีการปรับตัวที่แตกต่างกัน โดยเกษตรกรผู้ประกอบการจะคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตมากกว่าเกษตรกรลูกจ้างที่คำนึงถึงการหาได้รายเสริมมากกว่า ในเรื่องของการปรับตัวพบว่า เกษตรกรผู้ประกอบการกลุ่มอายุน้อยกว่า 40 ปีมีการปรับตัวที่แตกต่างที่สุดเพราะนอกจากจะมีการหารายได้เสริมจากการขายผลไม้ส่งสู่ตลาดเช่นเดียวกับกลุ่มอายุอื่น ๆ แล้ว ยังมีการขายในรูปแบบออนไลน์ด้วยและเกษตรกรผู้ประกอบการที่มีอายุมากขึ้นจะมีวิธีการปรับตัวหรือการประกอบอาชีพเสริมน้อยลง ในด้านของเกษตรกรลูกจ้างพบว่า นอกจากจะมีการประกอบอาชีพเสริมหรือหารายได้เสริมนอกบ้านในทุกช่วงอายุแล้ว ยังมีการรับจ้างเก็บเกี่ยวผลไม้ให้กับเกษตรกรผู้ประกอบการอีกด้วย
-
งานวิจัยเรื่องความคิดเห็นของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่มีต่อการจัดการเรียนของคณะศิลปศาสตร์ ช่วงการระบาดของ COVID-19 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการจัดการเรียนออนไลน์ของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์2) ศึกษาผลกระทบจากการเรียนออนไลน์ที่มีต่อนักศึกษาของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนออนไลน์ของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประชากรของงานวิจัยนี้ คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2563 ภาคเรียนที่ 2 โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่เรียนวิชาของคณะศิลปศาตร์ เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างตรงกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผู้วิจัยได้สุ่มตัวอย่างนักศึกษา จากการส่งแบบสอบถามออนไลน์โดยช่องทางการสื่อสารอันเป็นที่นิยม ได้แก่ ไลน์ (Line) และเฟซบุ๊ก (Facebook) เป็นจำนวน 144 ตัวอย่าง (คน) งานวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์แบบสอบถาม และตรวจสอบปัจจัยด้วยเครื่องมือโดยสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ผลการวิจัยพบว่า ในส่วนของรูปแบบการเรียนการสอนได้ทราบถึงความเหมาะสม วิชาที่มีลักษณะเป็นวิชาที่เน้นการพูดเหมาะกับการเรียนการ
สอนออนไลน์รูปแบบการฟังบรรยายและมีปฏิสัมพันธ์ถามตอบกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียน และควรใช้โปรแกรม Zoom ในการเรียการสอน การติดต่อสื่อสารกับสังคมมีผลกระทบต่อการเรียนการสอนออนไลน์ และในส่วนของปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนการสอนออนไลน์ ปัจจัยทางด้านผู้เรียน และเครื่องมือสนับสนุนการเรียนเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในการตอบสนองต่อการเรียนการสอนออนไลน์ของนักศึกษา
-
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชน ประวัติความเป็นมา พัฒนาการความคิดเห็นและความต้องการของประชากรในพื้นที่ต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของชุมชนอ่าวท่าเลน-บ้านท่าพรุ และเพื่อศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวภายใต้กิจกรรมพายเรือคายัคที่เหมาะสมสอดคล้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัยด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างผู้ที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงและมีบทบาทต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนอ่าวท่าเลน-บ้านท่าพรุ โดยเลือกจากกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่ ตัวแทนภาครัฐ ตัวแทนภาคธุรกิจ และตัวแทนภาคประชาชนในชุมชนที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงในส่วนการท่องเที่ยวชุมชนอ่าวท่าเลน-บ้านท่าพรุและยังใช้การสังเกตการณ์สำรวจพื้นที่โดยรอบเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลบริบทชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การสรุปประเด็นจากการสัมภาษณ์ การสำรวจภาคสนามและสังเกตการณ์ ผลการวิจัยพบว่า การท่องเที่ยวของชุมชนอ่าวท่าเลน-บ้านท่าพรุพัฒนามาจากการแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น โดยนำการท่องเที่ยวมาเป็นกลไกในการดูแลอนุรักษ์ป่าชายเลน ประชากรในชุมชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการพัฒนา และมีความเห็นว่า การพายเรือคายัคชมธรรมชาติในป่าชายเลน เป็นรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรส่งสิ่งแวดล้อม ทำให้การจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนมีความยั่งยืน สำหรับความต้องการของชุมชน จะเป็นในด้านของการเพิ่มการประชาสัมพันธ์และโครงสร้างพื้นฐานนอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการฝึกทักษะชีวิตให้แก่เยาวชน อีกทั้งยังมีความกังวลเรื่อง การพัฒนาการสัญจรทางน้ำที่อาจส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอนาคต ผลการวิจัยในด้านการจัดการการท่องเที่ยวของชุมชน พบว่าชุมชนมีกระบวนการจัดการที่เป็นไปตามองค์ประกอบการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน คือ องค์ประกอบด้านพื้นที่ ชุมชนอ่าวท่าเลน-บ้านท่าพรุมีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่โดดเด่นและมีเอกลักษณ์ ประชากรท้องถิ่นมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย องค์ประกอบด้านการบริหารจัดการ ชุมชนมีผู้นำที่เข้มแข็ง เป็นศูนย์ร่วมใจของประชากรให้สามารถขับเคลื่อนแผนงานภายในชุมชนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้กำหนดร่วมกัน องค์ประกอบด้านกระบวนการทำกิจกรรม กิจกรรมพายเรือคายัคชมธรรมชาติในป่าชายเลน มีระยะทางมากกว่า 7 กิโลเมตร เป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวที่จัดขึ้นและดำเนินการโดยประชากรท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ มีผู้ประกอบการจากบุคคลภายนอกบางส่วน แต่ก็ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามกฎกติกาของชุมชนเป็นอย่างดีและองค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วม ทุกคนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนการพัฒนาการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติภายในชุมชน อีกทั้งการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายใต้กิจกรรมพายเรือคายัคชมธรรมชาติของชุมชนอ่าวท่าเลน-บ้านท่าพรุยังเป็นไปตามหลักการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หลักการอนุรักษ์วิทยา และบทบาทของเอกชนต่อการประกอบธุรกิจแบบ CSR ที่ผู้วิจัยได้นำมาพิจารณาร่วมอีกด้วย
-
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนาปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์หาพื้นที่ตั้งโรงบำบัดน้ำเสีย และ2) เพื่อศึกษาหาพื้นที่เหมาะสมในการตั้งโรงบำบัดน้ำเสียที่วิเคราะห์ร่วมกับการคาดการณ์จำนวนปะชากร 10 ปี ในพื้นที่ 3 ตำบลรอบนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ อำเภอเมือง โดยปัจจัย 3 ด้าน ประกอบไปด้วย ปัจจัยด้านกายภาพ ได้แก่ ความลาดชันของพื้นที่ ประเภทของเนื้อดิน การซึมซาบของน้ำ ความสูงของภูมิประเทศ ระยะห่างจากแหล่งน้ำผิวดิน และระยะห่างจากถนน ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การใช้ประโยชน์ที่ดิน และปัจจัยด้านสังคม ได้แก่ ระยะห่างจากพื้นที่ชุมชน จำนวนครัวเรือน และพื้นที่เขตโบราณสถาน โดยนำปัจจัยทั้ง 3 ด้านมาหาค่าลำดับ
ความสำคัญด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ จากนั้นนำเข้าสู่กระบวนการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อจัดทำแผนที่แสดงพื้นที่เหมาะสม ต่อมาทำการคาดการณ์จำนวนประชากรในอนาคต 10 ปี เพื่อหาขนาดพื้นที่เหมาะสมในการบำบัดน้ำเสียที่สามารถรองรับจำนวนประชากรในอนาคต 10 ปี และเลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสมมากที่สุด
จากการศึกษาพบว่าพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมมากมีพื้นที่ทั้งหมด 85,318.55 ไร ่ คิดเป็นร้อยละ 5.63 พื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมปานกลางมีพื้นที่ทั้งหมด 35,251.89 ไร่คิดเป็นร้อยละ 37.36 พื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมน้อยมีพื้นที่ทั้งหมด 15,655.23 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 16.60 และพื้นที่กันออกมีพื้นที่ทั้งหมด 38,136.18 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 40.41 เมื่อนำพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมมากมาวิเคราะห์ร่วมกับการคาดการณ์จำนวนประชากรเพื่อคำนวณหาขนาดของพื้นที่ที่มีความสามารถในการรองรับจำนวนประชากรในอีก 10 ปีแล้วพบว่ามีพื้นที่ที่เหมาะสมในการถูกคัดเลือกควรมีพื้นที่มากกว่า 88.52 ไร่ ซึ่งมีทั้งหมด 6 พื้นที่ โดยพื้นที่เหมาะสมในการตั้งโรงบำบัดน้ำเสียมากที่สุด ได้แก่ พื้นที่ทางฝั่งตะวันออกของตำบลบ้านกลางและทางตอนใต้ของตำบลมะเขือแจ้พื้นที่ดังกล่าวมีการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นพื้นที่เบ็ดเตล็ดเยอะที่สุดเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น ๆ ในส่วนของระยะห่างจากชุมชนส่วนใหญ่อยู่ที่ระยะมากกว่า 600 – 900 เมตร นอกจากนี้จำนวนครัวเรือนส่วนใหญ่อยู่ที่ 8,579 ครัวเรือน และมีพื้นที่อยู่ในจำนวนครัวเรือน 11,061 ครัวเรือนอีกด้วย ซึ่งจำนวนครัวเรือนเยอะจะทำให้มีงบประมาณสำหรับการดำเนินการบำบัดน้ำเสีย โดยจากการวิเคราะห์หลายเกณฑ์ร่วมกันส่งผลทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีความเหมาะสมมากที่สุด
-
ภาคนิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เพื่อติดตามพื้นที่ที่มีการเผาวัสดุทางการเกษตรซ้ำซากช่วงฤดูเก็บเกี่ยว กรณีศึกษาจังหวัดสุรินทร์ใน 2 ประเด็น อันได้แก่ 1) เพื่อติดตามจุดความร้อนของพื้นที่ปลูกข้าว อ้อย และมันสำปะหลังในฤดูเก็บเกี่ยวจังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อหาช่วงเวลาการเผาวัสดุทางการเกษตรของจังหวัดสุรินทร์ 3) เพื่อแสดงปฏิทินการเผาวัสดุทางการเกษตรของจังหวัดสุรินทร์ โดยแบ่งเป็นช่วงระยะเวลา 15 วัน และ 4) เพื่อหาพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดการเผาวัสดุทางการเกษตรในจังหวัดสุรินทร์โดยวิธีการวิจัยเชิงประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ จากประเด็นในการศึกษาดังกล่าว พบว่าในส่วนการติดตามพื้นที่จุดความร้อนของทุกอำเภอในจังหวัดสุรินทร์ปรากฏผลว่าปีที่มีจุดความร้อนที่เกิดขึ้นมากที่สุดในพื้นที่การเกษตรจังหวัดสุรินทร์ช่วงฤดูเก็บเกี่ยว คือปี 2558 พบ 2,257 จุด คิดเป็นร้อยละ 23.22 รองลงมาคือปี 2559 พบจำนวน 2,099 จุด คิดเป็นร้อยละ 21.60 อันดับที่ 3 คือปี 2562 พบจำนวน 1,979 จุด คิดเป็นร้อยละ 20.36 อันดับที่ 4 คือปี 2561 พบจำนวน 1,413 จุด คิดเป็นร้อยละ 14.54 อันดับที่ 5 คือปี 2563 พบจำนวน 1,231 จุด คิดเป็นร้อยละ 12.67 และอันดับที่ 6 ได้แก่ปี 2560 พบจำนวน 739 จุด คิดเป็นร้อยละ 7.61 ด้านพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดการเผาวัสดุทางการเกษตร พบว่าพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดการเผามากที่สุดคืออำเภอท่าตูม จำนวน 760 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 62.97 โดยมักเกิดการเผาในช่วงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 15 กุมภาพันธ์มากที่สุด
-
งานวิจัยส่วนบุคคลนี้มุ่งหมายศึกษาเกี่ยวกับชาวไทยเชื้อสายจีนย่านสีลมกับความเชื่อที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพื้นที่สุสานดั้งเดิมสู่คอนโดสุสานสมัยใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ เพื่อศึกษาลักษณะการใช้ที่ดินแต่ละประเภทในพื้นที่สุสานจีนดั้งเดิม และเพื่อศึกษาความเชื่อของคนไทยเชื้อสายจีนที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงพื้นที่สุสานดั้งเดิม โดยการศึกษาประเภทของการใช้ประโยชน์ที่ดินนั้น สามารถสรุปได้ว่าสุสานจีนแคะ (ฮากกา) มีการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งหมด 5 ประเภท ซึ่ง จะได้แก่ บ้านพักผู้ดูแลสุสาน ศาลาที่ทำการสุสาน หลุมศพ สุสานคอนโด และลานจอดรถ และสุสานจีนฮกเกี้ยนมีลักษณะการใช้ที่ดินทั้งหมด 6 ประเภท ซึ่ง 5 ประเภทคือเช่นเดียวกันกับสุสานจีนแคะ (ฮากกา) และเพิ่มสถูปเจดีย์เก็บอัฐิเป็นประเภทที่ 6 ต่อมาความเชื่อของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพื้นที่สุสานดั้งเดิม คือ 1. ความเชื่อของตัวแทนกลุ่มสมาคมที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพื้นที่สุสานดั้งเดิม และ 2. ความเชื่อของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพื้นที่สุสานดั้งเดิม สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ซึ่งจะได้แก่ 1) ความเชื่อที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นสุสานคอนโดสมัยใหม่ ซึ่งจะประกอบไปด้วย การเชื่อว่าการอยู่ใกล้กับบรรพบุรุษในวาระสุดท้ายของชีวิตเป็นสิ่งสำคัญ การเชื่อว่าฮวงจุ้ยของสุสานไม่มีผลต่อชีวิต และการเชื่อว่าสถานที่เดิมที่บรรพบุรุษเลือกไว้คือที่ที่ดีที่สุด 2) ความเชื่อที่ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพื้นที่สุสานเดิม จะประกอบไปด้วย การเชื่อว่าการปรับเปลี่ยนพื้นที่เดิมคือการรบกวนบรรพบุรุษ การเชื่อว่าทำเลที่ตั้ง ชัยภูมิที่ดีในต่างจังหวัดเป็นทางเลือกที่ดีกว่า การเชื่อว่าพิธีกรรมแบบชาวพุทธมีบทบาทในชีวิตมากกว่าแบบชาวจีน และความเชื่อเรื่องฮวงจุ้ยที่เปลี่ยนผ่านไปตามกาลเวลา
-
ในปัจจุบันเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในเขตศูนย์กลางธุรกิจ (Central Business District : CBD) จึงเป็นพื้นที่ที่มีขยายตัวและการกระจายตัวของธุรกิจหลากหลายประเภท รวมถึงกิจการพื้นที่ทำงานร่วมกัน (Co-Working space) โดยมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปี พ.ศ. 2559 อีกทั้งพื้นที่นี้มีข้อจำกัดด้านการมีที่ดินว่างเหลือน้อยและราคาสูง ผู้ประกอบการบางส่วนจึงมีการปรับพื้นที่ทำงานร่วมกันให้มีการผสมผสานระหว่างอีกธุรกิจหนึ่ง จึงทำให้ประเภทของพื้นที่ทำงานร่วมกันมีจำนวนหลากหลายประเภท การวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประเภทต่างๆ ของพื้นที่ทำงานร่วมกัน และศึกษาการขยายตัวและการกระจายตัวของพื้นที่ทำงานร่วมกัน ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ผลการศึกษาประเภทต่างของพื้นที่ทำงานร่วมกันในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พบว่าแบ่ง ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ พื้นที่ทำงานร่วมกันประเภทอาคารสำนักงาน พื้นที่ทำงานร่วมกันกึ่ง
สำนักงาน และพื้นที่ทำงานร่วมกันคาเฟ่ และในส่วนของผลการศึกษาการขยายตัวและการกระจายตัวของพื้นที่ทำงานร่วมกัน ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พบว่า พื้นที่ทำงานร่วมกันประเภทอาคารสำนักงานกระจายตัวเป็นกลุ่มก้อน พื้นที่ทำงานร่วมกันกึ่งสำนักงานกระจายตัวแบบสุ่ม และพื้นที่ทำงานร่วมกันคาเฟ่กระจายตัวเป็นกลุ่มก้อน รวมถึงมีปัจจัยพื้นที่ที่ใกล้ห้างสรรพสินค้าและศูนย์กลางค้า สถานีรถไฟฟ้า รวมถึงเส้นถนนรอง ที่เป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการพื้นที่ทำงานร่วมกันในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เลือกทำเลที่ตั้งบริเวณนี้
-
ภาคนิพนธ์นี้มีจุดประสงค์อยู่ 3 ประการ คือ เพื่อศึกษาความเป็นมาของหมู่บ้านพลัมในประเทศไทย เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักปฏิบัติตามแนวทางของหมู่บ้านพลัมในประเทศไทย และเพื่อศึกษาว่าเหตุใดที่ทำให้หมู่บ้านพลัมประเทศไทยได้รับการเผยแพร่เพิ่มขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ผู้วิจัยได้นำเสนอถึงพัฒนาการความเป็นมาของหมู่บ้านพลัมในประเทศไทยด้วยการศึกษาจากสื่อต่างๆ เช่น หนังสือ เว็บไซด์ เป็นต้น โดยการกล่าวถึงผู้ก่อตั้งหมู่บ้านพลัมคือหลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ผู้มีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเวียดนาม ท่านจึงมีแนวคิดที่ว่าด้วยเรื่องสันติภาพและส่งผลมาถึงแนวคิดและวิถีปฏิบัติของหมู่บ้านพลัม ความเป็นมาของหมู่บ้านพลัมในประเทศฝรั่งเศสที่เป็นสถานที่ตั้งของหมู่บ้านพลัมแห่งแรกในโลก มาจนถึงการขยายตัวของหมู่บ้านพลัมมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศเวียดนามที่ไม่สามารถตั้งศูนย์กลางการปฏิบัติตามแนวทางของหมู่บ้านพลัมได้เพราะเหตุทางการเมือง จนสุดท้ายประเทศไทยได้กลายเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติตามแนวทางของหมู่บ้านพลัมแห่งใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภายในหมู่บ้านพลัมประเทศไทยมีแนวคิดและวิถีปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับหมู่บ้านพลัมทั่วโลก ซึ่งในสื่อต่างๆ รวมไปถึงการสัมภาษณ์ก็จะพบว่า มีแนวคิดเซนในแบบของหมู่บ้านพลัม และเมื่อศึกษางานเขียน คำพูดของหลวงปู่ติช นัท ฮันห์ รวมถึงวิถีปฏิบัติในแนวทางของหมู่บ้านพลัมจะมีการสอดแทรกแนวคิดของการรักษาความสันติภาพให้แก่โลกนี้ จากคำสัมภาษณ์ของผู้เข้าร่วมงานและนักบวชจะพบว่าที่หมู่บ้านพลัมมีแนวคิดที่เรียบง่าย วิถีปฏิบัติที่ฝึกนั้นสามารถใช้ในชีวิตประจำวันของผู้ร่วมปฏิบัติตามแนวทางของหมู่บ้านพลัมได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการแก้ปัญหา เยียวยาปัญหาทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นจากตนเองและปัญหาที่เกิดขึ้นจากส่วนรวมแต่ส่งผลกระทบต่อตนเองได้
-
ภาคนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลให้ทั้งสองประเทศเลือกพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกัน รวมถึงศึกษาการดำเนินความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศในช่วงเวลาก่อนและหลังการเกิดวิกฤตการณ์ไครเมีย โดยการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้กำหนดขอบเขตของการศึกษาในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสหพันธรัฐรัสเซียกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามภายหลังวิกฤตการณ์ไครเมีย โดยจะมีขอบเขตการศึกษาความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงความสัมพันธ์ระหว่างสหพันธรัฐรัสเซียกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามภายหลังการหันหาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของสหพันธรัฐรัสเซียในวิกฤตการณ์ไครเมีย อีกทั้งยังย้อนศึกษาถึงช่วงภูมิหลังความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศในช่วงเริ่มสถาปนาทางการทูตถึงปี ค.ศ. 1991 และช่วงภูมิหลังความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศในช่วงปี ค.ศ. 1991-2013 อีกด้วย ซึ่งการศึกษาทั้งสามช่วงนี้จะศึกษาถึง ความสัมพันธ์ในด้านเศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคงของทั้งสองประเทศ ตลอดจนศึกษาถึงความสัมพันธ์ที่ทั้งสองประเทศนั้นมีร่วมกัน
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สหพันธรัฐรัสเซียดำเนินความสัมพันธ์
กับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ได้แก่ ปัจจัยด้านการโดนคว่ำบาตรจากสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ที่ทำให้รัสเซียต้องหันกลับมาฟื้นฟูความสัมพันธ์กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจัยด้านผู้นำที่พยายามผลักดันให้ตนเองเข้ามามีบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเริ่มต้นที่เวียดนามและจะขยายอิทธิพลต่อไปในประเทศอื่น ๆ อีกทั้งการถ่วงดุลอำนาจอย่างสหรัฐฯ และจีนที่มีอิทธิพลในบริเวณนี้ทั้งการค้าและเศรษฐกิจเพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางด้านการค้าของตนเอง จึงพยายามหาพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นเวทีที่สหรัฐฯ และจีนพยายามจะแสดงบทบาทรัสเซียต้องการมีบทบาทในเวทีนี้จึงอาศัยผ่านตัวแสดงนั่นคือ เวียดนาม ซึ่งถือเป็นวิธีหนึ่งในการถ่วงดุลอำนาจกับสหรัฐฯ และแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกับจีน ด้านเศรษฐกิจรัสเซียต้องการหาคู่ค้าใหม่หลังจากโดนคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจจากสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ปัจจัยด้านภูมิศาสตร์ที่รัสเซียต้องการจะพัฒนาเขตตะวันออกไกลของตนและเวียดนามที่มีจุดยุทธศาสตร์ใกล้กับทะเลและมีอ่าวสำคัญในบริเวณเอเชีย ส่วนปัจจัยสำคัญที่ทำให้สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเลือกดำเนินความสัมพันธ์กับสหพันธรัฐรัสเซีย ได้แก่ ผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ จากการดำเนินความสัมพันธ์กับรัสเซียจะทำให้สามารถขยายตลาดกับสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชียได้ดีขึ้น ด้านการประกันความมั่นคง เวียดนามได้ซื้ออาวุธจากรัสเซียมาเพื่อประกันความมั่นคงเพื่อที่ประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ จะได้ไม่เข้ามาก้าวก่าย อีกทั้งรัสเซียเป็นผู้ค้าอาวุธรายใหญ่ที่สุดให้กับเวียดนาม จึงพยายามเพิ่มศักยภาพทางทหาร ซึ่งส่งผลต่อปัจจัยด้านการมีอิทธิพลของสหรัฐฯ และจีน การที่เวียดนามเลือกดำเนินความสัมพันธ์กับรัสเซีย ก็เพื่อตอบสนองต่อท่าทีก้าวร้าวของจีนในทะเลจีนใต้และหาฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงใหม่จากการถอนตัวของสหรัฐฯในความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership: TPP) ทั้งนี้การที่เปิดให้ มหาอำนาจต่าง ๆ เข้ามาแข่งขันกันในภูมิภาคของตนก็เพื่อก่อประโยชน์ทางด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจให้ตนเอง
อาจกล่าวสรุปได้ว่าปัจจัยที่ทั้งสองประเทศเลือกใช้ในการดำเนินความสัมพันธ์
ระหว่างกันนั้นล้วนต้องการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติของตนเองเอาไว้ ทั้งนี้ผลประโยชน์แห่งชาตินับเป็นความมั่นคงของประเทศ และเพื่อให้ภาคนิพนธ์เล่มนี้สมบูรณ์มากขึ้นผู้ศึกษาได้ศึกษาและวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ในอนาคตของทั้งสองประเทศว่าจะดำเนินความสัมพันธ์ไปไหนทิศทางแบบไหน
-
งานวิจัยเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาอยู่ 2 ประการ ได้แก่ ประการแรก ศึกษาการ เปลี่ยนแปลงการประกอบธุรกิจทางด้านเพลงไทยสากลของอาร์เอส และประการต่อมาคือ ศึกษาและ วิเคราะห์แนวทางการประกอบธุรกิจของอาร์เอสโดยการขยายไปยังธุรกิจสื่อและธุรกิจอื่นๆ ในฐานะที่ เป็นผู้ให้บริการเนื้อหา (content provider) โดยกําหนดระยะเวลาการศึกษาไว้ ระหว่าง พ.ศ. 2525-2552 ซึ่งเป็นช่วงที่อาร์เอสยังคงมีสถานะทางธุรกิจในฐานะผู้ให้บริการเนื้อหาอยู่ และงานวิจัยชิ้นนี้จะ ใช้แนวทางการศึกษาตามรูปแบบของประวัติศาสตร์ธุรกิจ (business history)
งานวิจัยชิ้นนี้ต้องการแสดงข้อเสนอหลักอยู่ 2 ประการเพื่ออธิบายลักษณะการ เปลี่ยนแปลงการประกอบธุรกิจของอาร์เอสในช่วงเวลาดังกล่าวคือ ประการแรก การเปลี่ยนแปลงทาง เทคโนโลยีของสื่อเป็นปัจจัยสําคัญในการปรับตัวและกําหนดทิศทางธุรกิจของอาร์เอส และประการ ต่อมาคือ ลักษณะความเป็นธุรกิจครอบครัวของอาร์เอสถือเป็นข้อดีที่ช่วยส่งเสริมการบริหารจัดการ และการปรับตัวของบริษัทให้เป็นไปอย่างรวดเร็วซึ่งสอดรับกับธรรมชาติของธุรกิจบันเทิงที่ต้องอิงอาศัยกระแสความนิยมในตลาดอยู่ตลอดเวลา จากการศึกษาพบว่า พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงการประกอบธุรกิจของอาร์เอส สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงแรก พ.ศ. 2525-2534 เป็นช่วงที่อาร์เอสปรับตัวทางธุรกิจ จากการเป็นผู้รับจ้างอัดแผ่นเสียงและเทปคาสเสทขาย มาเป็นค่ายเพลงอย่างเต็มตัว โดยเพิ่มส่วนงาน การผลิตศิลปินและบทเพลงเข้าไป ทําให้อาร์เอสมีรูปแบบธุรกิจที่ครบวงจรในการดําเนินธุรกิจนี้ ได้แก่ กระบวนการผลิต กระบวนการทําการตลาด และกระบวนการจัดจําหน่าย ส่วนลักษณะทางธุรกิจ ในช่วงนี้ของอาร์เอสจะมีความเป็นธุรกิจครอบครัวโดยสมบูรณ์ ซึ่งจะเห็นได้จากการถือหุ้นที่กระจุกตัว อยู่กับบุคคลในตระกูลเชษฐโชติศักดิ์เป็นส่วนใหญ่ และอํานาจการบริหารจัดการจะรวมศูนย์ อยู่ที่ เกรียงไกร เชษฐโชติศักดิ์ ช่วงที่สอง พ.ศ. 2525-2545 ถือเป็นช่วงที่อาร์เอสปรับเปลี่ยนแนวทางการทําการตลาด โดยการเจาะกลุ่มผู้ฟังที่เป็นนักเรียน-นักศึกษาเป็นหลักจนประสบความสําเร็จเป็นอย่างสูง พร้อมกันนี้ อาร์เอสยังขยายธุรกิจออกไปในแขนงอื่นๆ เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนการตลาดเพลงอย่างหนึ่ง ประกอบด้วย ธุรกิจสื่อ ธุรกิจภาพยนตร์ ธุรกิจแฟนคลับ และธุรกิจร้านค่าปลีก ส่วนลักษณะธุรกิจ ยังคงเป็นแบบธุรกิจครอบครัวอยู่ ดังจะเห็นได้จากการถือหุ้นที่ล้วนกระจุกตัวอยู่กับบุคคลในตระกูล เชษฐโชติศักดิ์ทั้งสิ้น และอํานาจการบริหารจัดการจะรวมศูนย์ อยู่ที่สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ช่วงสุดท้าย พ.ศ. 2545-2552 เป็นช่วงที่อาร์เอสแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน พร้อมกับเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสื่อ นั่นคือ การเข้ามาของระบบดิจิทัลและ เทคโนโลยีสารสนเทศจนทําให้พฤติกรรมในการบริโภคเพลงของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป เป็นเหตุ ให้อาร์เอสลดความสําคัญของธุรกิจเพลงลง และหันไปขยายธุรกิจอื่นๆ ได้แก่ ธุรกิจสื่อ ธุรกิจ ภาพยนตร์และละคร ธุรกิจกีฬา และธุรกิจโชว์บิซ (showbiz) ส่วนลักษณะทางธุรกิจนั้น แม้ว่าอาร์- เอสจะมีสถานะเป็นบริษัทมหาชนแล้วก็ตาม แต่สัดส่วนการถือหุ้นยังคงกระจุกตัวอยู่กับบุคคลใน ตระกูลเชษฐโชติศักดิ์เป็นส่วนใหญ่เพื่อรักษาอํานาจความเป็นเจ้าของและสิทธิในการบริหารนั่นเอง
-
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและการสร้างคำเรียกขานที่ใช้ใน ความสัมพันธ์แบบคู่รัก การใช้คำเรียกขานกับคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับผู้พูดและผู้ฟัง และสถานการณ์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 300 คน ได้ข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์จำนวน 1,244 คำ ผลการศึกษาพบว่าคำเรียกขานที่ใช้ในความสัมพันธ์แบบคู่รักมี 35 รูปแบบ เป็นรูปเดี่ยว 7 รูปแบบ และรูปแบบประสม 28 รูปแบบ รูปแบบที่มีความถี่ในการใช้มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ชื่อ คำสรรพนามและฉายา การสร้างคำเรียกขาน สามารถแบ่งได้เป็น 6 วิธีการ ดังนี้ 1) วิธีทางความหมาย 2) การดัดแปลงคำ3) การเติมหน่วยคำหน้าหรือท้ายคำเดิม 4) การเปลี่ยนภาษา 5) การสร้างคำใหม่ 6) การใช้หลายวิธีร่วมกัน คำเรียกขานหนึ่งคำสามารถเกิดจากวิธีการสร้างคำตั้งแต่ 1 วิธี ถึง 5 วิธี จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้คำเรียกขานกับคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับผู้พูด และผู้ฟัง พบว่าอายุมีความเกี่ยวข้องกับการใช้คำเรียกขานเมื่อผู้พูดอายุน้อยกว่าผู้ฟัง ส่วนเพศของผู้ พูดและรูปแบบความสัมพันธ์เกี่ยวข้องค่อนข้างน้อย การใช้คำเรียกขานในสถานการณ์ที่มีบุคคลที่ 3 จะปรากฏรูปแบบที่ค่อนข้างจำกัด. ตรง ข้ามกลับปรากฏรูปแบบที่หลากหลายมากที่สุดเมื่ออยู่ตามลำพังกับคนรัก นอกจากนี้เมื่ออยู่ต่อหน้า บุคคลที่ 3 หรือเมื่อผู้พูดอารมณ์ไม่ดีจะใช้คำเรียกขานในกลุ่มที่แสดงความรัก ความสัมพันธ์หรืออารมณ์ค่อนข้างน้อย แต่จะใช้มากกว่าเมื่ออยู่กับคนรักตามลำพัง หรือเมื่อผู้พูดอารมณ์ดี จากผลจากการวิจัยอาจกล่าวได้ว่าคำเรียกขานในความสัมพันธ์แบบคู่รักมีความ เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การมีบุคคลที่สามและอารมณ์ของผู้พูด.ด้วยความสัมพันธ์แบบคู่รักเป็นความสัมพันธ์แบบสนิทสนมและเป็นส่วนตัว และพบว่าคู่รักแสดงอารมณ์และความรู้สึกผ่านการสร้าง คำเรียกขานขึ้นใช้ด้วยวิธีที่หลากหลาย